ลักษณะของนักวิจัยที่ดี เป็นอย่างไร?

เคยสงสัยไหมว่าลักษณะของนักวิจัยที่ดี เป็นอย่างไร?  ผู้ที่จะมีการทำงานวิจัยให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพต้องมีสมรรถภาพในองค์ประกอบหลายๆ ด้าน โดยต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลปะที่ต้องฝึกปฏิบัติจนเป็นนิสัย ดังต่อไปนี้

1.      ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล มีองค์ประกอบดังนี้

1.1     มีความอดทน ในการทำวิจัยต้องใช้ความอดทนทุกขั้นตอนของการทำวิจัย

1.2     มีความสุภาพ ในการทำงานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาโทมีทั้งอาจารย์ที่เป็นประธานที่ปรึกษา กรรมการท่านอื่นๆอีกหลายท่าน นักวิจัยต้องมีความสุภาพ อ่อนน้อม และรับฟังคำแนะนำด้วยความตั้งใจ

1.3     มีมนุษย์สัมพันธ์ มนุษย์สัมพันธ์เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในการทำงานวิจัย เพราะการทำวิจัยต้องติดต่อผู้ที่ทำหน้าที่บริการหรือให้ข้อมูลกับงานวิจัย 

1.4     มีความขยันหมั่นเพียร การทำงานวิจัยถ้าไม่มีความขยันหมั่นเพียร งานวิจัยจะไม่ประสบความสำเร็จ งานวิจัยต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะในแต่ละขั้นตอนมีการดำเนินการแตกต่างกัน 

1.5     มีการวางแผน การวางแผนมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกคน งานวิจัยมีระเบียบวิธีและกระบวนการทำงานหลายขั้นตอน ถ้ามีการกำหนดและวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน โดยกำหนดกิจกรรมในแต่ละขั้นตอน กำหนดระยะเวลาที่ทำสำเร็จ กำหนดวัน เดือน ปี ตลอดจน มีการบันทึกการทำงานในแต่ละวัน

1.6     มีความซื่อสัตย์ การทำวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ ไม่ควรลอกเลียนผลงานวิจัยจากงานวิจัยผู้อื่น ในหลักสูตรระดับปริญญาโท/เอกก่อนเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักวิจัยต้องนำเสนอข้อเสนอโครงการวิจัยให้แก่กรรมการจริยธรรมการวิจัยได้พิจารณาก่อน

1.7     มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การที่นักวิจัยไม่มีแรงจูงใจในการทำวิจัย ไม่มีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะทำงานวิจัยในเรื่องนั้นๆ แสดงว่าเป็นงานวิจัยที่นักวิจัยไม่มีความสนใจ ไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ทำ ดังนั้นเรื่องที่ทำวิจัยควรเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงจูงใจ

1.8     มีสภาพร่างกายที่แข็งแรง ความสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ทำให้ตัวนักวิจัยเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินการทำวิจัยได้สำเร็จ เพราะงานวิจัยจะดำเนินการได้ต้องอาศัยการวางแผนทุกขั้นตอนที่ขึ้นอยู่กับนักวิจัยทั้งหมด

1.9     มีจิตใจเข้มแข็งไม่อ่อนแอ ในแต่ละขั้นตอนนักวิจัยต้องมีจิตใจที่มั่นคง เพราะต้องผ่านขั้นตอนที่เป็นการทดสอบความมีสติ ทดสอบความรู้สึก เช่น เมื่อถึงขั้นตอนการเสนอโครงการวิจัยทั้งที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการศึกษาและขอทุนต่อคณะกรรมการ นักวิจัยต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงวิธีการวิจัยของนักวิจัยที่ได้พิจารณาแล้วว่าสมบูรณ์ตามความคิดของตนเอง แต่เมื่อคณะกรรมการให้ข้อเสนอแนะ นักวิจัยสมควรทำตามด้วยความเต็มใจ

2.      ด้านความรู้ มีองค์ประกอบดังนี้

2.1    มีความรู้ทางการใช้คอมพิวเตอร์ การมีความรู้ความเข้าใจในการใช้คอมพิวเตอร์และ การใช้โปรแกรม power point และการเข้าอบรมการโปรแกรม SPSS for window สำหรับการทำงานวิจัย

2.2     มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ ความรู้ทางสถิติกับการวิจัยมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำวิจัยจะมีความรู้ทางสถิติเป็นอย่างดี ในงานวิจัยที่ไม่ต้องใช้สถิติขั้นสูง ความรู้การวิเคราะห์ข้อมูลอาจใช้สถิติ เช่น ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การหาความสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอย เป็นต้น

2.3    มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัย/การออกแบบแผนการวิจัย การทำวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การทำวิจัยให้มีคุณภาพและมีคุณค่า นักวิจัยต้องมีความรู้พื้นฐานทางการวิจัย      การออกแบบแผนการวิจัยทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือแบบแผนการวิจัยแบบผสานวิธี เช่น กรอบแนวคิดของตัวแปรต้นและตัวแปรตามเป็นตัวแปรประเภทใด จะใช้สถิติอะไรมาใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องตามตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ดังนั้นนักวิจัยต้อง “รู้ลึกและรู้กว้าง”

2.4     มีความรู้ในกระบวนการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กระบวนการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  มีวงจรการทำวิจัยเหมือนกัน คือ เริ่มต้นตั้งแต่การกำหนดชื่อเรื่องหรือปัญหาการวิจัย การเขียนทบทวนวรรณกรรม การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย การออกแบบ  การวิจัย แต่มีความแตกต่างกันที่วิธีการดำเนินการวิจัย  

3.      ด้านความสามารถ มีองค์ประกอบดังนี้

3.1     การคิดวิเคราะห์/สังเคราะห์และการนำเสนอข้อมูล การทำวิจัยต้องอาศัย การคิดวิเคราะห์/สังเคราะห์และการนำเสนอข้อมูล  เช่น ในการสำรวจหรือระบุปัญหาเพื่อตั้งชื่อเรื่องการวิจัย และการเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาซึ่งเป็นขั้นตอนการทำวิจัยที่นักวิจัยต้องใช้การคิดวิเคราะห์หัวข้อให้เรียงลำดับจากมุมมองภาพรวมจนถึงมุมมองภาพย่อย และรวบรวมข้อมูลที่เตรียมไว้มาสังเคราะห์เป็นการนำเสนอข้อมูลเป็นร้อยแก้วในแต่ละย่อหน้า 

3.2      การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล หากนักวิจัยไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติด้วยตนเอง ปัญหาที่ตามมาคือไม่สามารถอ่านผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการอภิปรายผลการวิจัยได้ ทำให้นักวิจัยต้องเสียงบประมาณในการวิเคราะห์ข้อมูลให้กับผู้อื่นที่วิเคราะห์ข้อมูลให้ ในหลักสูตรการเรียนของสถาบันการศึกษาบางแห่งไม่มีรายวิชาบังคับให้เรียน นักวิจัยต้องศึกษาด้วยตนเองโดยการเข้ารับการอบรมในสถาบันอื่นๆ  ที่สำคัญโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ควรเข้ารับการอบรม ได้แก่ SPSS for windows, Advanced  Statistic  เป็นต้น

3.3      การอภิปรายผลและลงข้อสรุป การลงข้อสรุปหรือผลการวิจัยในการทำวิจัยนั้น จะอยู่ในบทที่ 5 นักวิจัยต้องนำเสนอให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยในบทที่ 1 และการนำเสนอข้อมูลในบทที่ 4 ส่วนการอภิปรายผลนั้นมีความสอดคล้องกับการลงข้อสรุปหรือผลการวิจัย แต่มีความแตกต่างในกรณีที่มีส่วนที่ต้องมีแนวคิด/ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็น ข้ออธิบาย สนับสนุนอย่างมีเหตุและมีผลต่อผลการวิจัยนั้น

3.4     การใช้ภาษาไทย/อังกฤษ การเขียนรายงานการวิจัยต้องใช้ภาษาที่กะทัดรัดกระชับ รัดกุม ไม่คลุมเครือ และถูกต้องตามหลักการเขียนในทุกส่วนของรายงานการวิจัย เช่น  การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการเขียนส่วนของบทคัดย่อ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลโดย  การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ภาษา/คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด  ดังนั้นนักวิจัยต้องสั่งสมประสบการณ์การใช้ภาษาจากการอบรม จากการไต่ถามผู้รู้ จากการอ่านด้วยตนเอง จากการศึกษาจากตำรา  และจากอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น

3.5     การค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยจากแหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญสำหรับนักวิจัย ได้แก่ ห้องสมุดของสถาบันต่างๆ ที่มีการเชื่อมโยงการใช้ข้อมูลร่วมกัน  และอินเตอร์เน็ต นักวิจัยต้องมีความสามารถในการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าบทคัดย่องานวิจัยต่างประเทศและสถาบันอื่นๆ ที่สำคัญนักวิจัยต้องเข้าใจในการทบทวนเอกสารภาษาไทยก่อน การค้นคว้าเอกสารของต่างประเทศเพราะต้องใช้คำศัพท์ที่เป็นภาษาอังกฤษ
Credit: http://mea.pbru.ac.th/

You might also enjoy

การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา
การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา

การพัฒนากรอบแนวคิด (Conceptual Framework) ในการวิจัยเพื่อการศึกษาเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานของงานวิจัย กรอบแนวคิดเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นภาพรวมของปัญหาที่ต้องการศึกษา และแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในการศึกษาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ กรอบแนวคิดยังช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีระบบมากขึ้น

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ?

การทำเล่มวิจัยจบไม่ใช่แค่การผ่านวิชา แต่เป็นการฝึกฝนทักษะที่สำคัญหลายด้านที่ช่วยให้เราเติบโตและพัฒนาไปสู่การเป็นนักคิด นักวิเคราะห์ และผู้เชี่ยวชาญในอนาคต! ✨ 1. ฝึกการคิดเชิงวิพากษ์ 🧠 การวิจัยช่วยฝึกให้เราแยกแยะข้อเท็จจริงจากความคิดเห็น และตั้งคำถามกับสิ่งที่เรารับรู้

ปีใหม่กับฉันคนใหม่ ด้วย 7 แรงบันดาลใจง่าย ๆ
ปีใหม่กับฉันคนใหม่ ด้วย 7 แรงบันดาลใจง่าย ๆ

ปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่ดีในการเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาตัวเอง มาลองทำตามแรงบันดาลใจง่าย ๆ เหล่านี้เพื่อเริ่มปีใหม่นี้ด้วยพลังบวกกันเถอะค่ะ 🎉 ปีนี้พร้อมเริ่มต้นการเป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดียิ่งขึ้นกันแล้วใช่ไหมคะ? 💖 #ปีใหม่2025

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย