การเขียนต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้

researcherthailand

การเขียนต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  1. บทความวิจัย (Research article)
    บทความวิจัย หมายถึง ผลงานทางวิชาการที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าตามกระบวนการระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับสาขาวิชา หรือผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน
  2. บทความวิชาการ(Academic article)
    บทความวิชาการ เป็นบทความที่มีลักษณะดังนี้
  3. Literature review เป็นบทความจากการทบทวนเอกสาร ซึ่งเป็นผลงานมาจากการวิจัยหลายๆ ครั้ง ถือเป็นบทความที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
  4. Technical paper เป็นบทความนำเสนอกระบวนการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบภาคสนาม รวมไปถึงเทคนิคการวิเคราะห์ใหม่ๆ
  5. Professional practiceเป็นบทความที่มาจากประสบการณ์ หรือความชำนาญของผู้เขียน
  6. Policy paper เป็นบทความเกี่ยวกับนโยบายด้านต่างๆ ของหน่วยงาน
  7. งานเขียนสร้างสรรค์
    งานเขียนสร้างสรรค์ หมายถึง ผลงานวิชาการ (ไม่จำเป็นต้องเป็นงานวิจัย) ที่มีการศึกษา ค้นคว้าหรือแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี อันเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติและระดับชาติ หรืองานที่ได้รับสิทธิบัตรเป็นการแสดงความก้าวหน้าทางวิชาการเสริมสร้างองค์ความรู้หรือวิธีการที่เป็นประโยชน์ต่อสาขาวิชา หรือแสดงความเป็นต้นแบบ ต้นความคิดของผลงาน หรือแสดงความสามารถในการบุกเบิกงานในสาขาวิชานั้น รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรมและจิตรกรรม
  8. รูปแบบการเขียน
    การเตรียมบทความ
    บทความต้องเป็นตัวพิมพ์โดยใช้ชุดแบบอักษร (Font) ชนิดไทยสารบรรณ (TH Sarabun PSK) กำหนดขนาดดังนี้ ชื่อเรื่องขนาดอักษร 18 ตัวหนา หัวข้อขนาดอักษร 14 ตัวหนา เนื้องเรื่องขนาดอักษร 14 ตัวบาง จัดกั้นหน้าหลังตรง และมีระยะห่างบระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (Double Spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษพิมพ์สั้นขนาดบีห้า (ฺB5) พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษซ้ายกับด้านบน 1 นิ้ว และด้านขวากับด้านล่าง 0.75 นิ้ว พร้อมใส่หมายเลขกำกับทางมุมขวาบนทุกหน้าบทความไม่ควรยาวเกิน 12-15 หน้ากระดาษพิมพ์สั้น โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง
    การพิจารณาและคัดเลือกบทความ
    บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) 2 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้นิพนธ์บทความ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double- Blind Peer Review)
    ส่วนบทคัดย่อ (Abstract)
    บทคัดย่อควรมีความยาว 250 – 300 คำ โดยแยกต่างหากจากเนื้อเรื่อง บทความวิจัยและบทความปริทรรศน์ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบทคัดย่อควรเขียนให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่อง ไม่ต้องอ้างอิงเอกสาร รูปภาพ หรือตาราง และลักษณะของบทคัดย่อควรประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) วิธีการศึกษา (Methods) ผลการศึกษา (Results) สรุป (Conclusion) และคำสำคัญ (Key Words) ซึ่งควรเรียบเรียงตามลำดับและแยกหัวข้อให้ชัดเจนดังนี้
    – วัตถุประสงค์ ควรกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา
    – วิธีการศึกษา ควรกล่าวถึงวิธีการค้นคว้าข้อมูล ระเบียบวิธีวิจัยที่นำมาศึกษา สถิติที่นำมาใช้
    – ผลการศึกษา ควรประกอบด้วยผลที่ได้รับจากการค้นคว้า ศึกษา และผลของค่าสถิติ (ในกรณีมีการวิเคราะห์)
    – สรุป ควรกล่าวถึงผลสรุปของการค้นคว้าและศึกษา
    – คำสำคัญ ควรมีคำสำคัญ 3-5 คำ ที่ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา และจะปรากฎอยู่ในส่วนท้ายของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยต้องจัดเรียงคำสำคัญตามตัวอักษร และคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,)
    ส่วนเนื้อเรื่อง ควรประกอบด้วย
    1. บทนำ (Introduction) เป็นส่วนกล่าวนำโดยอาศัยการปริทรรศน์ (Review) ข้อมูลจากรายงานวิจัย ความรู้ และหลักฐานต่าง ๆ จากหนังสือหรือวารสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษา และกล่าวถึงเหตุผลหรือความสำคัญของปัญหาในการศึกษาครั้งนี้ สมมติฐานของการศึกษา ตลอดจนวัตถุประสงค์ของการศึกษาให้ชัดเจน
    2. วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา และวิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล
    3. ผลการศึกษา (Results) เป็นการแสดงผลที่ได้จาการศึกษาและวิเคราะห์ในข้อ 3.2 ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่องและแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม
    4. อภิปรายผล (Discussion) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของผู้นิพนธ์นำมาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
    5. ข้อเสนอแนะ (Suggestion) การแนะแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
    6. กิตติกรรมประกาศ (acknowledgements) (ถ้ามี) เป็นส่วนที่กล่าวขอบคุณต่อองค์กร หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือร่วมมือในการวิจัย รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุนวิจัย และหมายเลขของทุนวิจัย
    7. เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (Citations in text) เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงแตกต่างกันตามประเภทของเอกสารหรือแหล่งที่ใช้อ้างอิง ดังนี้
    การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (Citations in text)
    1. ใช้รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาแบบ APA Style (The Publication Manual of the American Psychological Association)
    2. การลงรายการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แทรกในเนื้อหา ในรูปแบบดังนี้ (เครื่องหมาย √ แสดงถึงการเคาะ 1 ครั้ง เวลาลงรายการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาและรายการเอกสารอ้างอิงไม่ต้องใส่ลงไป)
  • ผู้แต่งที่เป็นคนไทย :: ใส่ ชื่อ-ชื่อสกุล โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้านาม ยศ หรือ ตำแหน่งทางวิชาการ
  • ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ใส่เฉพาะนามสกุลและตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) (ชื่อ-นามสกุลผู้แต่ง,√ปีที่พิมพ์,√หน้าที่ใช้อ้างอิง)
    1. ถ้ามีการกล่าวถึงชื่อผู้แต่งไว้แล้ว ให้ใส่วงเล็บต่อจากชื่อผู้แต่ง โดยในวงเล็บไม่ต้องระบุชื่อผู้เขียนซ้ำอีก สำหรับชื่อชาวต่างประเทศให้ใส่นามสกุลของผู้แต่ง โดยสามารถอ้างอิงได้ 2 วิธี คือ ถ้าระบุนามสกุลในเนื้อความให้ระบุปีที่พิมพ์ในวงเล็บ
      ลมุล√รัตนากร√(2540,√หน้า√105)
      Watson√(1992,√p.89)
    2. เอกสารภาษาต่างประเทศที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 หน้า ใช้ตัวอักษรย่อ pp.
      (Jensen,√1991,√p.8)
      (Jensen,√1991,√pp.8-15)
    3. ถ้ามีผู้แต่ง 2 คน และไม่เกิน 5 คน ให้ลงชื่อผู้แต่งทั้งหมดตามลำดับรายการที่ปรากฏ คั่นคนที่ 1-5 ด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) และคนรองสุดท้ายกับคนสุดท้าย คั่นด้วยคำว่า “และ” สำหรับภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษใช้ “&”
      (นวลจันทร์√รัตนากร,√ชุติมา√สัจจานันท์√และมารศรี√ศิวรักษ์,√2539,√หน้า√75)
      (William,√Kates,√&√Devies,√1995,√p.61)
    4. ถ้ามีผู้แต่ง เกิน 5 คนหรือตั้งแต่ 6 คนขึ้นไป ให้ใส่เฉพาะผู้แต่งคนแรก และตามด้วยคำว่า “และคนอื่น ๆ” สำหรับภาษาไทย ส่วนภาษาอังกฤษใช้คำว่า “et al.”
      (อุบล√บุญชู,√และคนอื่นๆ,√2539, √หน้า 37)
      (Heggs,√et√al.,√1999,√pp. 4-7)
    5. สิ่งพิมพ์ที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ใช้ชื่อเรื่องแทนชื่อผู้แต่ง
      (การพัฒนาสุขนิสัย,√2548,√หน้า√77)
      (Organization Management,√2011,√pp.53-54)
    6. ข้อความที่นำมาอ้างอิง พบแหล่งที่ใช้อ้างอิงมากกว่า 1 แหล่ง สามารถเขียนไว้ในวงเล็บเดียวกันได้ โดยใช้เครื่องหมาย อัฒภาค ( ; ) คั่นแต่ละงานและเรียงตามลำดับของชื่อผู้แต่ง
      (นวลจันทร์√รัตนากร,√2539,√หน้า 37;√มารศรี√ศิวรักษ์,√2552,√หน้า√75;√เยาวภา√โตทรัพย์,
      2554,√หน้า√2)
      (Heggs,√1999,√p.7;√Kates,√&√Devies,√2004,√pp.23-26)
    7. การอ้างอิงเอกสารจากอินเทอร์เน็ต :: กรณีที่นำเนื้อหามาจากอินเทอร์เน็ต
      (ชื่อผู้แต่ง,√ปีพิมพ์,√ย่อหน้า…)
      (สุดแดน√วิสุทธิลักษณ์,√2548,√ย่อหน้า√3)
      การเขียนเอกสารอ้างอิง
  1. เครื่องหมาย “√ ” แสดงถึงการเว้นระยะ 1 เคาะ เวลาลงรายการรายการเอกสารอ้างอิงไม่ต้องใส่ลงไป
  2. หากรายการใดไม่มี ไม่ต้องลงรายละเอียดในบรรณานุกรม ให้ลงรายการถัดมา
  3. การลงรายการผู้แต่ง ผู้แต่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคลหรือสถาบัน
    • ถ้าเป็นบุคคลประเภทสามัญชน >> ตัดคำนำหน้านาม นาย, นาง, นางสาว ดร. นายแพทย์ พล.อ. ผศ. รศ.
    • ถ้าผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศ >> เขียนชื่อสกุลขึ้นก่อน คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ตามด้วยชื่อต้น (First name) และ ชื่อกลาง (ถ้ามี)
    • ถ้าผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์หรือสมณศักดิ์ >> กลับเอาบรรดาศักดิ์ไว้หลังชื่อกับ นามสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , )
    • ถ้าผู้แต่งเป็นสถาบัน >> ให้บันทึกชื่อสถาบันนั้น ๆ โดยเรียงลำดับจากหน่วยงานใหญ่ไปหาหน่วยงานย่อย คั่นด้วยชื่อหน่วยงานด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ( . )
  4. การลงรายการชื่อหนังสือ
    • ชื่อหนังสือให้พิมพ์ด้วยตัวหนาและไม่ขีดเส้นใต้
    • ชื่อหนังสือที่เป็นภาษาต่างประเทศ ให้ขึ้นต้นอักษรตัวแรกของทุกคำด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และกรณีมีชื่อเรื่องรอง ให้พิมพ์ตามหลังเครื่องหมายมหัพภาคคู่ ( : ) เช่น
      New Jersey: A Guide to Its Past and Present.
      การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิปัญญาไทยกับการพัฒนาชนบท: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
  5. การลงรายการครั้งที่พิมพ์ ให้ลงรายการตั้งแต่การพิมพ์ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป แล้วใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ (…)
    (พิมพ์ครั้งที่ 2). (พิมพ์ครั้งที่ 3). (พิมพ์ครั้งที่ 4).
    (2nd ed). (3rd ed). (4th ed).
  6. หนังสือไม่ปรากฏ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ และปีที่พิมพ์
    ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ (ม.ป.ป.) = (n.d.)
    ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ (ม.ป.ท.) = (n.p.)
    ชื่อผู้แต่ง.√(ปีที่พิมพ์).√ชื่อหนังสือ.√ครั้งที่พิมพ์.√(ม.ป.ท.).:√สำนักพิมพ์.
    ชื่อผู้แต่ง.√(ปีที่พิมพ์).√ชื่อหนังสือ.√ครั้งที่พิมพ์.√สถานที่พิมพ์:√(ม.ป.ท.).
    ชื่อผู้แต่ง.√(ม.ป.ป.).√ชื่อหนังสือ.√ครั้งที่พิมพ์.√สถานที่พิมพ์:√สำนักพิมพ์.
    ชื่อผู้แต่ง.√(ม.ป.ป.).√ชื่อหนังสือ.√ครั้งที่พิมพ์.√(ม.ป.ท.).
  7. หากไม่สามารถพิมพ์จบได้ภายใน 1 บรรทัด ให้ขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้ามา 7 ตัวอักษร (7 เคาะ)
    หัทยา กองจันทึก. (ม.ป.ป.). ฉลากโภชนาการคืออะไร. สืบค้น มกราคม 27, 2543, จาก
    √√√√√√√ https://www.tda.moph.go.th/tda/html/product
  8. เรียงตามลำดับอักษร ก-ฮ A-Z และแยกภาษาไทยกับภาษาต่างประเทศออกจากกัน
  9. กรณีที่ผู้แต่งมีชื่อ-สกุลซ้ำกัน ให้เรียงตามปีน้อยไปมาก และในบรรทัดต่อไปให้พิมพ์ขีดล่าง 7 ครั้ง แล้วตามด้วย __. และใส่รายละเอียดชื่อเรื่อง และอื่น ๆ ตามปกติ รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง
    1. หนังสือ
      ชื่อผู้แต่ง.√(ปีที่พิมพ์).√ชื่อหนังสือ√(ครั้งที่พิมพ์).√สถานที่พิมพ์:√สำนักพิมพ์.
      หมายเหตุ:
      ชื่อหนังสือ (พิมพ์ครั้งที่) กรณีมีพิมพ์ครั้งที่ในวงเล็บต่อท้าย ไม่ต้องใส่เครื่องหมายมหัพภาค ( . )
      ชื่อหนังสือ. ต้องใส่เครื่องหมายมหัพภาค ( . ) กรณีไม่มี (พิมพ์ครั้งที่) ต่อท้าย
      บันทึกถึงดวงดาว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
      บันทึกถึงดวงดาว. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า.
      สำเนาว์ ขจรศิลป์, บุญเรียง ขจรศิลป์, สมประสงค์ น่วมบุญลือ, สุริยา เสถียรกิจอำไพ และบุญสม ธีรวณิชย์กุล. (2541).
      การพัฒนา

You might also enjoy

ความแตกต่างของตัวแปรต้น/ตาม/ควบคุม
ความแตกต่างของตัวแปรต้น/ตาม/ควบคุม

วันนี้แอดมินพาเพื่อน ๆ ทุกคนมาอ่านความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมกันค่ะ😊 1️⃣ตัวแปรต้น : เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตัวแปรอิสระ”

เทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง
เทคนิคการเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง

เพื่อน ๆ เคยประสบปัญหางานยุ่ง มีอะไรให้ทำเยอะแยะ “จนอ่านหนังสือไม่ทัน” ไหมคะ?😭 ในเมื่อมีเวลาเหลืออยู่น้อยนิดในการอ่านและทำความเข้าใจ วันนี้แอดมินมีเทคนิคการอ่านหนังสือให้ทันในเวลาที่จำกัดมาให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำตามกันดูค่ะ…

อ่านหนังสือไม่ทัน ทำอย่างไรดี
อ่านหนังสือไม่ทัน ทำอย่างไรดี

เพื่อน ๆ เคยประสบปัญหางานยุ่ง มีอะไรให้ทำเยอะแยะ “จนอ่านหนังสือไม่ทัน” ไหมคะ?😭 ในเมื่อมีเวลาเหลืออยู่น้อยนิดในการอ่านและทำความเข้าใจ วันนี้แอดมินมีเทคนิคการอ่านหนังสือให้ทันในเวลาที่จำกัดมาให้เพื่อน ๆ ได้ลองทำตามกันดูค่ะ…

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย