เปิดประตูการศึกษา เรียนรู้-สู้วิกฤติ (โควิด-19)

เปิดประตูการศึกษา เรียนรู้-สู้วิกฤติ (โควิด-19)
ความเปลี่ยนแปลง สู่โลกอนาคต

จากวิกฤติ โควิด-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการศึกษา ทว่าเราจะตั้งรับได้อย่างไร แนวโน้มของการศึกษาไทยในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง กับความท้าทายของโลก (การศึกษา) ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จากผลกระทบจาการระบาดครั้งใหญ่นี้ และส่งผลกระทบการศึกษาในระยะยาวอย่างไร เรารวบรวมประเด็นที่น่าสนใจจากหลาย ๆ แหล่งไว้ในบทความนี้

ครู-นักเรียน ปรับตัวสู่โหมด “ออนไลน์”
ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในอาจารย์มหาวิทยาลัยกลุ่มแรก ๆ ที่เปลี่ยนมาใช้วิธีการสอนนักศึกษาออนไลน์ตั้งแต่ก่อนที่รัฐบาลจะออกประกาศปิดสถานศึกษา อ.อรรถพล กล่าวว่า ไม่ใช่ทุกวิชาหรือทุกคณะจะเปลี่ยนมาสอนออนไลน์ได้ทั้งหมด เพราะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และประสิทธิภาพของการสอนที่สำคัญที่สุดคือห้องเรียนออนไลน์ยังทดแทน “ห้องเรียนออฟไลน์” หรือห้องเรียนจริง ๆ ไม่ได้ คือ “ปฏิสัมพันธ์”

วิกฤติ คือ โอกาส
การเรียนออนไลน์นั้น มีข้อจำกัดเรื่องความพร้อมส่วนบุคคลมากมาย โดยเฉพาะในโรงเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดที่คุณครูก็ยังไม่มีความคุ้นชินกับโปรแกรมต่าง ๆ นักเรียนก็ไม่มีอุปกรณ์ รวมถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ไม่ดีนัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนอย่างจริงจังว่าจะสนับสนุนคุณครูนับแสนคนอย่างไร ต้องประเมินความพร้อมอย่างรอบด้าน เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา ก็คือการพัฒนาผู้เรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การถกเถียง การมีปฏิสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าการเรียนออนไลน์จะมีข้อจำกัดและอุปสรรคบ้าง แต่ อ.อรรถพลบอกว่า “วิกฤติในครั้งนี้ทำให้สถาบันการศึกษา ทั้งผู้เรียนผู้สอนได้ปรับตัวให้ชินกับการเรียนออนไลน์ หลายวิชาเริ่มเห็นทิศทางความเป็นไปได้ในการเรียนออนไลน์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มหาวิทยาลัยพยายามสนับสนุนมาโดยตลอด และนี่อาจเป็นโอกาสในการต่อยอดการศึกษาในอนาคต”

(ข้อมูลอ้างอิงจาก BBC Thai : เมื่อการเรียนการสอนต้องดำเนินต่อไป https://www.bbc.com/thai/thailand-51975231)

คาดการณ์ การศึกษาในอนาคต

  1. การเรียนออนไลน์ผ่านเทคโนโลยีที่เป็นจริงได้ในวันนี้ ก็เพราะเทคโนโลยีที่ถึงพร้อมโดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีทำให้การศึกษา เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ที่ไม่เคยคาดคิด
  2. เกิดการร่วมมือกัน ระหว่าง ภาครัฐและเอกชน พัฒนาช่องทางการเรียนรู้แบบใหม่ สร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหาในช่วงเวลาวิกฤติแบบนี้ เช่น กระทรวงศึกษาธิการของจีนจัดตั้ง รวบรวมหน่วยงานหลายองค์กรมาร่วมกันทำแพลตฟอร์มการเรียนทั้งแบบออนไลน์และถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์ รวมทั้งพัฒนาระบบพื้นฐานที่เอื้อกับการเรียนรู้อื่น ๆ เสริมเข้าไปด้วย
  3. ความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศที่ไม่เท่าเทียม อาจกว้างขึ้น การเรียนออนไลน์เป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาอย่างเร็ว และทำได้จริงมากที่สุด แต่การทำเช่นนี้ได้ ประเทศนั้นต้องมีโครงการการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตที่ดีและราคาถูก ทุกคนเข้าถึงได้ แต่ต้องยอมรับว่าในประเทศที่ยังไม่พัฒนา และประเทศกำลังพัฒนา ที่ยังไม่ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตอบรับเทคโนโลยีเหล่านี้ การเข้ามาของการเรียนออนไลน์ ยิ่งทำให้เด็กยากจนและผู้ที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี ถูกละทิ้งและมองข้ามไป

ทั้งนี้การคาดการณ์ต่าง ๆ เพียงเพื่อให้อุดรอยรั่ว กับการเปลี่ยนแปลงการศึกษา การศึกษาจะคงอยู่ได้และมีประสิทธิภาพ ก็ขึ้นอยู่กับการปรับตัว ทักษะ รวมถึงการคิดค้นพัฒนาการเรียนรู้สิ่งใหม่ โควิด-19 อาจจะไม่โหดร้ายต่อการศึกษาเสมอไป แต่เป็นการเตือนให้ เราเกิดการตั้งรับ ตื่นตัว สร้างสรรค์นวัตกรรม เทคโนโลยี ยืดหยุ่นกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือโรคระบาดที่จะเกิดขึ้น ให้เกิดการสมดุล ในอนาคตสถานการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไปเราได้แต่คาดการณ์ แต่การเรียนรู้ผ่านออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราอีกต่อไป ไม่ว่าการศึกษาจะเป็นรูปแบบใด สิ่งที่เราทุกคน และทุกประเทศ หนีไม่พ้นเลยก็คือ “การเปลี่ยนแปลง” เราทุกคนต้องไม่หยุดที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ กล้าที่จะเริ่มต้น และยอมรับในการเปลี่ยนแปลง

( ขอบคุณข้อมูล The potential บทความโรงเรียนอาจไม่เหมือนเดิม https://thepotential.org/2020/03/27/coronavirus-pandemic-could-reshape-education/ )

การเปลี่ยนแปลง และความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุด
บทความจากสภาเศรษฐกิจโลก
ที่ผ่านมา นักการศึกษาทั่วโลกได้พูดถึงการสะท้อนวิกฤติครั้งนี้ ว่าจะเปลี่ยนแปลงเรื่องการศึกษาใหม่สำหรับเด็กในอนาคต เราควรสอนอะไร และเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับสถานการณ์แบบไหน จากสถานการณ์ โรคระบาด “โคโรน่าไวรัส (โควิด-19)” ที่เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ ทำให้นักเรียนต้องปรับไปเรียนที่บ้าน ระบบการศึกษาทั่วโลกต้องปรับตัวและคิดนวัตกรรม เปลี่ยนการศึกษาจาก “ออฟไลน์” มาเป็น “ออนไลน์” อย่างเต็มรูปแบบ เด็กได้เรียนรู้พลังแห่งความร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาความท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดของโลก สภาเศรษฐกิจโลกวิเคราะห์ว่า นี่เป็น 4 บทเรียนที่เราต้องเตรียมรุ่นต่อไป

  1. สอนให้รุ่นต่อไปอยู่ในโลกที่เชื่อมต่อกัน
    การระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด 19) เปลี่ยนแปลงโลก ทำให้เห็นภาพว่าโลกเราเชื่อมต่อกันขนาดไหน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า พฤติกรรม “โดดเดี่ยว” อีกต่อไปแล้ว คนที่ประสบความสำเร็จในทศวรรษต่อไป ต้องเป็นคนที่เข้าใจความสัมพันธ์กันของโลก และสามารถหาเส้นทางข้ามขีดจำกัด ใช้ความแตกต่างให้เป็นประโยชน์ และทำงานด้วยวิธีที่ใช้ความร่วมมือจากโลกที่เชื่อมต่อกัน
  2. คำจัดกัดความใหม่ของ “นักการศึกษา”
    ความคิดที่ว่า นักการศึกษาเป็นผู้กำความรู้ที่จะสร้างสติปัญญาของนักเรียน ไม่ใช่ความคิดที่ตรงกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 อีกต่อไป เมื่อนักเรียนสามารถเสาะหาความรู้ หรือทักษะได้ทางออนไลน์ หรือทางโทรศัพท์ เราต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของนักการศึกษาในห้องเรียนและห้องบรรยาย นี่อาจหมายถึงบทบาทของนักการศึกษาต้องเดินหน้าเขาสู่การเป็นแรงสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่พัฒนาตัวเองให้เป็นส่วนหนึ่งที่มีคุณค่าต่อสังคม
  3. สอนทักษะชีวิตที่จำเป็นในอนาคต
    ในสภาพแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่ต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นที่จะหาเส้นทางฝ่าฟันวิกฤติครั้งนี้ มองไปในอนาคต หนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดที่นายจ้างจะมองหา คือความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสื่อสาร และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ควบคู่ไปกับความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ คนที่จะสามารถทำงานร่วมกับคนที่แตกต่าง
  4. ปลดล็อกเทคโนโลยีที่จะช่วยส่งเสริมการศึกษา
    การระบาดของโควิด-19 เปลี่ยนแปลงโลก ส่งผลให้สถาบันการศึกษาทั่วโลกต้องปรับตัวใช้เครื่องมือเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และสร้างสรรค์คอนเทนต์เพื่อการเรียนทางไกลให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้น นักการศึกษาทั่วโลกกำลังเผชิญกับความเป็นไปได้ที่จะได้ทำอะไรที่แตกต่าง และแตกต่างด้วยความยืดหยุ่น ที่จะเกิดประโยชน์ในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กทั่วโลก (ขอบคุณข้อมูล บทความจากสภาเศรษฐกิจโลก

ที่มา www.springnews https://www.springnews.co.th/alive/edutainment-alive/639508)

การศึกษาในอนาคตควรเป็นอย่างไร
Private to Personalized
การเรียนแบบส่วนตัวหรือเรียนร่วมกับคนหมู่มากทำได้ แต่เป็นแค่การผลิต Follower ไม่ได้ผลิต Leader ดังนั้นควรเรียนแบบเฉพาะตัว

Extensive to Intensive
นักเรียนชั้นมัธยมปลายของประเทศไทยเรียนเยอะมาก ทำให้เสียโอกาส ไม่มีประเทศไหนเรียนมากเท่าประเทศไทย เราไม่ต้องรู้เยอะมาก แต่ต้องรู้ลึกในแต่ละเรื่อง และเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับชีวิต

Complex to Simple
คนเก่งที่สุดคือคนที่ทำเรื่องง่ายให้ง่ายขึ้น และทำเรื่องยากให้ง่าย

“ไม่ต้องมีครูก็ได้ ในยุค Disruption” นับว่าเป็นประโยคที่ท้าทายการศึกษาของไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยหมอธี ให้แง่คิดที่น่าสนใจว่า “โลกมันเปลี่ยนไปเร็วกว่าที่คิดเยอะ ให้ดูประวัติศาสตร์เมื่อร้อยปี ตอนที่เอดิสันเห็นทีวีครั้งแรก เขาบอกว่า อีก 10 ปี ข้างหน้าจะไม่มีโรงเรียน ทุกคนจะเรียนจากทีวีหมด แต่พระพุทธเจ้าสอนว่า อย่าเชื่อเพราะเข้าเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือคนเก่ง แต่ต้องลอง และเราจะเจอเรื่องที่ Surprise กันเรื่อยๆ” คำกล่าว ของ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในงานเสวนา Education for Future World : The Best Education Money Cannot Buy

เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อจท. อื่นๆ ได้ที่ >>> คลิก <<< เรียนรู้เพิ่มเติม บทความการศึกษา อื่นๆ ได้ที่ >>> คลิก <<<

(ขอบคุณข้อมูล www.trueplookpanya https://www.trueplookpanya.com/tcas/article/detail/78912)

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย