** การรับสมัครนิสิตใหม่ (ช่วงมกราคม – เมษายนของทุกปี) **
e-book หลักสูตร
ภาพรวมหลักสูตร
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2512 โดยรับสมัครผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญานิติศาสตรบัณฑิตเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต ทั้งนี้ หลักสูตรฯ ได้มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งประกอบไปด้วย 4 สาขาวิชากฎหมายหลัก อันได้แก่ กฎหมายเอกชนและธุรกิจ กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กฎหมายมหาชน และกฎหมายระหว่างประเทศ
ในแต่ละปีการศึกษา หลักสูตรฯ จะเปิดรับสมัครและทำการคัดเลือกผู้ที่มีสิทธิเข้าศึกษาประมาณปีละ 100 คน ทั้งนี้มีผู้ที่สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตจากทั่วประเทศให้ความสนใจและสมัครเข้าศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานแล้วทั้งในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน รวมถึงนิสิตนักศึกษาที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าศึกษาจึงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้และมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน
โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร
เพื่อให้การศึกษาในระดับมหาบัณฑิตมีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป หลักสูตรฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของคัดเลือกอาจารย์และผู้ทรงวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งในทางวิชาการและทางปฏิบัติเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์และความรู้สูงสุดจากคณาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ วิทยากร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและเป็นที่ยอมรับในวงการนิติศาสตร์ อาทิเช่น อดีตประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง อดีตอัยการสูงสุด รวมถึงที่ปรึกษากฎหมายระดับแนวหน้าของประเทศจากสำนักงานกฎหมายที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ
ปัจจุบัน หลักสูตรฯ ได้ผลิตมหาบัณฑิตกว่า 2,000 คน โดยมหาบัณฑิตเหล่านี้ได้นำความรู้ ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนการสอนไปใช้ในการพัฒนาประเทศชาติและรับใช้สังคมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาควิสาหกิจ รวมถึงภาคเอกชน อาทิ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ตุลาการ ข้าราชการ อาจารย์ นิติกร ทนายความ เป็นต้น
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต แบ่งเป็น
แผน ก2 (วิทยานิพนธ์)
รายวิชาบังคับทุกหมวดวิชา 6 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับเฉพาะหมวดวิชา 9 หน่วยกิต
รายวิชาเลือกเฉพาะหมวดวิชา 9 หน่วยกิต
รายวิชาเลือกเสรี 3 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน ข (เอกัตศึกษา)
รายวิชาบังคับทุกหมวดวิชา 6 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับเฉพาะหมวดวิชา 12 หน่วยกิต
รายวิชาเลือกเฉพาะหมวดวิชา 9 หน่วยกิต
รายวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
การจัดการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษา
หลักสูตรฯ มีระยะเวลาการศึกษา 2 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 4 ปีการศึกษานับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษา
1 ปีการศึกษา : แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา
ประมาณเดือนกรกฎาคมของทุกปี ลงทะเบียนเรียน ภาคการศึกษาต้น ที่เว็บไซต์ www.reg.chula.ac.th
ชำระค่าเล่าเรียน ผ่าน CU NEX Application
ระหว่างเดือนสิงหาคม – ธันวาคมของทุกปี การจัดการเรียนการสอน ภาคการศึกษาต้น
สอบปลายภาค (ภาคการศึกษาต้น)
ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ลงทะเบียนเรียน ภาคการศึกษาปลายที่เว็บไซต์ www.reg.chula.ac.th
ชำระค่าเล่าเรียน ผ่าน CU NEX Application
ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคมของทุกปี การจัดการเรียนการสอน ภาคการศึกษาปลาย
สอบปลายภาค (ภาคการศึกษาปลาย)
เวลาเรียน วันจันทร์ – วันเสาร์
วันจันทร์ – วันศุกร์ : เวลา 17.00 – 20.00 น.
วันเสาร์ : เวลา 09.00 – 16.00 น.
การสมัครและแนวทางการคัดเลือก (How to Apply)
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร
สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำปริญญานิติศาสตรบัณฑิต
ผ่านการคัดเลือกตามวิธีการที่หลักสูตรกำหนด
ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
ผู้เข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จะศึกษาเกินกว่า 1 สาขาวิชาในเวลาเดียวกันมิได้
ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษในวันลงทะเบียนแรกเข้า ดังต่อไปนี้
5.1 มีคะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป ก่อนลงทะเบียนแรกเข้า ทั้งนี้ ผลคะแนนต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันรายงานผลคะแนนการทดสอบจนถึงวันปิดรับสมัคร
5.2 การสำเร็จการศึกษา นิสิตต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 45 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 450 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 4.0 ขึ้นไป หรือสอบผ่านรายวิชาภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดด้วยจึงจะสำเร็จการศึกษาได้
วิธีการคัดเลือก
สอบข้อเขียน
สัมภาษณ์
ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าใช้จ่ายที่นิสิตต้องชำระ ประมาณ 36,500 บาท / ภาคการศึกษา
ทุนอุดหนุนการศึกษา
ทุนอุดหนุนการศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.grad.chula.ac.th หรือ โทร.0-2218-3502-4
ทุนของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ทุนนิสิตช่วยงาน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
ระยะเวลารับสมัคร
เปิดรับสมัครระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปี ** คลิกสมัคร **
วิธีการสมัคร (สามารถทำได้ 3 ช่องทาง)
ยื่นใบสมัครทาง Online ที่ www.law.chula-regist.com
ยื่นใบสมัครด้วยตนเองที่หลักสูตรฯ
ยื่นใบสมัครทางไปรษณีย์
บุคลากรประจำหลักสูตร
ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
อาจารย์ ดร.ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์
รองผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
อาจารย์ ดร.ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม
เจ้าหน้าที่หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
นายบำรุง ถนอมเชื้อ
นางพิริยาภรณ์ คำมอนมาย
นางสาวกนกกร ป้อมปลั่ง
ติตต่อหน่วยงาน
สำนักงานหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขานิติศาสตร์) llm-thai@law.chula.ac.th โทร. 095-3676129
นิสิตเก่า
ศาสตราจารย์พิเศษ เรวัติ ฉ่ำเฉลิม
อดีตอัยการสูงสุด
“ผมเข้าศึกษาในหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต เมื่อปี 2517 เดิมผมคิดว่าตนเองมีความรู้ด้านกฎหมายมากเพียงพอแล้ว เพราะสามารถสอบเข้าได้ในลำดับที่ 1 แต่เมื่อได้เข้ามาเรียนแล้วทำให้ได้รู้ว่าความรู้ที่เรามีนั้นยังน้อยนัก หลักสูตรฯ ได้ให้ทั้งความรู้และประสบการณ์ที่ดีอย่างยิ่ง โดยผมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี”
นายอัครพันธ์ สัปปพันธ์
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา
“ความรู้และประสบการณ์ของคณาจารย์ทั้งจากภายในและภายนอกคณะ ประกอบกับการมอบงานให้อ่านก่อนการบรรยาย ทำให้บรรยากาศในการเรียนการสอนเป็นการถกเถียงทางวิชาการที่น่าสนใจ ทันสมัยและสนุก คณะจัดให้มีการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ที่เป็นระบบและมีคุณภาพ ส่งผลให้มหาบัณฑิตทางนิติศาสตร์มีความเข้มแข็งทางวิชาการและเป็นที่ยอมรับในแวดวงกฎหมาย”
นางทิพาพันธ์ รัตนพิทักษ์
ตุลาการศาลปกครองกลาง
หลักสูตรนี้สอนให้ผู้เรียนเข้าใจถึงหลักการพื้นฐานของกฎหมายมหาชน เน้นการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ จึงทำให้ดิฉันสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการทำงานได้จริง
นายสมพร เหลี่ยมป้อ
นักกฎหมายอิสระ
องค์ความรู้และวิธีการลำดับความคิดในการทำวิทยานิพนธ์ที่ได้รับจากคณาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพให้กับตัวเอง
นางสาวโสมนัส เจือศรีกุล
Director, Office of the Executive Director, TIJ
“หลักสูตรนี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้หลักการ องค์ความรู้ และกรอบวิธีคิดซึ่งทำให้ดิฉันสามารถต่อยอดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างไม่สิ้นสุด แม้จะจบการศึกษาไปแล้วก็ตาม”
นางสาวภิญญดา ไรนิเกอร์
นักการทูตปฏิบัติการ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ
“ในฐานะที่เรียนหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ทั้งที่จุฬาฯ และต่างประเทศสามารถบอกได้ว่าความรู้ด้านกฎหมายระหว่างประเทศที่ได้จากหลักสูตรของจุฬาฯ สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานที่กระทรวงการต่างประเทศได้มากที่สุด”
อีกทั้งคณาจารย์ก็มีความรู้และมีคณภาพในระดับสากล หลักสูตรมีความลึกและละเอียด ใช้เทคโนโลยีช่วยในการเรียนการสอน ดีกว่า LLM ที่ต่างประเทศ
หลักสูตรปริญญาบัณฑิต
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ)
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายการเงินและภาษีอากร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขากฎหมายเศรษฐกิจ
LL.M. in Business Law (International Program)
หลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
หลักสูตรอบรมพิเศษ
ดูเพิ่มเติม