10  คำถามเช็กตัวเองก่อนตัดสินใจเรียนต่อเมืองนอก

การไปเรียนต่อเมืองนอกนั้นก็เป็นความฝันของใครหลายๆ คน แต่จะมั่นใจใน ‘ความพร้อม’ ของตัวเองได้ยังไง เพราะการไปเรียนต่อก็เหมือนการไปใช้ชีวิตอยู่ในสถานที่ใหม่ๆ สักที และไม่ได้ไปแบบระยะสั้น ดังนั้นการโยกย้ายครั้งนี้จึงสร้างความเปลี่ยนแปลงสภาพชีวิตทั้งภายในและภายนอก

วันนี้ Researcher Thailand เลยนำ 10  คำถามเช็กตัวเองก่อนตัดสินใจเรียนต่อเมืองนอก เพื่อสำรวจตัวเองคร่าวๆ ว่าตัวเองพร้อมไปเรียนต่อต่างประเทศแล้วหรือยัง

1. อยากไปเรียนต่อหรือไปเมืองนอก

    บางครั้งเราอาจอยากหนีชีวิตปัจจุบันไปไกลๆ การเรียนต่อก็เป็นหนึ่งในวิธีหนีที่ดี อาจเป็นเพราะเบื่องานประจำ เบื่อสภาพแวดล้อมเดิมๆ อยากออกจาก comfort zone ของตัวเอง ฯลฯ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องคิดใหม่ เพราะถ้าหากไม่ได้มีสาขาที่สนใจจริงๆ การเรียนต่ออาจไม่ใช่ทางออกเลย ไหนจะต้องเรียนกับสิ่งที่คิดว่าเรียนๆ ไปตั้ง 2-3 ปี แนะนำว่าให้ถามตัวเองให้ดีๆ ก่อนว่าอยากเรียนรู้ต่อในสาขาอะไร ถ้าชัดเจนแล้วก็เริ่มเลย! แต่หากในกรณีที่เราคิดแล้วรู้สึกว่าจริงๆ แล้วไม่ได้อยากเรียนระยะเวลายาวขนาดนั้น คอร์สระยะสั้นไม่กี่เดือนเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศอาจจะเป็นทางออกก็ได้

2. พร้อมจะเริ่มเตรียมตัวเมื่อไหร่?

    ช่วงการตัดสินใจเรียนต่อเมืองนอกของหลายๆ คนอาจจะไม่เท่ากัน บางคนก็คิดไว้ตั้งแต่ยังเรียนปริญญาตรี บางคนนึกปุบปับเรียนจบปุ๊บอยากไปเลย บางคนรอเวลาขอทำงานก่อนค่อยทำเอกสารสมัครเรียนเมื่อเป็นแบบนี้จึงต้องพิจารณาว่าตัวเองอยู่จุดไหน ขอยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพแบบนี้

    2.1 อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับป.ตรี: เป็นช่วงสนใจ ลองหาข้อมูลการศึกษาที่ประเทศนั้นๆ หรือสาขานั้นๆ ให้แน่ใจว่าเราอยากเรียนจริงๆ แต่มีแผนสำรองเผื่อไว้ถ้าอยู่ๆ เกิดอยากเปลี่ยนสาขาหรืออนาคตก็ดีนะ เพราะยังมีเวลาอีกเยอะ

    2.2 กำลังจะเรียนจบ: ถ้าสนใจเรียนเลยก็ต้องรีบจัดแจงเอกสาร ขอ recommendation letter จากอาจารย์ที่สนิท เช็คตารางวัน เงื่อนไขของมหาวิทยาลัยให้ดี แต่ถ้าใครที่แพลนว่าจะทำอย่างอื่นก่อนสักช่วงหนึ่งค่อยไปเรียนก็อาจจะต้องวางแผนเรื่องเอกสารเช่นกัน เช่นการไปคุยกับอาจารย์ก่อน อาจารย์จะได้จำได้และไม่ต้องปวดหัวเมื่อเรามาขอให้เขียนจดหมายแนะนำในภายหลัง

    2.3 กำลังทำงาน: อันนี้อาจจะยากและปวดหัวหน่อยเพราะทำงานควบไปด้วย ต้องแพลนและคุยกับที่ทำงานดีๆ สัญญาการทำงานเป็นอย่างไร เอกสารต้องจัดแจงให้เรียบร้อย ตรวจร่างกาย ขอวีซ่า เงื่อนไขเหล่านี้อาจทำให้ต้องลางานบ่อยครั้ง เพราะฉะนั้นต้องคุยกับเจ้านายให้ดีๆ 

    การเตรียมตัวคร่าวๆ ก็ประมาณนี้ ถ้าตอบได้ตามที่บอกก็สบายใจได้เปราะหนึ่งแล้วล่ะ

3. เรียนสาขาวิชาอะไรดี?

    แม้จะมีการพูดกันบ่อยครั้งว่าถ้าทำงานจบไปไม่จำเป็นต้องตรงกับสายหรือสาขาที่เรียนก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ใช้ไม่ได้กับทุกคน เพราะฉะนั้นจะเลือกเรียนสาขาอะไรก็สำคัญมาก เพราะจะส่งผลต่อการเลือกมหาลัย เลือกประเทศของเราด้วย และถึงบางสาขาจะมีโอกาสให้เราเปลี่ยนไปเรียนสาขาอื่นได้ถ้าไม่ชอบแต่ก็เสียเวลาอีก ดังนั้นก็ควรใช้เวลาทำความเข้าใจความต้องการของตัวเองให้ดีซะก่อน จากนั้นเมื่อรู้แล้วก็ลุยเลย

4. รับมือกับค่าใช้จ่ายยังไงดี?

    เมื่อมีประเทศเป้าหมายที่จะไปเรียนต่อแล้วก็ได้เวลามาคำนวณค่าใช้จ่ายกันต่อ ไม่ว่าจะเป็นค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าประกัน และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (ค่ารถ ค่าอาหาร ฯลฯ) ถ้ามีหลายตัวเลือกก็ต้องเปรียบเทียบค่าครองชีพเพื่อดูว่าประเทศไหนใช้เงินมากหรือน้อยกว่าขอบเขตที่เรากำหนดไว้ ที่สำคัญเลยคือต้องตอบให้ได้ว่าจะจัดการกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ยังไง หลายคนอาจใช้วิธีการออมเงินก้อน หรือบางคนอาจออมไปส่วนหนึ่งแล้วไปหาเอาดาบหน้า หรือจะใช้วิธีการหาทุนก็ได้

5. สมัครเรียนเมื่อไหร่?

    มหาวิทยาลัยในต่างประเทศส่วนใหญ่ จะเปิดรับนักศึกษา 2 ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ และ ฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูหนาว ซึ่งจะเริ่มเปิดรับใบสมัครทางออนไลน์ ประมาณ 4-5 เดือนก่อนเปิดเทอม โดยมากนักเรียนไทยจะไปเรียนต่อประมาณเดือนกันยายน แต่ก็ต้องเดินทางไปถึงมหาวิทยาลัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เพื่อเตรียมความพร้อม จัดหาที่พัก และบางคนอาจต้องเรียนคอร์สภาษาหรือคอร์สปรับพื้นฐานเพิ่มเติมก่อน 

    เพื่อความถูกต้องที่สุดก็ควรเช็คข้อมูลจากเว็บไซต์มหาลัยแต่ละที่โดยตรง นอกจากนี้ยังต้องเผื่อเวลาการทำเอกสารต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นขอจดหมายแนะนำ ขอทรานสคริปต์ ขอใบรับรองแพทย์ ฯลฯ  เรื่องเวลาสำคัญมาก ต้องกะเวลาให้ดีเพราะมีหลายคนที่ต้องเลื่อนเวลาสมัครเรียนเพราะกะเวลาผิดมาแล้ว

6. ต้องใช้คะแนนการสอบอะไรรึเปล่า?

    ถ้าไปเรียนต่อหลักสูตรนานาชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก มหาวิทยาลัยมักต้องการให้ผู้สมัครยื่นคะแนนสอบภาษาอังกฤษประกอบการพิจารณาด้วย โดยผลคะแนนที่นิยมใช้กันแพร่หลายก็ได้แก่ TOEFL และ IELTS หรือบางคอร์สอาจต้องยื่นคะแนนอื่นๆ เช่น GRE หรือ GMAT ประกอบด้วย อย่าลืมทำการบ้านล่วงหน้าว่ามหาวิทยาลัยที่สมัครต้องการคะแนนอะไรบ้าง จะได้เตรียมตัวสอบไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะบางกรณีอาจต้องเรียนพิเศษและอ่านหนังสือเพิ่มเติม

7. ขอทุนการศึกษาได้ไหม?

    ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ เช่น อเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฯลฯ จะมีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่มีผลการเรียนดี หรือ กิจกรรมโดดเด่นด้วย หากได้รับทุนก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากทีเดียว ดังนั้น จึงควรศึกษารายละเอียดหรือสอบถามทางมหาวิทยาลัยเอาไว้ล่วงหน้า เพราะหากต้องการขอทุน มักจะต้องยื่นเอกสารหรือเขียนเรียงความเพิ่มเติมเพื่อการขอทุน

8. พักที่ไหนดี?

    การพักอาศัยเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ถ้าโชคดีเจอที่พักดีก็เริดไป ถ้าไม่ดีก็แย่หน่อย เพราะไม่ใช่ทุกมหาวิทยาลัยจะจัดสรรหอพักไว้ให้นักศึกษาต่างชาติในปีแรกของการศึกษา บางหอพักก็อาจจะต้องมีการจองหรือชำระเงินล่วงหน้า อันนี้ต้องเช็คให้ดี ถ้าอยากเช่าห้องพักข้างนอก เพื่อให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ ที่จะมาเยี่ยมสามารถพักด้วยได้อย่างสะดวกสบาย ก็ลองหาข้อมูลและเปรียบเทียบราคาจากหลายๆ แหล่งดู รวมถึงความปลอดภัยบริเวณโดยรอบด้วย 

9. สามารถทำงานพิเศษได้ไหม?

    หากไม่ได้มีเงินสนับสนุนจากครอบครัวมากนัก การทำงานพิเศษก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ แต่อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ดีว่า วีซ่านักเรียนนอกแต่ละประเทศทำงาน PART-TIME ได้กี่ชั่วโมงบ้าง และไม่ควรทำงานเยอะเกินไปหรือละเมิดกฎโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากตัวเองจะเสี่ยงแล้ว ก็ยังอาจส่งผลเสียต่อรุ่นน้องนักเรียนไทยที่จะมาเรียนต่อในรุ่นหลังๆ ด้วย

10. จะเอาตัวรอดได้อย่างไร?  

    การไปอยู่ห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนก็แน่นอนว่าจะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ๆ มากมาย และยังต้องรับผิดชอบตัวเองในทุกๆ ด้านอีกด้วย ฉะนั้นถ้ายังขาดทักษะอะไรที่จำเป็น ก่อนถึงวันเดินทางก็ควรฝึกฝน หาข้อมูล และเตรียมตัวไปก่อนล่วงหน้า เช่น ฝึกทำอาหาร หรือ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันแผนที่ของเมืองนั้นๆ

    นอกจากจะต้องมั่นใจว่าตัวเองเอาตัวรอดได้ อย่าลืมบอกคนในครอบครัว อธิบายให้เข้าใจว่าเราเอาตัวรอดได้ พวกเขาจะได้ไม่เป็นห่วง ตัวเราเองก็จะแฮปปี้ที่ได้มีโอกาสไปผจญภัยได้อย่างเต็มที่เพราะวางแผนเต็มที่แล้วด้วย

สรุปแล้วลองถามตัวเองดีๆ ว่าเราพร้อมแน่ไหม มีอะไรที่ยังขาดตกบกพร่องก็รีบเติมเต็มเข้าไว้ การผจญภัยกำลังรอทุกคนอยู่นะคะ

Credit: https://bit.ly/3Jc7GsI

#เรียนวิจัย #รับติวสอบ #รับปรึกษางานวิจัย #ทำdissertation #ทำthesis #ทำวิทยานิพนธ์ #ทำวิทยานิพนธ์ปตรี #ทำวิทยานิพนธ์ปโท #ทำวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนโปรแกรมSPSS #รับทำงานวิจัย #ที่ปรึกษางานวิจัย #รับทำดุษฎีนิพนธ์ #รับติววิทยานิพนธ์ #รับติวธีสิส #รับติวสารนิพนธ์ #รับติววิจัย #รับติวงานวิจัย #รับสอนวิทยานิพนธ์ #รับสอนธีสิส #รับสอนสารนิพนธ์ #รับสอนวิจัย #รับสอนงานวิจัย #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ #รับปรึกษาธีสิส #รับปรึกษาสารนิพนธ์ #รับปรึกษาวิจัย #รับปรึกษางานวิจัย #รับติววิทยานิพนธ์ปตรี #รับติววิทยานิพนธ์ปโท #รับติววิทยานิพนธ์ปเอก #รับสอนวิทยานิพนธ์ปตรี #รับสอนวิทยานิพนธ์ปโท #รับสอนวิทยานิพนธ์ปเอก #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปตรี #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปโท #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนทำวิจัย ##รับสอนดุษฎีนิพนธ์ #รับติวดุษฎีนิพนธ์ #รับปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ #ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ปรึกษาวิจัย #ปรึกษางานวิจัย #ทำวิจัยปโท #phdthesis #หัวข้อวิทยานิพนธ์ #รับทำdissertation #บริษัทรับทำวิจัย #รับเขียนบทความวิชาการ #thesiswriter #spssราคา #ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ทำวิจัยพยาบาล #รับปรึกษาวิจัย #ราคารับทำงานวิจัย

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย