“6 วิธีรับมือกับภาวะ Burnout ตอนทำวิจัย”

“6 วิธีรับมือกับภาวะ Burnout ตอนทำวิจัย”
ภาวะหมดไฟ หรือ Burnout คือภาวะที่จิตใจของเรามีการสะสมความเครียดแบบเรื้อรังจนนำไปสู่ความอ่อนล้าทางร่างกายและอารมณ์ มองความสามารถตัวเองในเชิงลบ ไปจนถึงรู้สึกว่าตัวเองไม่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม ไม่มีแรงจูในในการทำงาน นอนไม่หลับและอ่อนเพลีย รู้สึกหงุดหงิดง่าย เป็นต้น อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว แต่มันจะค่อยๆ รู้สึกและสะสมเรื่อยๆ จนกระทั่งเพื่อนๆ รู้สึกว่ามันเริ่มกระทบต่อตัวเอง ในช่วงของการทำโปรเจคจบ ทำเล่มวิทยานิพนธ์ เพื่อนๆ คงจะมีกับปัญหานี้กันใช่ไหมคะ วันนี้เรามีวิธีรับมือกับความเบื่อหนายตอนทำวิจัยมาแนะนำกันค่ะ …

1.กำหนดขอบเขตในการทำงาน
การที่เรากำหนดเป้าหมายในการทำงานจะช่วยให้เราแยกเวลาชีวิตกับเวลาทำงานได้ ให้เพื่อนๆ กำหนดระยะเวลาในการทำงาน และกำหนดว่างานแต่ละส่วนควรจะเสร็จเรียบร้อยเมื่อใด และในขณะที่เพื่อนๆ กำลังทำงานนั้นก็ควรมีเวลาพักให้ตัวเองเพื่อได้ผ่อนคลายด้วย การที่เรากำหนดขอบเขตเวลาการทำงานนั้นจะทำให้เพื่อนๆ มีเวลาเหลือในส่วนของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ครอบครัว เพื่อนฝูง ชีวิตเพื่อนๆ ก็จะมีความสมดุลขึ้น ไม่จมอยู่กับงานจนเครียดโดยไม่รู้ตัวค่ะ

2.หาสิ่งเยียวยา
เพื่อนๆ ควรที่จะหาหรือสร้างสิ่งที่จะช่วยเยียวยาทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์รวมถึงสิ่งที่ช่วยซัพพอร์ตการทำงาน หากเพื่อนๆ เริ่มรู้สึกเหนื่อยล้า คืนนั้นหลังจากการทำงานอย่างหนักแล้วก็ผ่อนคลายตัวเองด้วยการนอนแช่น้ำอุ่น จุดเทียนหอมกลิ่นผ่อนคลาย เปิดเพลงคลอเบาๆ ก่อนเข้านอนพักผ่อนเพื่อเตรียมพร้อมลุยกับวันใหม่ ในส่วนของสิ่งที่ช่วยซัพพอร์ตการทำงานก็คือหากเพื่อนๆ มีปัญหาหรือติดขัดในการทำงาน การขอความช่วยเหลือจากครอบครัว หรือเพื่อนจะทำให้การทำงานผ่านไปง่ายขึ้นกว่าจัดการคนเดียวแน่นอนค่ะ

3.ห่างจากหน้าจอเสียบ้าง
ในขณะที่หลายคนเล่นโทรศัพท์มือถือเพื่อผ่อนคลาย เราขอแนะนำให้เพื่อนๆ ห่างจากโทรศัพท์มือถือบ้างและแบ่งเวลาให้ตัวเองได้อยู่กับตัวเอง ทำกิจกรรมที่ชอบ เผชิญกับโลกความเป็นจริงให้มากกว่าโลกโซเชียล เวลาว่างหลังจากที่ใช้อยู่กับตัวเองแล้วนั้นค่อยเล่นโซเชียลเพื่อผ่อนคลายอย่างแท้จริงดีกว่าค่ะ

4.ให้ตัวเองหยุดพักอย่างแท้จริง
เพื่อนๆ ควรให้เวลากับตัวเองได้พักอย่างแท้จริงด้วยนะคะ พักเติมพลังและความสดชื่นให้กับเพื่อนๆ เองด้วย เวลาทำงานแล้วคิดที่จะ “หยุดพัก” ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลกอะไรเลยค่ะ เราเพียงแค่หยุดพักครู่เดียวหลังจากการทำงานอย่างกดดัน แล้วค่อยลุยงานต่ออย่างเต็มที่

5.เรียนรู้กับการจัดการความเครียด
เราขอแนะนำให้เพื่อนๆ หาเทคนิคเพื่อฝึกจัดการกับความเครียดเอาไว้ค่ะ เช่น การนั่งสมาธิให้จิตใจสงบ ฝึกการกำหนดลมหายใจ หายใจเข้า-ออกให้ลึก การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การเล่นโยคะ การอ่านหนังสือ นี่เป็นวิธีที่ช่วยจัดการความเครียดได้อย่างดีที่เราขอแนะนำให้กับเพื่อนๆ ค่ะ

6.นอนหลับให้เพียงพอ
การพักผ่อนอย่างเพียงพอเหมือนจะเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด แต่เอาเข้าจริงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเพื่อนๆ หลายท่าน การนอนหลับสนิทและร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเองนั้นควรเข้านอนตั้งแต่ก่อน 4 ทุ่ม เพราะช่วงเวลา 4 ทุ่มถึงตี 2 เป็นช่วงเวลาที่สมองของเราจะผลิต Growth Hormone ได้อย่างเต็มที่ หากเป็นไปได้เราขอแนะนำให้เพื่อนๆ เข้านอนก่อน 4 ทุ่มและตื่นเช้าๆ ก็จะช่วยจัดการความเครียดและทำให้สุขภาพดีอีกด้วย

ภาวะหมดไฟกับการทำงานนั้นล้วนเป็นปัญหากับหลายๆ คน ตั้งแต่นักศึกษาจนถึงคนวัยทำงาน ดังนั้นแล้วหากเพื่อนๆ รู้สึกหมดไฟในตอนที่กำลังทำวิจัยก็ลองนำวิธีจัดการกับภาวะหมดไฟตอนทำวิจัยที่เราแนะนำเพื่อนๆ ไปลองปรับใช้กับตัวเองดูนะคะ และหากระหว่างที่เพื่อนๆ กำลังทำวิจัยแล้วเกิดเจอปัญหาสามารถหาผู้ช่วยในการทำวิจัยให้สำเร็จลุล่วงและส่งงานได้ตามเวลา ResearcherThailand ก็พร้อมเป็นผู้ช่วยให้กับเพื่อนๆ ทุกคนนะคะ

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย