การทํางานวิทยานิพนธ์แต่ละครั้ง สิ่งจําเป็นที่ผู้วิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่ต้องคำนึงเป็นสิ่งสำคัญ มี 3 ปัจจัย คือ
1. ควรเลือกหัวข้อเรื่องงานวิทยานิพนธ์ที่ตนเองถนัด
หัวข้อเรื่องงานวิทยานิพนธ์ เป็นสิ่งที่ต้องเริ่มพิจารณาเป็นอันดับแรก เนื่องจาก การเลือกสิ่งที่ตัวเองถนัดหรือสนใจนั้น จะทำให้ผู้วิจัยสามารถทำการค้นคว้าบนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจของตนเองได้เป็นอย่างดี
แต่… มีหลายครั้งหรือหลายกรณีที่ผู้วิทยานิพนธ์ได้ทำหัวข้อเรื่องวิทยานิพนธ์ที่ตนเองไม่ถนัด
สาเหตุมาจากอาจารย์ที่ปรึกษาคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้ เพราะสิ่งที่อาจารย์ที่ปรึกษาคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ให้ กับสิ่งที่ตนเองสนใจนั้น ไม่สอดคล้อง หรือว่ามีความคิดเห็นไม่ตรงกัน จีงอาจนำไปสู่ความล้มเหลวของงานวิทยานิพนธ์ได้
ฉะนั้น หากจะทํางานวิทยานิพนธ์ให้สําเร็จ จําเป็นที่จะต้องมีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจและตั้งหัวข้อวิทยานิพนธ์จากความต้องการของตนเองเป็นหลักก่อน
2. ควรเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกับตนเอง
หัวข้อที่สอง คือ ต้องเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกับตนเอง สามารถพูดคุย ให้คำแนะนํา สามารถจัดสรรแบ่งเวลาให้กับผู้วิทยานิพนธ์ได้เป็นอย่างดี
เนื่องจาก อาจารย์ที่ปรึกษางานวิทยานิพนธ์แต่ละท่านนั้น จะมีความถนัดแตกต่างกัน…
ดังนั้น การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาจึงมีความสําคัญเป็นอย่างมากในการทำงานวิทยานิพนธ์ หากสามารถเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่สามารถให้คําแนะนําหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ตนเอง มีความถนัดในสำหรับการให้คำปรึกษาแนะนำถึงหัวข้อประเด็นที่ตนเองสนใจดังกล่าวได้มากน้อยเพียงไร จะสามารถทําให้งานวิทยานิพนธ์สําเร็จลุล่วงไปได้โดยง่าย
3. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาหัวข้อวิทยานิพนธ์
ประเด็นที่สามคือ ต้องทําการศึกษา “ตัวแปร” หัวข้อวิทยานิพนธ์ โดยการศึกษาจากงานวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่จะทําการศึกษา
เนื่องจาก การศึกษาตัวแปรจากตัวอย่างงานวิทยานิพนธ์ ทฤษฎีแนวคิด หรือตัวอย่างงานวิทยานิพนธ์จากต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อนํามาสนับสนุนกับงานวิทยานิพนธ์ที่ตนเองสนใจ
ซึ่ง ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์จาก ปี พ.ศ. ที่ไม่ต่ำกว่าสิบปี หรือทันสมัยมากกว่านั้น จะทําให้งานวิทยานิพนธ์ดังกล่าวมีคุณค่าในการที่จะนํามาศึกษาวิทยานิพนธ์ และสามารถนํามาอ้างอิง หรือศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมได้
จากสิ่งที่กล่าวไปดังกล่าวนี้ เป็นสิ่งที่ผู้วิทยานิพนธ์สมควรจะรู้ไว้สําเร็จก่อนลงมือทํางานวิทยานิพนธ์ครับ