5 เทคนิค อ่านงานวิจัยได้เร็ว ในเวลาจำกัด

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ต้องอ่านหรือหยิบข้อมูลสำคัญจากอ่านวิจัยเพื่อนำข้อมูลไปต่อยอด แต่ไม่เคยมีเวลาตั้งใจอ่านสักทีเพราะมันต้องใช้เวลาเยอะ บทความนี้ถูกเขียนมาเพื่อคุณ การอ่านงานวิจัยแต่ละฉบับเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะการอ่านงานวิจัยอย่างมีคุณภาพนั้นเราจะอ่านให้จบไปเพียงอย่างเดียวไม่ได้นะคะ แต่เราต้องอ่านด้วยความเข้าใจ เพราะงานวิจัยหลายฉบับถึงแม้ว่าจะมีคำค้นหาตรงกับสิ่งที่เราต้องการ ถ้าหากเรามีเวลาว่างเหลือเฟือเราอาจจะอ่านงานวิจัยวันละกี่ฉบับก็ได้ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาคือคุณอาจจะไม่มีเวลา ดังนั้น วันนี้เรามี 5 เทคนิค อ่านงานวิจัยได้เร็ว ในเวลาจำกัดสำหรับคนที่มีเวลาจำกัดมาฝากค่ะ

  1. ชื่องานวิจัย

ก่อนเริ่มต้นอ่านงานวิจัยฉบับใดก็ตาม ผู้อ่านควรอ่านชื่องานวิจัยนั้น ๆ อย่างละเอียดให้เข้าใจก่อนว่างานวิจัยฉบับนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรากำลังสนใจหรือไม่ เพราะถึงแม้งานวิจัยนั้นจะตรงกับสิ่งที่เราสนใจ แต่ถ้าในชื่องานวิจัยระบุถึงกลุ่มประชากรที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราต้องการจะอ่าน หรือมีวิธีวิจัยที่แตกต่างไปจากที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น เราสนใจงานวิจัยเรื่องการใช้ยา A ในหญิงตั้งครรภ์เพื่อที่ต้องการจะทราบว่ายานั้นมีผลต่อเด็กทารกหรือไม่ แต่งานวิจัยที่เราค้นมาได้มีชื่อว่า ‘การศึกษาการใช้ยา A ในผู้สูงอายุ’ ซึ่งไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ เราก็ควรข้ามการอ่านงานวิจัยนั้น ๆ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาค่ะ

         2. เริ่มอ่านจากบทคัดย่อ

          บทคัดย่อ หรือ abstract จะเป็นจุดศูนย์รวมทุกอย่างของงานวิจัยนี้ ตั้งแต่ที่มาและความสำคัญของงานวิจัย (background) วัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัยนี้ (objectives) ระเบียบวิธีวิจัยหรือขั้นตอนวิธีการต่าง ๆ ในการทำงานวิจัย (methods) ผลการวิจัย (results) และสรุปผลการวิจัย (conclusions) ซึ่งหากต้องการประหยัดเวลาในการอ่านงานวิจัยจริง ๆ ก็สามารถอ่านแค่บทคัดย่อของงานวิจัยนั้น ๆ อย่างเดียวก็ได้ แต่อย่าลืมว่าเนื้อหาที่ผู้วิจัยเขียนในบทคัดย่ออาจมีโอกาศแตกต่างจากเนื้อหาด้านในได้ รวมไปถึงการสรุปผลการวิจัยเช่นกัน ดังนั้นถ้ามีเวลาผู้อ่านก็ควรอ่านเนื้อหาด้านในทั้งหมดเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของงานวิจัยนี้อีกครั้งนะคะ

          3. อ่านกราฟแผนภูมิตารางให้เข้าใจ

          งานวิจัยหลายฉบับมักเลือกแสดงผลลัพธ์เป็นรูปภาพ กราฟ ตาราง แผนภูมิ (ยกเว้นงานวิจัยที่มีลักษณะเป็นการพรรณนาหรือการบรรยาย) ซึ่งการอ่านผลลัพธ์ที่ได้จากงานวิจัยจากสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราเข้าใจและช่วยประหยัดเวลาได้มากขึ้น แต่อย่าลืมว่าไม่ใช่ผลลัพธ์ทั้งหมดที่จะแสดงออกมาในรูปแบบกราฟหรือตารางนะคะ เพราะฉะนั้นต้องดูให้ดีด้วยว่าสิ่งที่เรากำลังอ่านอยู่ตรงกับผลลัพธ์หลักที่งานวิจัยนี้ระบุหรือไม่ และต่อไปนี้ก็จะเป็นทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการอ่านงานวิจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจเนื้อหาในงานวิจัยนะคะ

          4. การเน้นสิ่งที่สำคัญ

         งานวิจัยหลายฉบับอาจมีเนื้อหาหลายหน้า อ่านมาก ๆ ก็อาจจะลายตาหรือมีโอกาสที่เราจะลืมจุดที่สำคัญนั้น ๆ ไปได้ ดังนั้นเราควรขีดเน้นหรือกาดอกจันในจุดที่เราสนใจ หรือจุดที่เราจะกลับมาทำความเข้าใจเพิ่มในภายหลังไว้เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลากลับมาอ่านซ้ำใหม่ค่ะ

          5. ข้ามเนื้อหาบางส่วนไปก่อน

         แน่นอนค่ะว่าการอ่านงานวิจัยแต่ละฉบับเราควรอ่านและทำความเข้าใจในเนื้อหาทั้งหมดพร้อมกับการประเมินความน่าเชื่อถือของงานวิจัยนั้น ๆ ไปด้วย แต่ในเวลาที่จำกัดเราอาจจะจำเป็นต้องเลือกอ่านเฉพาะจุดที่เราสนใจหรืออ่านเนื้อหาที่เราต้องการจะนำไปใช้ก่อน

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย