- ภูมิหลัง ต้องเขียนเหตุผลของปัญหาที่จะทำวิจัยในภาพกว้าง หรือไกลสิ่งนั้นเข้าสู่ จุดที่ทำวิจัยหรือใกล้สิ่งนั้น (ควรมีเอกสารอ้างอิงของอาจารย์ภาควิชา/คณะที่ศึกษาด้วย) โดยทั่วไปจะกล่าวถึง 1.ปัญหา 2.ตัวแปรหรือพฤติกรรมที่จะทำวิจัย 3.กลุ่มตัวอย่าง 4.เทคนิค/วิธีที่จะทำกาวิจัย (ควรมีความยาว 3 – 6 หน้า)
- กรอบแนวคิด (ถ้ามี) แสดงถึงแนวความคิด ปรัชญา/หลักการ ต้องอ้างอิงตำรา หรือเอกสารที่นำมาเป็นกรอบแนวคิดด้วย (ไม่ใช่อ้างอิงงานวิจัยของอื่นมาเป็นกรอบ เพราะเท่ากับลอกเลียนการทำวิจัยของคนอื่น) งานวิจัยบางเรื่องที่ต้องใช้ทฤษฎี หลักการของนักวิชาการก็ควรมีกรอบการทำวิจัย บางเรื่องไม่ต้องมีกรอบก็ได้ เพราะหลักสำคัญของการทำวิจัยจะพิจารณาจากจุดมุ่งหมายของการวิจัย
- จุดมุ่งหมาย ต้องเขียนให้กะทัดรัด ชัดเจน จัดลำดับตามผลการวิจัย ที่จะเสนอใน บทที่ 4 อาจจะมีการปรับเปลี่ยนจุดมุ่งหมายให้กระชับขึ้น เมื่อจะเขียนบทที่ 4 (ไม่ควรเอาชื่อเรื่องการวิจัยมาเป็นจุดมุ่งหมาย เพราะจุดมุ่งหมายต้องมีรายละเอียดมากกว่าหัวข้อเรื่อง)
- ความสำคัญ ต้องคิดไว้ล่วงหน้าก่อนทำวิจัยว่า งานวิจัยนี้มีคุณค่า หรือมีประโยชน์หรือไม่ ถ้าคิด ว่ามีความสำคัญหลายประเด็น ก็เขียนเป็นรายข้อ (ไม่ควรเกิน 3 ข้อ) และข้อความ ที่เขียนต้องเป็นจริงพอสมควร เมื่อมีหัวข้อความสำคัญแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีหัวข้อประโยชน์ของการวิจัยอีก เพราะความสำคัญย่อมมีคุณค่ากว่าประโยชน์ของการวิจัย
- สมมุติฐาน (ถ้ามี) ถ้ามีสมมุติฐานต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย (มักจะเรียงไว้เป็นข้อหลังๆ ในจุดมุ่งหมาย) และต้องทำการทดสอบสมมุติฐานเพราะเป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วอ้างอิง (Generalized) ไปยังประชากร ถ้าไม่มีการทดสอบสมมุติฐานแสดงว่าข้อมูลที่เก็บมา เป็นข้อมูลเฉพาะของกลุ่มตัวอย่าง
- ขอบเขตของการวิจัย ประกอบด้วย
6.1 ประชากร ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน (ถ้าเป็นสถานการศึกษาต้องระบุ อำเภอ จังหวัด หรือสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาให้ชัดเจน)
6.2 กลุ่มตัวอย่าง พิมพ์ล้อประชากรแล้วระบุเพียง เลือก(Sampling) หรือสุ่ม(Random) โดยวิธีใด(ไม่ต้องระบุวิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างว่าใช้ตาราง หรือใช้เกณฑ์ และไม่ต้องแสดงรายละเอียดการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง)
6.3 ตัวแปร (ถ้ามี) ถ้ามีสมมุติฐานจึงจะมีตัวแปร (หากไม่มีสมมุติฐานก็ไม่ต้องเสนอตัวแปร เพราะถึงมีตัวแปรก็ไม่เกิดประโยชน์ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การระบุตัวแปรก็เพื่อทดสอบสมมุติฐาน) นิสิตมักจะใส่หัวข้อ เนื้อหาการทำวิจัยลงไปด้วยโดยไม่จำเป็น เพราะชื่อเรื่องวิจัยก็ระบุเนื้อหาแล้ว ส่วนกำหนดเวลาในการทำวิจัย จะอยู่ในบทที่ 3 เพราะเป็นเรื่องของการดำเนินการวิจัย ไม่ใช่บริบทของการทำวิจัย (บทที่ 1) - นิยามศัพท์เฉพาะ หัวข้อนี้ตรงกับคำว่า Definition เป็น การนิยามคำที่มีความสำคัญ (Key Words) ของการวิจัย และคำที่มีความสำคัญของการวิจัยที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นนิยามทั่วไป จึงไม่ควรลอกมาจากเอกสาร ตำรา และไม่จำเป็นต้องมีการอ้างอิง เว้นแต่ใช้ข้อความตรงกับเอกสารตำรา จริง ๆ นิยามศัพท์เฉพาะต้องกล่าวถึงพฤติกรรมหรือวิธีการตามหัวข้อที่จะทำวิจัย เพื่อแจ้งให้คนอ่านทราบว่างานวิจัยครั้งนี้หมายถึงอะไร อย่างไร เพราะหัวข้อเรื่องคล้ายกัน แต่เป็นคนละความหมาย หรือคนละ Concept เช่น หัวข้อวิจัยที่ขึ้นด้วยคำว่า “การพัฒนา…” แต่ละสาขาจะมีความหมายต่างกัน จึงต้องมีนิยามให้ชัดเจนว่าหมายถึงอะไร อย่างไร และครอบคลุมไปถึงอะไรบ้าง บางครั้ง นิยามศัพท์เฉพาะต้องชัดเจนในความหมาย และวิธีการวัด หรือวิธีเก็บข้อมูล จึงต้องระบุเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลด้วย เรียกนิยามลักษณะนี้ว่า “นิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition)” เช่น “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” หมายถึง ผลการเรียนรู้ในเรื่อง… ที สามารถวัดด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
สรุปการเขียนบทที่ 1 บทนำ เป็นเรื่องของบริบทในการทำวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยได้ทราบว่า วิจัยครั้งนี้จะประกอบด้วยสาระอะไรบ้างอย่างกะทัดรัด ไม่เกี่ยวกับการดำเนินการ หรือการจัดกระทำ (Action) ส่วนหัวข้อ “ข้อตกลงเบื้องต้น” มักจะไม่กล่าวถึง(เป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ในเชิงวิทยาศาสตร์เบื้องต้น เช่น กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยความเต็มใจ เป็นต้น)
การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา
การพัฒนากรอบแนวคิด (Conceptual Framework) ในการวิจัยเพื่อการศึกษาเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานของงานวิจัย กรอบแนวคิดเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นภาพรวมของปัญหาที่ต้องการศึกษา และแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในการศึกษาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ กรอบแนวคิดยังช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีระบบมากขึ้น