การวิจัยเชิงปริมาณ นิยมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- การวิจัยเชิงทดลองและกึ่งทดลอง
- การวิจัยที่ไม่ทดลอง
การวิจัยเชิงทดลอง
การวิจัยแบบนี้เป็นการวิจัยที่จะหาความจริงใหม่เมื่อมีการควบคุมตัวแปรและเป็นความ
พยายามหาความสัมพันธ์ของเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดผลอีกอย่างหนึ่ง การวิจัยเชิงการทดลอง จึงเป็นการ
เปรียบเทียบผลของกลุ่มทดลองกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่มที่มีการปฏิบัติเงื่อนไขต่าง ๆ กับกลุ่มควบคุม
กลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่มว่ามีผลแตกต่างกันหรือไม่เพียงใด
การวิจัยเชิงการทดลองมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ - การควบคุม (control) การควบคุมในการทดลองนั้นมีจุดประสงค์ ดังนี้
- เพื่อให้เกิดผลสูงสุด ซึ่งเนื่องจากตัวแปรที่ทดลอง
- เพื่อขจัดผลจากตัวแปรที่ไม่ต้องการจะทดลอง
- เพื่อขจัดความคลาดเคลื่อนของการทดลองประเภทต่าง ๆ
- การจัดกระทำตัวแปร คือ การจัดกระทำกับตัวแปรที่ต้องการทดลองและควบคุมตัวแปรที่
ไม่ต้องการทดลอง - แบบแผนการทดลองจะต้องมีความเที่ยงตรง ในการเลือกแบบแผนการทดลอง (experimental
design) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากมีความเที่ยงตรงผลการทดลองก็จะถูกต้อง ความเที่ยงตรงในการ
ทดลองมีอยู่ 2 ชนิด คือ ความเที่ยงตรงภายในและความเที่ยงตรงภายนอก
ก. ความเที่ยงตรงภายใน (internal validity) หมายถึง การที่จะลงสรุปตัวแปรอิสระว่าทำให้
เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรตาม จะต้องมั่นใจว่าไม่มีตัวแปรอื่น ๆ นอกจากตัวแปรอิสระที่ทำให้ตัวแปร
ตามเกิดการเปลี่ยนแปลง
ข. ความเที่ยงตรงภายนอก (external validity) หมายถึง ผลของการทดลองนั้นสามารถอธิบาย
ทำนายและควบคุม ตามความหมายทางวิทยาศาสตร์ได้มากน้อยเพียงใด ผลการทดลองที่เป็นจริงและ
สามารถสืบอ้างไปสู่มวลประชากรได้
ในการวิจัยเชิงการทดลองจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการข้างต้นนั้นได้ ผู้วิจัยต้องออกแบบ
แผนการทดลอง
การวิจัยที่ไม่ทดลอง
การวิจัยที่ไม่ทดลองที่นิยมกัน มีดังนี้ - การวิจัยเชิงสำรวจ เป็นการศึกษาแบบสำรวจเป็นวิธีการรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหา
ต่าง ๆ ทำให้ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ที่เป็นจริงในปัจจุบันและนำผลที่ได้จากการศึกษาไปวางแผนงาน
ช่วยแก้ปัญหาหรือปรับปรุงสภาพนั้น ๆ ให้ดีขึ้น การสำรวจอาจจะทำในวงกว้างหรือในลักษณะวงจำกัด
ก็ได้ เช่น อาจสำรวจทั่วประเทศหรือเป็นภาค จังหวัด อำเภอหรือเฉพาะโรงเรียนก็ได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น ดังนี้
1.1 การสำรวจโรงเรียน
1.2 การวิเคราะห์งาน
1.3 การวิเคราะห์เอกสาร
1.4 การสำรวจชุมชน - การศึกษาความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เป็นการศึกษาในรูปแบบหาความสัมพันธ์หรืออาจ
เป็นการวิจัยที่หาสาเหตุของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วหาความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์และพฤติกรรม
เพื่อนำมาแก้ปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
2.1 การศึกษารายกรณี
2.2 การศึกษาเปรียบเทียบสิ่งที่เกี่ยวข้อง
2.3 การศึกษาแบบสหสัมพันธ์ - การศึกษาพัฒนาการ แบ่งออกได้ดังนี้
3.1 การศึกษาความเจริญเติบโต
3.2 การศึกษาแนวโน้ม
การวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาวิจัยที่เน้นการเข้าใจปรากฎการณ์ การตีความหมายของโลก
หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา ด้วยวิธีการศึกษาและเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่หลากหลาย โดยมีเครื่องมือ
ที่สำคัญ คือ ผู้วิจัย การวิจัยนี้มีการออกแบบที่ยืดหยุ่น การวิเคราะห์ข้อมูล และการเก็บข้อมูลเป็นกระบวนการ
ที่สามารถดำเนินไปพร้อมกันในภาคสนาม การวิเคราะห์เริ่มจากการพิจารณาข้อมูลเชิงประจักษ์
จนมองเห็นมโนทัศน์หรือแนวคิดที่มีความหมายจากข้อมูลและเห็นความเชื่อมโยงของข้อมูล จนสามารถ
สรุปเป็นคำอธิบาย แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อทำความเข้าใจความหมายตามปรากฎการณ์ในทัศนะของผู้ที่
ถูกศึกษา โดยมีจุดยืนอยู่บนบริบทของปรากฎการณ์หรือของผู้ที่ถูกศึกษาเหล่านั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุด
ขั้นตอนหนึ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การเก็บข้อมูลให้ได้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษามากที่สุดและ
น่าเชื่อถือมากที่สุด ซึ่งมีหลายวิธีการ เทคนิควิธีการเก็บข้อมูลที่นิยมใช้กันมากและมีประสิทธิภาพ คือ
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และการ
สนทนากลุ่ม (focus group discussion)
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
พร้อมกันในการรวบรวมข้อมูล โดยต้องเข้าไปอยู่และปฏิบัติตนให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ต้องการ
ศึกษา
การสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป
เช่น การสัมภาษณ์เจาะลึก การสัมภาษณ์ลุ่มลึก การสัมภาษณ์แนวลึก เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูล
โดยไม่ใช้แบบสอบถาม จะมีแนวของข้อคำถามให้ผู้สัมภาษณ์เป็นผู้ถามผู้ให้สัมภาษณ์ในลักษณะการ
เจาะลึกและต้องอาศัยความสามารถพิเศษของผู้สัมภาษณ์ในการค้นหารายละเอียดในประเด็นที่ศึกษา