5 ข้อสังเกตงานวิจัยแต่ละแบบ ที่มืออาชีพเท่านั้นที่รู้ !

บทความนี้ขอย่อยปัญหาหลักในการทำงานวิจัยไทย 5 ข้อสังเกตงานวิจัยแต่ละแบบ ที่มืออาชีพเท่านั้นที่รู้ ! คือ

1. การทำวิจัยปริญญาโทและปริญญาเอกนั้น ต่างกันอย่างไร

ในข้อสังเกตวิจัยแรกนี้ส่วนใหญ่ผู้วิจัยหลายๆ ท่านจะแยกไม่ค่อยได้ว่า การทำงานวิจัยปริญญาโทและปริญญาเอกนั้น ต่างกันอย่างไร เราจะขออธิบายสั้นๆ ง่ายๆ ว่า

– ปริญญาเอกจะเน้นการทำวิจัย (Research) ในระดับที่ก้าวหน้าและสูงขึ้น โดยอาจจะมีหรือไม่มีการเรียนการสอนรายวิชาก็ได้

ฉะนั้นในการเรียนในระดับปริญญาเอก การฝึกฝนทักษะการทำวิจัยเป็นสำคัญ เพราะผู้เรียนจำเป็นต้องค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง

โดยศึกษาค้นคว้าวิจัยในหัวข้อนั้นๆ ลงไปให้ลึกถึงแก่นของความรู้ และในที่สุดสามารถสร้างองค์ความรู้ในแบบฉบับของตัวเองและขยายองค์ความรู้นั้นให้เป็นประโยชน์ในวงกว้างได้

– ปริญญาโทจะเน้นการเรียนการสอนรายวิชา (Course work) ในระดับที่ก้าวหน้าและสูงขึ้น โดยอาจจะมีหรือไม่มีการทำวิจัยก็ได้

ซึ่งการเรียนในระดับปริญญาโท จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนศึกษาความรู้ที่เฉพาะเจาะจงและลึกซึ้งกว่าระดับอื่นๆ อีกทั้งจะต้องสามารถประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ในบริบทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม แต่ไม่ถึงกับต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่ ลึกซึ้งถึงแก่นเท่ากับปริญญาเอก

หากเชิงเปรียบเทียบในแง่ขององค์ความรู้มากกว่าการเรียนในระดับปริญญาเอกที่ใช้เวลาโดยส่วนใหญ่มุ่งศึกษาหัวข้อวิจัยเพียงเรื่องเดียวอย่างลึกซึ้ง

เพราะการทำงานวิจัยในระดับปริญญาโทจะตอบโจทย์กับงานที่ต้องศึกษาความรู้แบบกว้างๆ และหลากหลาย และก็เพียงพอในการนำไปปรับใช้กับชีวิตและงานต่างๆ ได้ ซึ่งจำเป็นต้องไปสั่งสมประสบการณ์และความชำนาญต่างๆ ในสายอาชีพนั้นๆ เพิ่มเติมอยู่ดี

2. การทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ระดับปริญญาโท แบบ ก1 และ แบบ ก2 ต่างกันอย่างไร

ในการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 แผน ซึ่งในข้อสังเกตวิจัยนี้ ทางเราจะอธิบายความต่างของ แผน ก ซึ่งจะเน้นการทําวิจัยโดยให้มีการทําวิทยานิพนธ์ และแยกย่อยออกเป็น แบบ ก1 และ แบบ ก2 คือ

– แบบ ก1 จะเป็นการทําวิทยานิพนธ์อย่างเดียว โดยจะต้องมีหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต หรืออาจมีการเรียนรายวิชาก็ได้แต่ไม่นับหน่วยกิต และอาจจะไม่ต้องเรียนรายวิชาบรรยาย หรือเรียนแค่บางวิชาแบบไม่คิดหน่วยกิตไม่มีเกรด ซึ่งเหมาะกับผู้เรียนที่มีประสบการณ์วิจัยหรือมีความรู้ในสาขาวิชาด้านนั้นอย่างชัดแล้ว

แต่กลับมีข้อเสียตรงที่ไม่มีเกรดรองรับ อาจจะทำให้ยุ่งยากนิดๆ เมื่อนำไปสมัครในตำแหน่งงานที่กำหนดเกรด

– แบบ ก2 ในแผนการเรียนจะประกอบด้วยรายวิชาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และในการทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยการทำวิทยานิพนธ์จะเริ่มทำหลังจากเรียนรายวิชาไปแล้วประมาณ 2 เทอม

3. งานดุษฎีนิพนธ์ แบบ 1 แบบ 2 ต่างกันอย่างไร

ในข้อสังเกตวิจัยข้อที่ 3 นี้ ก็จะคล้ายๆ กับ ข้อที่ 2 แต่จะเป็นในระดับปริญญาเอก

– แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ อาจจะกำหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมหรือ ทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยไม่นับหน่วยกิต ซึ่งจะแยกย่อยเป็น 2 ส่วน คือ

แบบ 1.1 ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาโท จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

แบบ 1.2 ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาตรี จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

– แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย และศึกษารายวิชาเพิ่มเติม แยกย่อยเป็น 2 ส่วน คือ

แบบ 2.1ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาโทจะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

แบบ 2.2 ผู้ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาตรีจะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

4. บทความวิชาการ และ บทความวิจัย ต่างกันอย่างไร

ในความต่างของบทความวิชาการ และ บทความวิจัย มีลักษณะความต่างดังนี้

– บทความวิชาการ

จะนำเสนอความรู้พื้นฐานทางวิชาการของสาขานั้นๆ ที่เชื่อถือได้ และมีหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการที่ใช้ประกอบการเขียนอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยเขียนในลักษณะวิเคราะห์ วิจารณ์ ให้ผู้อ่านเห็นถึงประเด็นหรือสาระสำคัญที่ต้องการสื่อให้ผู้อ่านรับรู้

ซึ่งอาจจะเป็นการเขียนจากประสบการณ์ความเชี่ยวชาญส่วนตัวของผู้เขียน หรือนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ วิจารณ์ เรียบเรียงจัดลำดับการนำเสนอเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสมชัดเจน

และสรุปอภิปรายชี้แนะ เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์ หรือเหาความรู้ในประเด็นนั้นๆ เพิ่มเติมต่อไป 

– บทความวิจัย

บทความวิจัยคล้ายจะมีลักษณะคล้ายกับงานวิจัย หรืองานวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา แต่มีความต่างกันในรายละเอียดของความยาว ส่วนขยาย และส่วนประกอบบางส่วนที่ไม่จำเป็นต้องเขียนลงในบทความวิจัย

เช่น กรอบความคิดเชิงทฤษฎี ตัวแปรต่างๆ ขอบเขต และข้อจำกัดของการวิจัย รวมทั้งตารางการวิเคราะห์ข้อมูล

โดยการเขียนบทความวิจัยจะมีลักษณะกระชับตรงประเด็น ครอบคลุมส่วนที่เป็นปัญหา วิธีการดำเนินงาน ผลการวิจัย การอภิปรายและข้อเสนอแนะเป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปบทความวิจัยจะมีความยาวประมาณ 10-15 หน้ากระดาษ A4

5. จริงๆ รายงานวิจัยนั้นมี 6 บทขึ้นไป

ในการทำงานวิจัยส่วนใหญ่จะทำรายงานการวิจัยที่พูดจนติดปากว่า “การทำวิจัย 5 บท” หรือ “สอบ 5 บท” ซึ่งหากสังเกตให้ดีในการทำงานวิจัยนั้นไม่มีข้อจำกัดที่ตายตัว สามารถพลิกแพลงไปตามกระบวนการวิจัย ที่จะต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 6 ส่วน คือ

1. บทนำ

2. ทบทวนวรรณกรรม

3. วิธีดำเนินการวิจัย

4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

5. ผลการวิจัย

6. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

ดังนั้นรายงานการวิจัยจะมีกี่บทก็ได้แต่ไม่ควรต่ำกว่า 6 บท และไม่ควรคิดว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ผลการวิจัย ที่จะต้องรวมบทที่ 4 และ 5 เข้าด้วยกัน

นี่เป็นข้อสังเกต 5 ข้อ ที่หลายๆ คนมองข้าม และในบางครั้งยังไม่สามารถแยกแยะออก จนกว่าจะเกิดปัญหากับตัวเองถึงจะตระหนักรู้ในข้อสังเกตนี้

หากท่านมีข้อสงสัย หรือกำลังมองหาที่ปรึกษาในการทำงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ หรืองานดุษฎีนิพนธ์สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

Credit: https://bit.ly/3G5khgt

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย