ทำวิจัยต้องรู้ ! ความแตกต่างของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ

เมื่อคุณอยากจะทำวิจัยตลาดอะไรสักอย่าง คุณต้องเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับงานวิจัยก่อน แบ่งเป็นสองประเภท คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) ซึ่งเชื่อว่าบางคนยังอาจจะจำสลับ หรือสับสนความเหมือนและความต่างของมันอยู่ ดังนั้นวันนี้ Survey Market Thailand จะมาแชร์ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณแบบเข้าใจง่ายๆให้คุณอ่านครับ

ก่อนจะรู้ความแตกต่าง เรามาเริ่มเข้าใจความเหมือนกันก่อน ความเหมือนของการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ คือ ทั้งสองอย่าง เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ เพื่อค้นหาความจริงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อการค้นพบ (Discovering) แปลความหมาย พัฒนาวิธีการหรือระบบอย่างใดอย่างหนึ่ง  หรือพูดง่ายๆว่าเป็น การวิจัยเหมือนกัน 

ความแตกต่างของการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณคือ

กระบวนทัศน์ ข้อสมมุติฐาน วิธีการศึกษา การเลือกกลุ่มตัวอย่าง วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผล มีความแตกต่างกัน 

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

หมายถึง  การวิจัยที่ศึกษาเพื่อมุ่งอธิบายความหรือปรากฏการณ์ที่ปรากฏตามธรรมชาติ โดยวิธีการอุปนัย โดยปราศจากการควบคุม เป็นพวกธรรมชาตินิยม (Naturalism) หรือปรากฎการณ์นิยม  (Phenomenalism) ไม่มีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม อาจมีหรือไม่มีทฤษฎีมาก่อน เน้นการศึกษาแบบเจาะลึก เฉพาะกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างจะมีขนาดเล็กเน้นการศึกษาแบบกรณีศึกษา (Case study)  เลือกมองปัญหาจากภายในสู่ภายนอก มุ่งความชัดเจน ความเข้าใจ และการนำไปใช้ได้ทั่วไปในสภาวะที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันเท่านั้น สาระสำคัญอยู่ที่การให้ความหมาย การวิเคราะห์คุณค่า การให้ความหมายในเชิงคุณค่าเป็นสำคัญ วิธีการอาจจะโดยการสังเกต สัมภาษณ์ เข้าร่วมแบบเป็นทางการ ไม่เป็นทางการ แบบคนวงนอก แบบคนวงใน นิยมใช้ในการศึกษาชาติพันธุ์ มานุษยวิทยา นิยมใช้สร้างทฤษฎี  เป็นการศึกษา เชิงจิตวิสัยตามมุมมองของผู้วิจัยเป็นหลัก มองบุคคลจากภายใน สนใจกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ เน้นการศึกษาเชิงพลวัต เพื่อการอธิบายปรากฏการณ์ การสร้างข้อสรุปเกิดจากการตีความ แปลความ วิเคราะห์ของผู้วิจัย เป็นความจริงเฉพาะชุด เป็นการสังเกตเชิงประจักษ์ (Empirical Observation) คำตอบที่ได้อาจมีได้หลายคำตอบและไม่มีคำตอบถูกหรือผิด ไม่ค่อยมีสมมติฐานถ้ามีจะเรียกสมมติฐานนั้นว่าสมมติฐานร่าง ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเข้าสู่สนามหรือพื้นที่จริงในการศึกษาและเป็นความจริงแบบเฉพาะบุคคล หากคนหนึ่งพบแล้วคนอื่นอาจค้นพบหรือไม่ค้นพบด้วยและอาจไม่เห็นด้วยก็ได้ 

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)

หมายถึง การวิจัยที่มุ่งหาข้อเท็จจริง เน้นหลักฐานเป็นสำคัญ เป็นการศึกษากระบวนการเชิงเหตุ-ผล หาสาเหตุจากทฤษฎีหรือสิ่งที่ผู้อื่นเคยศึกษาไว้แล้วทดสอบผล  ทั้งในด้านความสัมพันธ์  ความแตกต่าง การทำนาย และความเป็นสากล หรือใช้ได้ทั่วไปของข้อค้นพบ (General) เป็นพวก “หลักฐานนิยม” เน้นความเป็นรูปธรรมที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) หากคนหนึ่งพบแล้วคนอื่นต้องค้นพบด้วย เป็นความจริงหนึ่งเดียว(Naïve Realism-อ่านว่า เนอีฟ เรียลลิซึม) เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่าง เพื่ออ้างอิงไปยังกลุ่มประชากร เป็นการศึกษาแบบนิรนัย เอาทฤษฎีนำ มักมีการควบคุมเช่น มีกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม หรือมีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม  มีตัวแปร  มีทฤษฎี มาเกี่ยวข้อง ความถูกต้องขึ้นอยู่กับวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างว่าสามารถใช้เป็นตัวแทนของประชากรได้จริงหรือไม่ รวมทั้งตัวแปรที่เราเลือกมาศึกษาตามทฤษฎี/ข้อค้นพบของคนอื่นหลายๆคน ว่าตัวแปรที่เราเลือกมาทั้งหมดนั้นครอบคลุมเรื่องที่ศึกษาหรือไม่  มักมีสมมติฐาน  การทดสอบสมมติฐานนิยมใช้สถิติอ้างอิง มีการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐาน  นำเสนอข้อมูลเป็นตัวเลข เป็นตาราง เป็นกราฟมีตัวเลข มีคำอธิบายสั้นๆ เน้นการตรวจสอบซ้ำได้ เพื่อทดสอบ/ยืนยัน ทฤษฎีหรือสมมติฐาน ทำนายปรากฎการณ์ เพื่อควบคุม เป็นความจริงสากล ถ้าข้อค้นพบของเราเป็นจริงก็หมายถึงคนอื่นๆก็จะสามารถเข้าใจเห็นตามตรงกันได้ไม่ว่าสถานการณ์ใดๆก็ตาม แต่การวิจัยแบบนี้ขอให้ระมัดระวังข้อผิดพลาด 2 ประการ (error) คือ (1) ข้อค้นพบที่ได้นั้นเป็นจริงแต่เราปฏิเสธว่าไม่จริง (2) ข้อค้นพบนั้นไม่จริง แต่ทดสอบสมมติฐานแล้วพบว่าเป็นจริง ซึ่งเขาจะเผื่อกันเหนียวตรงนี้ไว้ด้วยตัวเลขนัยสำคัญทางสถิติ เช่น 0.5 , 0.1 , 0.01 คือข้อมูลของเราเชื่อถือได้มากเท่าไร นั่นเอง เช่น 0.5 ก็หมายความว่า ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (เอา 1 ลบตัวเลขนัยสำคัญ คูณ 100) ครับ

ผมหวังว่าข้อมูลนี้คงจะให้ความเข้าใจกับคุณได้ไม่มากก็น้อยนะครับ หากการวิจัยเป็นเรื่องใหม่สำหรับคุณ สามารถติดต่อสอบถามจาก Survey Market Thailand ซึ่งเปิดให้บริการรับทำวิจัยตลาดหลากหลายรูปแบบได้เลยครับ

You might also enjoy

3 ไอเดียสร้างแรงบันดาลใจในวันแรกที่กลับไปเรียน
3 ไอเดียสร้างแรงบันดาลใจในวันแรกที่กลับไปเรียน

🌟✨ วันแรกของการกลับไปเรียนอาจรู้สึกทั้งตื่นเต้นและท้าทาย แต่ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยแรงบันดาลใจที่ดี จะทำให้วันเรียนวันแรกสดใสและเต็มไปด้วยพลัง!  ลองทำตาม 3 ไอเดียสร้างแรงบันดาลใจ เหล่านี้ แล้วคุณจะพร้อมสำหรับทุกการเรียนรู้! 1.

การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา
การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา

การพัฒนากรอบแนวคิด (Conceptual Framework) ในการวิจัยเพื่อการศึกษาเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานของงานวิจัย กรอบแนวคิดเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นภาพรวมของปัญหาที่ต้องการศึกษา และแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในการศึกษาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ กรอบแนวคิดยังช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีระบบมากขึ้น

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ?

การทำเล่มวิจัยจบไม่ใช่แค่การผ่านวิชา แต่เป็นการฝึกฝนทักษะที่สำคัญหลายด้านที่ช่วยให้เราเติบโตและพัฒนาไปสู่การเป็นนักคิด นักวิเคราะห์ และผู้เชี่ยวชาญในอนาคต! ✨ 1. ฝึกการคิดเชิงวิพากษ์ 🧠 การวิจัยช่วยฝึกให้เราแยกแยะข้อเท็จจริงจากความคิดเห็น และตั้งคำถามกับสิ่งที่เรารับรู้

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย