7เทคนิคในการเขียนบทที่ 1

  1. ภูมิหลัง ต้องเขียนเหตุผลของปัญหาที่จะทำวิจัยในภาพกว้าง หรือไกลสิ่งนั้นเข้าสู่ จุดที่ทำวิจัยหรือใกล้สิ่งนั้น (ควรมีเอกสารอ้างอิงของอาจารย์ภาควิชา/คณะที่ศึกษาด้วย) โดยทั่วไปจะกล่าวถึง 1.ปัญหา 2.ตัวแปรหรือพฤติกรรมที่จะทำวิจัย 3.กลุ่มตัวอย่าง 4.เทคนิค/วิธีที่จะทำกาวิจัย (ควรมีความยาว 3 – 6 หน้า)
  2. กรอบแนวคิด (ถ้ามี) แสดงถึงแนวความคิด ปรัชญา/หลักการ ต้องอ้างอิงตำรา หรือเอกสารที่นำมาเป็นกรอบแนวคิดด้วย (ไม่ใช่อ้างอิงงานวิจัยของอื่นมาเป็นกรอบ เพราะเท่ากับลอกเลียนการทำวิจัยของคนอื่น) งานวิจัยบางเรื่องที่ต้องใช้ทฤษฎี หลักการของนักวิชาการก็ควรมีกรอบการทำวิจัย บางเรื่องไม่ต้องมีกรอบก็ได้ เพราะหลักสำคัญของการทำวิจัยจะพิจารณาจากจุดมุ่งหมายของการวิจัย
  3. จุดมุ่งหมาย ต้องเขียนให้กะทัดรัด ชัดเจน จัดลำดับตามผลการวิจัย ที่จะเสนอใน บทที่ 4 อาจจะมีการปรับเปลี่ยนจุดมุ่งหมายให้กระชับขึ้น เมื่อจะเขียนบทที่ 4 (ไม่ควรเอาชื่อเรื่องการวิจัยมาเป็นจุดมุ่งหมาย เพราะจุดมุ่งหมายต้องมีรายละเอียดมากกว่าหัวข้อเรื่อง)
  4. ความสำคัญ ต้องคิดไว้ล่วงหน้าก่อนทำวิจัยว่า งานวิจัยนี้มีคุณค่า หรือมีประโยชน์หรือไม่ ถ้าคิด ว่ามีความสำคัญหลายประเด็น ก็เขียนเป็นรายข้อ (ไม่ควรเกิน 3 ข้อ) และข้อความ ที่เขียนต้องเป็นจริงพอสมควร เมื่อมีหัวข้อความสำคัญแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีหัวข้อประโยชน์ของการวิจัยอีก เพราะความสำคัญย่อมมีคุณค่ากว่าประโยชน์ของการวิจัย
  5. สมมุติฐาน (ถ้ามี) ถ้ามีสมมุติฐานต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย (มักจะเรียงไว้เป็นข้อหลังๆ ในจุดมุ่งหมาย) และต้องทำการทดสอบสมมุติฐานเพราะเป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง แล้วอ้างอิง (Generalized) ไปยังประชากร ถ้าไม่มีการทดสอบสมมุติฐานแสดงว่าข้อมูลที่เก็บมา เป็นข้อมูลเฉพาะของกลุ่มตัวอย่าง
  6. ขอบเขตของการวิจัย ประกอบด้วย
    6.1 ประชากร ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน (ถ้าเป็นสถานการศึกษาต้องระบุ อำเภอ จังหวัด หรือสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาให้ชัดเจน)
    6.2 กลุ่มตัวอย่าง พิมพ์ล้อประชากรแล้วระบุเพียง เลือก(Sampling) หรือสุ่ม(Random) โดยวิธีใด(ไม่ต้องระบุวิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างว่าใช้ตาราง หรือใช้เกณฑ์ และไม่ต้องแสดงรายละเอียดการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง)
    6.3 ตัวแปร (ถ้ามี) ถ้ามีสมมุติฐานจึงจะมีตัวแปร (หากไม่มีสมมุติฐานก็ไม่ต้องเสนอตัวแปร เพราะถึงมีตัวแปรก็ไม่เกิดประโยชน์ พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ การระบุตัวแปรก็เพื่อทดสอบสมมุติฐาน) นิสิตมักจะใส่หัวข้อ เนื้อหาการทำวิจัยลงไปด้วยโดยไม่จำเป็น เพราะชื่อเรื่องวิจัยก็ระบุเนื้อหาแล้ว ส่วนกำหนดเวลาในการทำวิจัย จะอยู่ในบทที่ 3 เพราะเป็นเรื่องของการดำเนินการวิจัย ไม่ใช่บริบทของการทำวิจัย (บทที่ 1)
  7. นิยามศัพท์เฉพาะ หัวข้อนี้ตรงกับคำว่า Definition เป็น การนิยามคำที่มีความสำคัญ (Key Words) ของการวิจัย และคำที่มีความสำคัญของการวิจัยที่ใช้สำหรับการวิจัยครั้งนี้เท่านั้น ไม่ใช่เป็นนิยามทั่วไป จึงไม่ควรลอกมาจากเอกสาร ตำรา และไม่จำเป็นต้องมีการอ้างอิง เว้นแต่ใช้ข้อความตรงกับเอกสารตำรา จริง ๆ นิยามศัพท์เฉพาะต้องกล่าวถึงพฤติกรรมหรือวิธีการตามหัวข้อที่จะทำวิจัย เพื่อแจ้งให้คนอ่านทราบว่างานวิจัยครั้งนี้หมายถึงอะไร อย่างไร เพราะหัวข้อเรื่องคล้ายกัน แต่เป็นคนละความหมาย หรือคนละ Concept เช่น หัวข้อวิจัยที่ขึ้นด้วยคำว่า “การพัฒนา…” แต่ละสาขาจะมีความหมายต่างกัน จึงต้องมีนิยามให้ชัดเจนว่าหมายถึงอะไร อย่างไร และครอบคลุมไปถึงอะไรบ้าง บางครั้ง นิยามศัพท์เฉพาะต้องชัดเจนในความหมาย และวิธีการวัด หรือวิธีเก็บข้อมูล จึงต้องระบุเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลด้วย เรียกนิยามลักษณะนี้ว่า “นิยามเชิงปฏิบัติการ (Operational Definition)” เช่น “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน” หมายถึง ผลการเรียนรู้ในเรื่อง… ที สามารถวัดด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
    สรุปการเขียนบทที่ 1 บทนำ เป็นเรื่องของบริบทในการทำวิจัย เพื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยได้ทราบว่า วิจัยครั้งนี้จะประกอบด้วยสาระอะไรบ้างอย่างกะทัดรัด ไม่เกี่ยวกับการดำเนินการ หรือการจัดกระทำ (Action) ส่วนหัวข้อ “ข้อตกลงเบื้องต้น” มักจะไม่กล่าวถึง(เป็นเรื่องที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ในเชิงวิทยาศาสตร์เบื้องต้น เช่น กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยความเต็มใจ เป็นต้น)

You might also enjoy

การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา
การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา

การพัฒนากรอบแนวคิด (Conceptual Framework) ในการวิจัยเพื่อการศึกษาเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานของงานวิจัย กรอบแนวคิดเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นภาพรวมของปัญหาที่ต้องการศึกษา และแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในการศึกษาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ กรอบแนวคิดยังช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีระบบมากขึ้น

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ?

การทำเล่มวิจัยจบไม่ใช่แค่การผ่านวิชา แต่เป็นการฝึกฝนทักษะที่สำคัญหลายด้านที่ช่วยให้เราเติบโตและพัฒนาไปสู่การเป็นนักคิด นักวิเคราะห์ และผู้เชี่ยวชาญในอนาคต! ✨ 1. ฝึกการคิดเชิงวิพากษ์ 🧠 การวิจัยช่วยฝึกให้เราแยกแยะข้อเท็จจริงจากความคิดเห็น และตั้งคำถามกับสิ่งที่เรารับรู้

ปีใหม่กับฉันคนใหม่ ด้วย 7 แรงบันดาลใจง่าย ๆ
ปีใหม่กับฉันคนใหม่ ด้วย 7 แรงบันดาลใจง่าย ๆ

ปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่ดีในการเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาตัวเอง มาลองทำตามแรงบันดาลใจง่าย ๆ เหล่านี้เพื่อเริ่มปีใหม่นี้ด้วยพลังบวกกันเถอะค่ะ 🎉 ปีนี้พร้อมเริ่มต้นการเป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดียิ่งขึ้นกันแล้วใช่ไหมคะ? 💖 #ปีใหม่2025

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย