ในบทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย บอกเล่าถึงลำดับขั้นตอนในการทำงาน และปัญหาเบื้องต้นที่อาจจะพบเจอในระหว่างทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัยให้เข้าใจง่ายขึ้น
“รวบรวม, จำแนก, วิเคราะห์” ลำดับขั้นตอนทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย
1. รวบรวม โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากการออกไปลงพื้นที่เพื่อทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ได้กำหนดคุณลักษณะไว้ให้ทำแบบสอบถามงานวิจัย และนำมาทำการตรวจสอบว่ากลุ่มประชากรได้ทำการตอบคำถามครบถ้วนหรือ จำนวนประชากรได้ทำการตอบคำถามครบตามจำนวนที่กำหนดไว้หรือไม่
เพราะถ้าหากตอบคำถามแบบสอบถามงานวิจัยไม่ครอบถ้วนและไม่ตรงตามจำนวนประชากรที่กำหนดจะส่งผลทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลคาดเคลื่อน ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และไม่สามารถตอบคำถามที่ตั้งสมมติฐานไว้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
2. จำแนก เมื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเป็นขั้นตอนของการคีย์ข้อมูลลงในโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS เพื่อทำการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการตอบคำถามในแบบสอบถามงานวิจัย โดยการกำหนดการตั้งค่ารหัสข้อมูลที่ใช้ในการแทนผลต่างๆ ออกมาในรูปแบบสถิติที่ทำการวิเคราะห์ในการทำงานวิจัยนั้นๆ
3. วิเคราะห์ ทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัยออกมาในรูปแบบข้อมูลทางสถิติตามที่กำหนดไว้ในเนื้อหางานวิจัย โดยทำการแปรผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และทำความเข้าใจข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำการเรียบเรียงเนื้อหาที่จะใช้นำเสนองานวิจัย และใช้ตอบคำถามในการทำงานวิจัย
2 ปัญหา 1 ข้อจำกัด ที่มักส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย
1. ข้อมูลที่ทำการสอบถามได้ไม่ครบถ้วน เป็นปัญหาที่พบประจำในการสำรวจแบบสอบถามงานวิจัย สาเหตุหลักๆ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการตอบคำถามในแบบสอบถามงานวิจัยไม่ชัดเจน ไม่สามารถสื่อความหมายให้เห็นถึงวัตถุประสงค์การนำไปใช้ ทำให้กลุ่มประชากรตัวอย่างไม่ยินยอมให้ข้อมูลส่วนตัว และไม่ยินยอมที่จะตอบแบบสอบถาม ทำให้ได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนและถูกต้องตามความเป็นจริง
2. รายละเอียดคำถามกำกวม ไม่ชัดเจน ปัญหาที่สองเกิดจากคำถามที่ระบุในแบบสอบถามงานวิจัยเป็นคำถามที่ค่อนข้างกำกวม มีรูปประโยคที่วกวนหรืออาจใช้คำที่ไม่ถูกต้อง สะกดผิดไม่ตรงตามหลักภาษา ทำให้ผู้ตอบคำถามเกิดความสับสน ไม่เข้าใจความหมายของคำถามนั้น และอาจเป็นคำถามที่มีรายเอียดไม่ชัดเจนทำให้สื่อความหมายไปอีกทางซึ่งเป็นข้อควรระวัง เพราะอาจก่อให้เกิดอคติกับผู้ตอบคำถามได้
3. ระยะเวลากระชั้นชิด เป็นข้อจำกัดที่มีผลกระทบมากที่สุด เพราะในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตาม มักจะมี “เวลา” เป็นเครื่องกำหนดทั้งสิ้น ในการทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัก็เช่นกัน ซึ่งขั้นตอนในการวิเคราะห์มีรายเอียดที่ค่อนข้างซับซ้อน
ยิ่งมีระยะเวลากำหนดที่กระชั้นชิดมากเกินไป ก็อาจส่งผลให้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามงานวิจัยนั้นๆ มีผลการวิเคราะห์ที่ไม่แม่นยำ ทำให้การตอบคำถามแบบสอบถามงานวิจัยในวัตถุประสงค์ของการทำงานวิจัยเป็นไปอย่างไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรจะเป็น
ไม่ว่าในการทำงานใดๆ ก็ตามเราจะต้องมีการวางแผนและกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดความกดดันในการทำงานให้มากที่สุด เผื่อเวลาในการใช้ทำการตรวจสอบงาน และจะต้องใส่ใจในทุกรายละเอียดในงานทีทำ ณ ขณะนั้นเสมอ เพราะต่อให้มีความรู้และเชี่ยวชาญมากเพียงใดเราก็ไม่ควรประมาท