เยียนโปสเตอร์งานวิจัย อย่างไรให้ดูดี

researcherthailand

เยียนโปสเตอร์งานวิจัย อย่างไรให้ดูดี
มีนักศึกษาเข้ามาสอบถามเรื่อง การสร้างโปสเตอร์ผลงานวิจัย ด้วยความสงสัยว่าทำยังไงถึงจะสวย … คำถามยากมาก ที่ว่าสวยคืออย่างไร คงวัดใจกันลำบาก เอาเป็นว่าถ้าน้องพอใจว่าสวยแล้วมันก็คือสวยนั่นแหละ ส่วนคนอื่นจะเห็นว่าสวยรึเปล่านั้น คงตอบแทนกันไม่ได้
แต่ที่น่าห่วงกว่าความสวยหรือไม่สวย คือเนื้อหาและความถูกต้องของผลงาน ว่าน่าสนใจไหม เอาแบบที่ใครเห็นหัวข้อก็ต้องทึ่งไปเลยว่าคิดได้ไง ทำได้ไง แบบนี้น่าจะเด็ดดวงกว่า
ภาพจากงาน SciEx ปีก่อนๆ ของคณะวิทย์
เอาเข้าจริงส่วนหนึ่งของคนทำโปสเตอร์ก็อยากให้ออกมาสวย เนื้อหานั้นค่อนข้างมั่นใจว่าเต็มที่แล้ว (ไม่งั้นคงไม่ผ่านมาถึงตรงนี้ได้) ฉะนั้นเวลาสอนทำโปสเตอร์อยากจะแนะนำไม่ต้องสนใจทฤษฎีศิลปะใดๆ ทั้งสิ้น ชอบแบบไหนทำเลย อย่างน้อยมันก็สวยในแบบของเรา และต้องไม่ลืมความถูกต้องครบถ้วนขององค์ประกอบการนำเสนอผลงานวิจัยที่ดี ก็คือ ชื่อผลงานวิจัย ต้องเด่นชัดสะดุดตา ชื่อผู้วิจัยและต้นสังกัด เลือกให้แน่ว่าจะสังกัดสถาบันไหน บางคนมีเยอะไปหมดก็เลือกมาซักอัน หรือจำเป็นต้องใส่หมดก็ต้องใส่ให้หมด ห้ามทิ้ง บทคัดย่อ (Abstract) ช่วยคัดมาแบบข้นๆ เอาแบบอ่านแล้วเข้าใจเลยได้ยิ่งดี ไม่ต้องอารัมภบทเยอะ ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) สั้นๆ พอว่าใช้หลักเกณฑ์อะไร ผลการวิจัย (Result) อันนี้ก็ไม่ต้องเยิ่นเย้อเช่นกัน บอกเลยว่าเจออะไรบ้าง สรุปผล (Conclusion) สรุปจริงๆ เอาแบบจบสวยๆ
มีอยู่ไม่กี่อย่างที่จำเป็นต้องมีในโปสเตอร์ ต้องคัดเอาแต่เนื้อมาใส่ อย่าลืมว่าไม่มีใครอยากเสียเวลาอ่านหมด และส่วนใหญ่เราก็ยืนประจำอยู่กับโปสเตอร์อยู่แล้ว ใช้วิธีอธิบายเอาจะง่ายกว่า อีกอย่างหนึ่งคือโปสเตอร์ควรเป็นตัวชี้นำให้ผู้ที่สนใจเขามาอ่าน paper ของเรามากกว่า เพราะรายละเอียดงานวิจัยทั้งหมดอยู่ใน paper และที่สำคัญมากๆ คือ ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกอย่างลงไปในโปสเตอร์ … ได้โปรดเถอะ
ส่วนมากแล้วเท่าที่เห็นโปสเตอร์มักทำเป็นกรอบ แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ แล้วก็นำมาประกอบกัน มันก็สะดวกดี อ่านง่าย แถมยังจัดระเบียบออกมาดูดี แต่มันน่าเบื่อไปหน่อย ส่วนตัวแล้วคิดว่ามันจำเจเกินไปหน่อย แต่ครั้นจะจัดรูปแบบให้ฉูดฉาด ดึงความสนใจมากๆ ก็ออกจะไม่เป็นวิชาการสักเท่าไหร่ ประเดี๋ยวเขาจะคัดทิ้งเสียเปล่าๆ หรือบางทีก็ไม่ผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาตั้งแต่ต้นก็เป็นได้ ถึงอย่างนั้นก็ยังอยากเห็นโปสเตอร์งานวิจัยสวยๆ ที่ไม่เน้นตีกรอบแบบเดิมๆ อยู่ดี
สำหรับผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์อาจจะลำบากหน่อย เพราะต้องเน้นความเป็นวิชาการพอสมควร จะใส่ลูกเล่นมากมายก็คงยาก งานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ น่าจะเปิดโอกาสให้เติมสีสันได้มากกว่า แต่ก็สุดแท้แต่เจ้าของผลงานว่าจะใส่ลูกเล่นอะไรลงไป
เวลาเปิดแมกกาซีนสวยๆ อ่าน เห็นเขาจัดหน้าแล้วก็นึกอยากนำมาเป็นต้นแบบเวลาทำโปสเตอร์งานวิจัยเหมือนกัน แต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของเนื้อหา ที่บังคับให้อยู่ภายใต้โปสเตอร์ ๑ แผ่น ถ้าหากมองในมุมกลับมันก็เป็นโจทย์ที่น่าท้าทายเหมือนกัน
ภาพจากงาน SciEx ปีก่อนๆ ของคณะวิทย์ สังเกตโลโก้สองโปสเตอร์ใช้คนละแบบกัน
ถ้าเราสังกัดหลายหน่วยงาน จะต้องใส่ลงไปให้หมดไหม
อันนี้ก็คงต้องดูว่าเราไปนำเสนอในงานอะไร เกี่ยวข้องกับต้นสังกัดเราไหม แต่ถ้าใส่ได้ก็ควรใส่ เว้นเสียว่าอยู่หลายหน่วยงานเสียเหลือเกิน แต่ที่ควรใส่มากๆ ก็คือหน่วยงานที่เขาให้ทุนหรือเป็นสปอนเซอร์ให้เรานี่ เขาอุตส่าห์ออกทุนให้เราก็ควรโปรโมทเขาเสียหน่อย เผื่อเขามาเห็น จะได้ออกทุนให้เราอีกในคราวต่อไป
บรรดาโลโก้ทั้งหลาย กรุณาคัดเลือกอันที่ถูกต้องมาใช้
อย่างเช่นตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย ใช่แค่ว่าค้นหาใน google แล้วเอามาแปะ ช่วยดูดีๆ ว่าเขาเปลี่ยนแปลงอะไรรึเปล่า ไม่ใช่ไปเอาโลโก้สมัยโบราณมาใช้ เรื่องเล็กๆ แบบนี้ มันบ่งบอกถึงความตั้งใจและความละเอียดของเรา
ขนาดของโปสเตอร์ อย่าให้เพี้ยนจากที่เจ้าภาพกำหนด
ส่วนมากแล้วก็จะคงที่ขนาด A0 ถ้าเป็นงานภายในก็หยวนๆ ไปได้ ไม่มีใครว่า แต่ถ้าเป็นงานที่เป็นสากล เขาค่อนข้างเข้มงวด มีประสบการณ์จากน้องนักศึกษามาเล่าว่าไปนำเสนอผลงานที่ต่างประเทศ มีบางคนทำโปสเตอร์ผิดขนาดไป ทางนั้นเขาคัดออกเลย เพราะถ้าใหญ่ไปเขาก็ไม่มีบอร์ดให้ติด ถ้าเล็กไปก็ไม่เข้าพวก เขาถือว่าออกเป็นกฎมาแล้ว ถ้าไม่ทำตามก็ต้องคัดออก
ถ้าใครต้องหอบโปสเตอร์ไปโชว์เมืองนอก อย่าพับนะ ขอร้อง
อันนี้ก็เป็นประสบการณ์เช่นกัน บางคนเตรียมโปสเตอร์ไปจากที่บ้าน แต่ใช้วิธีพับไป พอไปกางออกที่นั่นมันก็เป็นรอยสิ บางทีก็ยับยู่ยี่เชียว ลงทุนซื้อกระบอกใส่เสียหน่อยเถอะ กระบอกละไม่กี่ร้อย ม้วนใส่ไปจะไม่เป็นรอยยับ มีนักศึกษา ป.เอก มาเล่าให้ฟังว่าไปได้รางวัลโปสเตอร์ประเภทสวยงามมาจากแคนาดา ที่ชนะคู่แข่งเพราะเธอได้เปรียบชาวบ้านตรงที่ม้วนใส่กระบอกไปติดที่นั่น โปสเตอร์เลยไม่เป็นรอยและดูสะอาดสะอ้านกว่าคนอื่น
ใช้โปรแกรมอะไรทำดี
จะใช้อะไรก็ตามใจเถิด โดยทั่วไปเท่าที่เห็นก็มักจะใช้ PowerPoint ทำโปสเตอร์ ก็เพราะใช้มันทำ Slide แล้วก็เลยทำโปสเตอร์ต่อซะเลย ลองค้นดูมีบางเว็บทำเป็น Template ให้โหลดกัน ซึ่งก็ใช้ PowerPoint ทำ ไม่ผิด เพราะก็เห็นโปสเตอร์งามๆ มากมาย ความจริงจะใช้อะไรทำก็ได้ แต่ถ้าใครพอมีฝีมือหน่อยก็ลองใช้ Photoshop หรือ Illus ทำก็ไม่เลว เพราะเราจะใส่ลูกเล่นได้มากกว่า สรุปว่าถ้ามีไอเดียล่ะก็ต่อให้ใช้ Word ทำมันก็ออกมาดีได้
เสร็จแล้วจะไปปริ้นท์ที่ไหน
ชาว MUSC ก็สามารถวิ่งไปปริ้นท์ได้ที่หน่วยศิลปกรรม แต่ถ้าจะไปปริ้นท์ที่อื่นก็มีแนะนำใกล้ๆ ก็ชั้นใต้ดินห้างเซ็นจูรี่ อีกที่ก็บริเวณแยกอุรุพงษ์ หรือไม่ก็ต้องไปแหล่งใหญ่คือที่พันธุ์ทิพย์กับมาบุญครอง สนนราคานั้นแตกต่างกันไป น่าจะอยู่ที่ราว ๖๐๐-๑๐๐๐ บาท ตามแต่วัสดุและความเนี้ยบของแต่ละร้าน
เดี๋ยวนี้เขานำเสนอแบบ e-Poster แล้วนะ
งานประชุมบางแห่งไม่ได้นำเสนอโปสเตอร์แบบกระดาษแล้ว อาจเพราะดูสิ้นเปลืองทั้งงบประมาณ การจัดแสดง พื้นที่ การจัดเก็บ ฯลฯ เขาเลยให้นำเสนอเป็นไฟล์ โดยกำหนดขนาดให้ แล้วผู้วิจัยก็นำเป็นไฟล์ไปเปิดที่งานประชุมซึ่งเขาจะมีจอมอนิเตอร์ให้ สะดวกดี อันนี้ก็ต้องเช็คให้ดีว่าเขาจะให้นำเสนอรูปแบบไหน
ขอให้ทุกท่านทำโปสเตอร์ออกมาได้สวยสมใจ ส่วนใครจะไปประกวดที่ไหนล่ะก็ ขอให้ประสบความสำเร็จกันถ้วนหน้า

ทั้งสามแบบนี้เป็นงานทดลองนะครับ อย่าไปสนใจเนื้อหา ผมใส่ลงไปให้พอเห็นภาพ (เป็นเนื้อหาทีก็อปมาจากเว็บข่าวของต่างประเทศ) ผมทดลองทำให้เห็นเป็นโปสเตอร์ที่มีการจัดวางองค์ประกอบใหม่ๆ บ้าง แต่ยังคงความเรียบร้อย ให้ดูเป็นวิชาการ ไม่ฉูดฉาดจนดูไม่รู้เรื่อง ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ก็ลองนำไปใช้เป็นแบบได้ หรือจะแลกเปลี่ยนทัศนะกันก็ยินดีครับ

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย