วิธีคิดหัวข้อการวิจัย

วิธีคิดหัวข้อการวิจัย
เมษายน 20, 2562
การวิจัย (Research) หรือ วิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation) (หรืออาจจะเป็นสารนิพนธ์ การศึกษาอิสระ (Independent Study : IS) หรืองานวิจัยใด ๆ ก็ตามแล้วแต่จะเรียกกัน กระบวนการศึกษาสิ่งเหล่านั้นว่ายากแล้ว แต่ในความเป็นจริง หลาย ๆ คนกลับพบเจอสิ่งที่ยากกว่านั่นคือ หัวข้อการวิจัย ประเด็นก็คือ อยากทำวิจัย (หรือ โดนบังคับให้ต้องทำวิจัย) แต่ไม่รู้จะทำเรื่องอะไร หรือคิด หัวข้อการวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ ไม่ออก วันนี้ Beary Research (แบรี่ รีเสิร์ช) หนึ่งในบริการที่ปรึกษางานวิจัยของ Beary Education (แบรี่ เอดูเคชัน) มี 5 วิธีง่าย ๆ ในการคิดหัวข้อการวิจัย มาฝากกันครับ

  1. หัวข้อการวิจัย ต้องสอดคล้องกับงาน หรือสาขาที่เรียน ผู้ทำวิจัยต้องรู้ว่าตนเองรับผิดชอบงานด้านไหน หรือเรียนเอกอะไร เช่น ทำงาน หรือเรียน ด้านการตลาด มีการทำโปรโมชัน (Promotion) ใหม่ ๆ การศึกษาการตัดสินใจซื้อ (Purchase Decision) การทำวิจัยจึงควรมุ่งเน้นไปที่การศึกษากลยุทธ์ทางการตลาด ส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจซื้อ ดังนั้น หัวข้อการวิจัย อาจเป็น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อ การตัดสินใจซื้อ …..(ผลิตภัณฑ์ของผู้ศึกษา)…..ของ…..(กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เช่น บุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร)….. เป็นต้น
  2. หัวข้อการวิจัย ต้องสะท้อนถึงปัญหา หรือประเด็นที่จะศึกษา ก่อนที่ผู้วิจัยจะตั้งหัวข้อการวิจัยได้นั้น ผู้วิจัยจะต้องมีปัญหาที่ต้องการอยากรู้ มีการกำหนดเนื้อหาในการศึกษา หรือทฤษฎีที่จะศึกษามาก่อน เช่น ต้องการศึกษาว่าอะไรเป็นเหตุผลของการตัดสินใจทำงานที่นี้ ต้องการศึกษาว่าคนทำงานที่นี่มีความพึงพอใจหรือไม่ เมื่อได้ปัญหาแล้ว ก็จะนำไปสู่การสร้างหัวข้อการวิจัยได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดใจเข้าทำงาน และ ความพึงพอใจในการทำงาน ที่…..(สถานที่ทำงานที่ต้องการศึกษา)…..ของ…..(กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เช่น พนักงานระดับปฏิบัติการ)….. เป็นต้น
  3. หัวข้อการวิจัย ต้องทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ปัญหาหนึ่งที่ผู้วิจัยยื่นหัวข้อการวิจัยไม่ผ่าน ก็คือหัวข้อที่วิจัย ไม่ทันสมัย หรือ ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ปัจจัยที่ีมีผลต่อการใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดของนักศึกษาในระดับปริญญาโท (ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ดีดไม่ได้รับความนิยมแล้ว นักศึกษาแทบทุกคนใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานแทน) ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อน้ำปั่นในโรงอาหารโรงเรียนอนุบาลหมีน้อย (เป็นการวิจัยผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับที่มีนัยยะสำคัญ และสถานที่ก็เป็นพื้นที่เล็ก ๆ) หรือเป็นหัวข้อที่ผิดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี เช่น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการซื้อหวยใต้ดินของแม่บ้านตำรวจ (หวยใต้ดินปัจจุบันยังไม่ถูกกฎหมาย และกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับผู้รักษากฎหมาย) ตัวอย่างหัวข้อการวิจัยที่ทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ผลกระทบจากการเรียกเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากที่มีต่อธนาคารพาณิชย์ (กฎหมายใหม่เพิ่งประกาศเมื่อเดือน เม.ย. 62 และธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศ) ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร (รถยนต์ไฟฟ้าเป็นยานยนต์รูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับควาามนิยมขึ้นเรื่อย ๆ) เป็นต้น
  4. หัวข้อการวิจัย ต้องกำหนดกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการวิจัยที่ชัดเจน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรบางส่วนของผู้ที่เราต้องการศึกษา พื้นที่ในการวิจัย คือ ขอบเขตพื้นที่ที่เราต้องการศึกษา หัวข้อการวิจัยที่ดี จะต้องมีการระบุกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการวิจัยที่ชัดเจน เพื่อให้การวิจัยสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออพูดง่าย ๆ คือ สามารถทำได้จริง และนำมาใช้งานได้จริง เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของ คนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาครั้งนี้ มุ่งเน้นศึกษาคนวัยทำงาน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 22-60 ปี และศึกษาเฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น) เป็นต้น
  5. หัวข้อการวิจัย ต้องเป็นหัวข้อที่ผู้วิจัยสามารถทำได้จริง มีหลาย ๆ ครั้งที่หัวข้อการวิจัยถูกกำหนดไว้อย่างสวยหรู แต่ผู้วิจัยหลายคนกลับมาตายตอนจบ คือไม่สามารถศึกษา หรือเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้จริง เช่น การศึกษาประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยของระบบ e-Banking ของธนาคารพาณิชย์ (อาจไม่มีธนาคารพาณิชย์ใดให้ข้อมูลเนื่องจากกังวลเรื่องความมั่นคงของระบบ) หรือ ปัจจัยที่มีต่อการโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐของผู้ก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คิดว่าหัวข้อนี้น่าจะหากลุ่มตัวอย่างในการศึกษายาก และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้วิจัยได้) เป็นต้น

ข้อมูลทั้ง 5 ข้อนี้ มีส่วนช่วยให้ผู้วิจัย สามารถคิดหัวข้อการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากใครยังคิดหัวข้อการวิจัยไม่ออก หรือต้องการที่ปรึกษา หรือผู้ช่วยในการวิจัย

You might also enjoy

การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา
การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา

การพัฒนากรอบแนวคิด (Conceptual Framework) ในการวิจัยเพื่อการศึกษาเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานของงานวิจัย กรอบแนวคิดเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นภาพรวมของปัญหาที่ต้องการศึกษา และแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในการศึกษาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ กรอบแนวคิดยังช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีระบบมากขึ้น

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ?

การทำเล่มวิจัยจบไม่ใช่แค่การผ่านวิชา แต่เป็นการฝึกฝนทักษะที่สำคัญหลายด้านที่ช่วยให้เราเติบโตและพัฒนาไปสู่การเป็นนักคิด นักวิเคราะห์ และผู้เชี่ยวชาญในอนาคต! ✨ 1. ฝึกการคิดเชิงวิพากษ์ 🧠 การวิจัยช่วยฝึกให้เราแยกแยะข้อเท็จจริงจากความคิดเห็น และตั้งคำถามกับสิ่งที่เรารับรู้

ปีใหม่กับฉันคนใหม่ ด้วย 7 แรงบันดาลใจง่าย ๆ
ปีใหม่กับฉันคนใหม่ ด้วย 7 แรงบันดาลใจง่าย ๆ

ปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่ดีในการเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาตัวเอง มาลองทำตามแรงบันดาลใจง่าย ๆ เหล่านี้เพื่อเริ่มปีใหม่นี้ด้วยพลังบวกกันเถอะค่ะ 🎉 ปีนี้พร้อมเริ่มต้นการเป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดียิ่งขึ้นกันแล้วใช่ไหมคะ? 💖 #ปีใหม่2025

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย