ชี้จ้างทำวิทยานิพนธ์ถูกริบใบปริญญา
ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า จากการที่ได้มีการประกาศเชิญชวนให้เข้ารับคำปรึกษาและมีการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดียนั้น อว. ขอชี้แจงให้ทราบว่าการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท-เอก ของสถาบันอุดมศึกษานั้น ผู้เรียนต้องมีการทำวิทยานิพนธ์ อีกทั้งผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพ จึงจะถือว่าสำเร็จการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาได้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.การอุดมศึกษา พ.ศ.2562 ได้บัญญัติไว้ว่า “เพื่อประโยชน์ในการรักษามาตรฐานการอุดมศึกษา หลักธรรมาภิบาลและความซื่อสัตย์สุจริตทางวิชาการ ห้ามมิให้ผู้ใด จ้าง วาน ใช้ให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษา” รวมทั้งประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องแนวทางบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2558 กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาจัดระบบตรวจสอบการคัดลอกผลงาน หากตรวจพบว่ามีการคัดลอก มีการซ้ำซ้อนกับงานของผู้อื่น หรือพบว่ามีการจ้างทำรายงานการค้นคว้าอิสระ หรือวิทยานิพนธ์ ให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาถอดถอนรายงานการค้นคว้าอิสระหรือวิทยานิพนธ์ชิ้นนั้น
“อว.ขอเตือนนิสิตนักศึกษาที่กำลังหลงเชื่อการจ้างทำวิทยานิพนธ์ดังกล่าวนี้ เมื่อมหาวิทยาลัยตรวจพบว่าเข้าข่ายคัดลอกผลงานผู้อื่น หรือจ้างทำวิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ อาจมีผลให้ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร หรือแม้กระทั่งเรียนจบไปแล้ว ไปทำงานแล้ว ก็จะถูกถอนใบปริญญา จึงอยากจะให้นิสิตนักศึกษาตระหนักในเรื่องนี้เพราะเมื่อเป็นคนเก่งแล้วต้องเป็นคนดีของสังคมด้วย” เลขาธิการ กกอ.กล่าว.
การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา
การพัฒนากรอบแนวคิด (Conceptual Framework) ในการวิจัยเพื่อการศึกษาเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานของงานวิจัย กรอบแนวคิดเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นภาพรวมของปัญหาที่ต้องการศึกษา และแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในการศึกษาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ กรอบแนวคิดยังช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีระบบมากขึ้น