เรียน ป. โท จะเลือก แผน ก หรือ แผน ข ดี?

researcherthailand

เรียน ป. โท จะเลือก แผน ก หรือ แผน ข ดี?

การศึกษาในระดับปริญญาโทนั้น ยังมีหลายๆ คนสงสัยในการเลือกเรียนระหว่างแผน ก กับ แผน ข ซึ่งไม่เข้าใจว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และแผนไหนจะตรงกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการของเรา ดังนั้นเราขอนำความเห็นจากหลายๆ แหล่งมาประมวลมาให้อ่านกัน ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางให้ได้ตัดสินใจกันและหวังว่าคงมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจไม่มากก็น้อย และสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้องตอบโจทย์ตัวเองให้ได้ก่อนว่า “เราจะเรียนต่อในระดับปริญญาโททำไม? เรียนเพื่อไปทำอะไร?”

แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์) และ แผน ข (การค้นคว้าอิสระ)
หลักสูตรในแผน ก เป็นหลักสูตรที่มีการทำงานวิจัยเป็น “วิทยานิพนธ์” (12 หน่วยกิต)โดยมุ่งเน้นทักษะการทำวิจัยเต็มรูป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่ และเพื่อเตรียมตัวสำหรับการศึกษาต่อ ในระดับสูงขึ้นหรือปริญญาเอก (ดร.) ในโอกาสต่อไป โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์ในฐาน TCI ฐาน 2 ขึ้นไป จึงจะสามารถจบการศึกษาได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักวิชาการ อาจารย์ หรืออาจเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่างๆ (เป็นการเรียนเชิงลึก) เหมาะกับผู้ที่ชอบการค้นคว้าทำวิจัย
หลักสูตรในแผน ข เป็นหลักสูตรที่มีการทำงานวิจัยเป็น “การค้นคว้าอิสระ” (6 หน่วยกิต) โดยมุ่งเน้นทักษะการทำวิจัยเช่นเดียวกัน เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความสนใจศึกษางานวิจัย เพื่อต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่ หรือสำหรับผู้ที่มีความต้องการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษตามความสนใจของตนเอง โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์หรือการนำเสนอผลงานทางวิชาการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง จึงจะสามารถจบการศึกษาได้
จะเลือกแผนไหนนั้นขึ้นอยู่กับ
สาขาวิชาที่เรียนบางสาขา การทำวิทยานิพนธ์จะมีประโยชน์มากกว่าการค้นคว้าอิสระ
การวางอนาคต ถ้าต้องการต่อปริญญาเอกหรือทำงานในสายงานวิชาการ วิจัย อาจารย์ การทำวิทยานิพนธ์จะเป็นการฝึกฝนและเตรียมความพร้อมที่ดีมาก
ความถนัดและความชอบส่วนบุคคล ต้องมีเวลาที่จะศึกษาหาข้อมูลเต็มที่
อย่างไรก็ตาม จะเลือกแผนไหนก็ได้ แต่ต้องให้ได้ตรงตามเป้าประสงค์ในอนาคตของเรา เพราะว่าจะทำให้เรามีความพร้อมที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ แต่ควรเลือกให้เราได้เรียนรู้ให้มากที่สุด มีความรับผิดชอบต่อตัวเองให้มาก เพราะส่วนใหญ่การเรียนในระดับปริญญาโทเป็นการศึกษาหาข้อมูลด้วยตนเอง

สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนเริ่มเรียนต่อปริญญาโท เพื่อเป็นแนวทางให้เตรียมพร้อมและเตรียมตัวสำหรับการเรียนต่อได้อย่างถูกต้อง
รู้เป้าหมาย

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนต่อ ก็คือรู้จักเป้าหมายว่าเราจะเรียนต่อไปทำไม? เพราะการเรียนต่อโดยไร้เป้าหมายจะทำให้เสียเวลาและเสียเงินไปเปล่าๆ หากเรียนไปแล้วรู้สึกไม่ใช่หรือไม่ชอบ เพราะฉะนั้นจึงควรกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนสำหรับการเรียนต่อว่าเรียนไปทำไมและเพื่ออะไร เช่น เรียนต่อเพื่อใช้ในการทำงาน เรียนต่อเพื่อเป็นอาจารย์ หรือเรียนต่อเพื่อหาความรู้เพิ่มเติม เพราะสิ่งนี้จะมีผลในการเลือกเรียนในหลักสูตรต่างๆ และช่วยให้สามารถกำหนดขอบเขตของเวลาได้อย่างชัดเจนด้วย
ภาคปกติและภาคพิเศษเหมาะสำหรับใคร

โดยปกติแล้วการเรียนต่อปริญญาโทจะมีให้เลือกเรียนได้ 2 แบบ ซึ่งก็คือภาคปกติและภาคพิเศษ
ภาคปกติ จะเป็นการเรียนในรูปแบบวันจันทร์ – ศุกร์ การเรียนจะไม่หนักเท่าภาคพิเศษ เพราะไม่ต้องมีวิชาเรียนอัดเกินไป ทำให้มีเวลาทำงานส่งอาจารย์ในวันเสาร์อาทิตย์ด้วย การเรียนภาคปกติจึงเหมาะสำหรับคนที่มีเวลาว่างในวันปกติ ผู้ที่ยังไม่ได้ทำงานประจำ คนที่มีรายได้น้อยและคนทำงานอิสระนั้นเอง
ภาคพิเศษ มีการเรียนการสอนในวันเสาร์ – อาทิตย์ ส่วนค่าหน่วยกิตจะแพงกว่าการเรียนภาคปกติ ภาคพิเศษจะเหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานประจำเพราะมีเวลาจำกัดในการเรียน
โครงสร้างหลักสูตร แผน ก และ แผน ข

โดยปกติแล้วหลักสูตรปริญญาโทจะมีให้เลือกด้วยกันอยู่ 3 แบบ แผน ก1, ก2, และแผน ข ซึ่งหลักสูตรเหล่านี้มีความต่างกันทั้งวิชาเรียน ความเข้มข้นและรูปแบบการเรียน
แบบแผน ก1 คือ หลักสูตรที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญหรืออาจารย์ในสาขาวิชานั้นๆ โดยหลักสูตรแบบ ก1 จะไม่มีการเรียนการเรียนการสอน แต่จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้เวลาไปกับการทำวิทยานิพนธ์เท่านั้น ทำให้หลักสูตร ก1 ไม่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น
แบบแผน ก2 จะมีความต่างจากแบบแผน ก1 ก็คือ มีการเพิ่มการเรียนการสอนให้เพื่อปรับพื้นฐานและความรู้ให้กับผู้เรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปทำวิทยานิพนธ์ได้
แบบแผน ข แบบแผน ข จะมีความคล้ายคลึงกับแบบแผน ก2 เพียงแต่จะมีความเข้มข้นน้อยของเนื้อหาน้อยกว่าการเรียนแบบ แผน ก และไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์เพื่อจบการศึกษา แต่ต้องทำเป็นการค้นคว้าอิสระแทน
รู้จักวิธีการหาทุน

ทุนเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้เรียนต่อไม่ว่าจะเป็นระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก เพราะจะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนและทำงานวิจัยได้โดยไม่ต้องกังวลถึงเรื่องค่าใช้จ่าย โดยปกติแล้วการหาทุนเรียนต่อมีอยู่สองแบบคือ ทุนภายในและทุนภายนอก
ทุนภายใน คือ ทุนที่ทางมหาวิทยาลัยหรือภาควิชาที่เราศึกษาต่อออกให้โดยตรง เช่น ทุนผู้ช่วยอาจารย์ ทุนผู้ช่วยวิจัย ทุนสำหรับนักเรียนต่างชาติ ทุนสนับสนุนการวิจัย โดยทุนภายในแต่ละประเภทจะมีความรายละเอียดที่แตกต่างกัน
ทุนภายนอก คือ ทุนที่ได้รับจากแหล่งเงินทุนภายนอกที่ไม่ใช่จากทางมหาวิทยาลัยโดยตรง เช่น ได้รับเงินทุนจากบริษัทที่ทำงาน ทุนสำหรับการตีพิมพ์ในวารสาร หรือได้รับเงินทุนจากกระทรวงหรือหน่วยเงินต่าง ๆ
รู้จักวิธีการสอบเข้า

ปกติแล้วการสอบเข้าเรียนต่อจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รอบ คือ 1) การสอบข้อเขียน เพื่อวัดความรู้พื้นฐานของผู้เข้าสอบ โดยทางหลักสูตรจะเป็นผู้กำหนดวิธีการสอบ และ 2) การสอบสัมภาษณ์ จะเป็นการสอบปากเปล่ากับอาจารย์ประจำสาขานั้นๆ
รู้จักความต้องการของตลาด

ในอนาคตบางสาขาวิชาอาจถูกยุบหรืออาจจะมีสาขาวิชาใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งนึกที่เราควรคำนึงก็คือ ความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคตอีก 2 – 5 ปี ว่ามีแนวโน้มหรือขาดแคลนแรงงานในด้านใด เพราะคงไม่มีใครที่จะเรียนจบมาแล้วไม่มีงานทำ
รู้จักเตรียมตัว

รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง เพราะเรารู้ว่าฆ่าศึกเป็นใคร การเรียนต่อก็เช่นกัน หากเราเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีการเรียนต่อจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะฉะนั้นแล้วสิ่งที่ต้องเตรียมตัวก็คือ เตรียมตัวเรื่องภาษาอังกฤษเพราะหนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษแทบทั้งหมด
เตรียมคิดหัวข้อวิทยานิพนธ์ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะเวลาในการเรียนปริญญาโทนั้นสั้นกว่าที่คิด และหากไม่ได้คิดหัวข้อที่อยากจะทำไว้ก่อนจะทำให้การเรียนจบใช้เวลาและแรงกายมากกว่าเดิม
เตรียมตัวรับมือกับความท้อแท้ บ่อยครั้งที่ผู้เรียนต่อในระดับปริญญาโทต้องเผชิญหน้ากับความท้อแท้ แต่ก็อย่าได้กลัวไป เพราะความท้อแท้นี้แหละจะเป็นเชื้อไฟที่ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นได้ในอนาคต
เตรียมตัวเรื่องเวลา การเรียนต่อในระดับปริญญาโทขึ้นไป อาจารย์ในมหาวิทยาลัยจะถือว่าเราเป็นผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยจะไม่จ้ำจี้จ้ำไชเรา ทำให้เราต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น
เรียบเรียงข้อมูลโดย : กุสุมา ไชยพัฒน์

วันที่ 1 เมษายน 2563

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย