7 ขั้นตอน เขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ให้ผ่านฉลุย !

การเขียนบทที่ 1 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำวิทยานิพนธ์ มีหลักการว่าวิทยานิพนธ์ที่ทำมีความสำคัญและปัญหาอย่างไรถึงต้องทำเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนี้ การแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ชัดเจน มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ภูมิหลัง จุดมุ่งหมายของการวิจัย ความสำคัญของวิจัย กรอบแนวคิด ขอบเขตของงานวิจัย ท่านจะสามารถนำ 7 ขั้นตอน เขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ให้ผ่านฉลุย ดังต่อไปนี้ไปประยุกต์ใช้ได้

1. การเขียนภูมิหลังที่ดี

ภูมิหลังจะทำหน้าที่แนะนำให้ผู้อ่านงานได้รู้ความเป็นมา หลักเหตุผล ความสำคัญ และปัญหาของวิทยานิพนธ์ เป็นการตอบคำถามที่ว่าทำไมถึงทำเรื่องนี้ขึ้นมา โดยทั่วไปจะเขียนประมาณ 3-5 หน้า และจะมีย่อหน้าไม่เกิน 7 ย่อหน้า ให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับชื่อเรื่องที่ทำ ต้องชี้ถึงปัญหาความสำคัญชัดเจน ชี้ถึงแนวโน้มในอนาคต ภูมิหลังที่ดีต้องอยู่ในกรอบของวิจัย ให้ภาษาที่ถูกต้องในการเขียน การเขียนภูมิหลังไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวของแค่ความชัดเจนสั้นได้ใจความที่สำคัญชี้ถึงปัญหา และให้อยู่ในกรอบของการวิจัยที่ตั้งไว้

2. การเขียนวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของงานวิจัย

การตั้งจุดมุ่งหมายจะตั้งเป็นข้อหรือไม่เป็นข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะทำการศึกษา จุดมุ่งหมายของงานวิจัยมาจากเรื่อง และตัวแปรของการวิจัยเอามาตั้งเป็นจุดมุ่งหมาย ส่วนให้การตั้งจุดมุ่งหมายจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ…” แล้วตามด้วยชื่อวิจัย การตั้งจุดมุ่งหมายต้องมีความชัดเจนเข้าใจง่ายไม่ซ้ำซ้อน เป็นประโยคบอกเล่า สามารถตรวจสอบหรือทดสอบได้ และมีความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นหรือหัวข้อจุดมุ่งหมายของวิจัย

3. การเขียนความสำคัญของการวิจัย

เป็นตัวที่บ่งชี้ว่าหลังจากที่ทำเสร็จแล้วจะได้อะไรจากงานบ้าง ความสำคัญของการวิจัยเป็นผลที่คาดว่าจะได้รับ อยู่ในขอบเขตไม่ควรอ้างความสำคัญของการวิจัยเกินขอบเขตของเรื่องที่จะศึกษาเขียนความสำคัญให้ชัดเจน และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย

4. กรอบแนวคิดของการวิจัย

ถือว่ามีความสำคัญหรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะศึกษา และประเภทของงานวิจัย กรอบแนวคิดต้องระบุว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรแต่ละอย่างที่เลือกมาศึกษาจะต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และแต่ละตัวแปรที่เลือกมาศึกษาจะต้องมีพื้นฐานทางทฤษฏีความมีเหตุมีผล หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราจะศึกษา

5. ขอบเขตของการวิจัย

เป็นการระบุว่าวิจัยนั้นจะทำในเรื่องอะไร มีขอบเขตที่กว้างหรือแคบ จะทำการศึกษากับใคร จะมีส่วนประกอบย่อยได้แก่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เนื้อหาที่ใช้ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในการวิจัยเชิงทดลอง ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยจะแบ่งเป็นตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองว่าตั้งแต่เริ่มต้นจนจบใช้เวลาเท่าไร

6. สมมติฐานของการวิจัย

จะเป็นกล่าวถึงข้อสันนิฐานคาดคะเนผลการวิจัยนั้นว่าค้นพบอย่างไร เขียนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์ที่ชัดเจนไม่ควรเขียนในรูปของสมมติฐานสามารถทดสอบได้เขียนจากหลักการและเหตุผล และยังคงใช้ภาษาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย และรัดกุม

7. นิยามศัพท์เฉพาะ

มีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะผู้ที่วิจัยไม่สามารถที่จะอธิบายข้อเท็จจริงทั้งหมดได้ การให้คำอธิบายที่จำเป็นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ให้เลือกตัวแปรที่เกี่ยวข้องเน้นให้ผู้อ่านเข้าใจ สามารถเลือกใช้งานที่เหมาะสม ถ้ายกมาจากบุคคลอื่นควรที่จะใส่อ้างอิงถึง และต้องเขียนศัพท์ภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้วย

และนี่คือ 7 ขั้นตอน เขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ให้ผ่านฉลุย หากทำตามวิธีที่บอกไว้ข้างต้นก็จะเป็นการเริ่มต้นการเขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1ได้อย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำ สามารถประยุกต์ใช้กับงานวิจัยที่เขียนทำให้เขียนบทที่ 1 เป็นเรื่องที่ง่ายและผ่านฉลุยขึ้นมาทันที

Credit: https://bit.ly/33EciZp

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย