5 ทักษะที่จำเป็นในการทำงานวิจัย ให้โดดเด่นกว่าใคร

หากคุณอยากพัฒนาผลงานวิจัยให้โดดเด่นกว่าใคร แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร ไม่รู้ว่าจะต้องพัฒนาในส่วนไหนบ้าง ในบทความนี้ เรามี 5 ทักษะที่จำเป็นในการทำงานวิจัย ให้โดดเด่นกว่าใคร เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานวิจัย พัฒนาให้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

1. พัฒนาทักษะด้านภาษา (Language)

ในการทำงานวิจัย การใช้ “ภาษา” สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจำเป็นจะต้องเรียบเรียงภาษาให้มีความกระชับเข้าใจง่าย และถูกต้องตามหลักวิชาการ เหมาะสมกับบริบทของงานวิจัยที่ทำการศึกษา

และโดยเฉพาะใช้ในการแปลบทความ หรือการแปลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากงานวิจัยต่างประเทศ เพื่อนำมาอ้างอิงในเนื้อหาข้อมูลในการศึกษาวิจัยให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

2. พัฒนาทักษะในการสื่อสาร (Communication)

ความสามารถทางภาษาจะไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพเลยหากทักษะในการสื่อสารไม่ได้ถูกพัฒนาตาม เพราะในกระบวนการทำงานวิจัย จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารสำหรับทำการเก็บข้อมูล

เช่น การแจกแบบสอบถาม การแจกแบบสัมภาษณ์ ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญลงแบบบันทึกการสนทนากับกลุ่มตัวอย่าง ในการพูดเชิญชวน ชักชวน โน้มน้าวใจ เพื่อขอความร่วมมือกับกลุ่มตัวอย่างให้ตอบคำถามในแบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์ที่มีความครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลในการตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย

รวมถึงการนำเสนอผลงานวิจัยต่ออาจารย์ที่ปรึกษา หรือคณะกรรมการที่สอบงานวิจัย ฉะนั้น ผู้ที่มีศิลปะในการสื่อสารย่อมมีความได้เปรียบกว่าผู้อื่น เพราะสามารถอธิบาย แถลง การพูดในที่สาธารณะ

3. พัฒนาทักษะทางเทคโนโลยี (Technology)

ในทุกวันนี้เทคโนโลยีได้หลอมรวมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และสำหรับการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปไกลมาก เปิดกว้างในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว สร้างความสะดวกสบายให้สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น 

อาทิเช่น สามารถเข้าถึงห้องสมุดแบบเต็มรูปแบบผ่าน Application บนอุปกรณ์เคลื่อนต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งต่างจากในอดีตที่ต้องเดินทางเข้าไปที่ห้องสมุดเท่านั้น

ฉะนั้น การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่จำเป็น การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างการรับ-ส่งอีเมล โปรแกรมคอมพิวเตอร์บางโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft Powerpoint และโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้สามารถช่วยประกอบการบรรยาย นำเสนองานวิจัยให้ดูน่าสนใจมากขึ้น

4. พัฒนาทักษะในการวางแผน และ บริหารจัดการ (Planning and Management)

กระบวนการทำงานวิจัยนั้นมีขั้นตอนในการศึกษาที่ละเอียด เพราะถ้าคุณสามารถวางแผนได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน รัดกุม และมีการบริหารจัดการที่ดี เมื่อถึงเวลาที่ลงมือปฏิบัติจริง ผลงานที่ได้ก็จะมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามที่ต้องการ

การวางแผนและการบริหารจัดการที่ดี ไม่เพียงจะทำให้การทำงานวิจัยของคุณประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยสามารถพัฒนาทักษะในการบริหารในหน้าที่การงานในชีวิตประจำวันให้เติบโตในหน้าที่การงาน มีโอกาสในการทำงานที่ดีขึ้นได้ 

5. พัฒนาทักษะในการจัดการอารมณ์ (Emotional management)

เพราะการทำงานวิจัยนั้นมีกระบวนการที่ค่อนข้างละเอียด จึงก่อให้เกิดความเครียด ความกดดันมากมาย ซึ่งคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพบเจอกับความเครียดรำหว่างที่ทำการศึกษาค้นคว้าได้ 

ดังนั้นคุณจึงต้องมีความสามารถในจัดการกับอารมณ์ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานได้อย่างเข้มแข็ง อย่างมีสติ และชาญฉลาด

รวมทั้งยังนำไปปรับใช้กับการทำงานชีวิตประจำวัน เพื่อรับมือกับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย หัวหน้า ลูกน้อง ลูกค้าได้

และทั้งหมดนี่คือ 5 ทักษะที่จำเป็นในการทำงานวิจัย ให้โดดเด่นกว่าใคร หากคุณสามารถพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ มันจะช่วยให้เล่มงานวิจัยของคุณมีประสิทธิภาพที่โดดเด่นกว่าใคร และยังช่วยเพิ่มความสามารถในทักษะตัวคุณให้มากยิ่งขึ้น

Credit: https://bit.ly/3JinuvC

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย