เทคนิคการเขียนวิทยานิพนธ์ตอนที่ 2: ระเบียบวิธีวิจัย Research Methodology Chapter in MSc Dissertation (UK)

บทที่ว่าด้วยระเบียบวิจัยนั้นมักจะสร้างความเบื่อหน่ายให้หลายๆ คนที่ไม่รู้ว่า

  1. จะเขียนอย่างไรไม่ให้เป็นการลอกเลียนแบบหรือ Plagiarism
  2. ควรจะต้องเขียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง
  3. ควรจะเขียนมากน้อยขนาดไหน
    จากประสบการณ์ของผมแล้วบท Methodology ควรมีลักษณะดังนี้ครับ
  4. เขียนเสมือนหนึ่งว่าเรากำลังเล่าให้ผู้อ่านฟังว่าเราทำวิจัย(วิทยานิพนธ์)นี้อย่างไร
    จุดประสงค์อย่างหนึ่งของบท Methodology ก็คือ ผู้อ่านสามารถทำวิจัยแบบที่เราทำซ้ำได้อีกครั้ง (Replication) ดังนั้นข้อมูลที่เราจะเขียนลงไปในบทนี้ควรจะมีรายละเอียดที่เพียงพอให้ผู้อ่านสามารถทำได้ดังกล่าว อย่างไรก็ตามเราอาจจะไม่ต้องเขียนไปทุกรายละเอียดแต่เล่าในเชิงขั้นตอนว่าทำอะไรอย่างไรบ้าง เช่น สัมภาษณ์โดยวิธีการใด ตัวต่อตัว หรือ ผ่านโทรศัพท์ หรือผ่าน Skype มีการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีไหน จำนวนตัวอย่างใช้วิธีใดคำนวณหรือเลือกและสุ่มโดยบังเอิญ หรือ โดยเฉพาะเจาะจงตามความสะดวกหรือการเข้าถึงข้อมูล หากการสัมภาษณ์ใช้แบบสอบถามก็ควรจะมีการแนบแบบสอบถามหรือรายชื่อหัวข้อที่ถามในกรณีที่เป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งเปิดกึ่งปิด โดยควรแนบไว้ที่ภาคผนวก (Appendices) มากกว่าแนบไปในตัวบท
  5. เขียนเสมือนหนึ่งว่าเรากำลังอธิบายว่าเราตัดสินใจเลือกและออกแบบกระบวนการต่างๆ ในการทำวิจัยอย่างไร
    ในข้อนี้เป็นการแสดงว่าระเบียบวิธีวิจัยของเรานั้นมีความถูกต้องและเหมาะสมตามหลัก มีแนวทางการเขียนดังนี้
    2.1 การเลือกระเบียบวิธีวิจัยให้เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับคำถามวิจัยที่ใช้ ไม่ใช่โดยเหตุผลอื่นๆ เช่น เราคำนวณเก่งหรือไม่เก่ง หรือแม้จะอ้างว่ายังไม่มีใครใช้วิธีนี้ในการวิจัยเรื่องนั้นๆ ซึ่งแม้บางทีจะพอรับได้แต่ก็ไม่ถูกต้องตลอดไป ตัวอย่างการเลือกวิธีการวิจัยที่เหมาะสมเช่น
    ก. คำถามวิจัยเริ่มต้นด้วยคำว่า ทำไม… จึงต้องการรายละเอียดที่จะอธิบายสาเหตุดังกล่าวประกอบกับยังไม่มีแนวทางจากงานวิจัยในอดีตมากนักจึงใช้การสัมภาษณ์แบบปลายเปิดแบบเชิงลึก หรือ
    ข. คำถามวิจัยเริ่มด้วยคำว่า อะไร… เท่าไหร่ ต้องการคำตอบในเชิงปริมาณครอบคลุมกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ จึงใช้การสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม
    2.2 การเลือกวิธีการวิจัยอาจจะอ้างอิงจากงานวิจัยในอดีตที่ใกล้เคียงกัน
    เช่นจำนวนตัวอย่างที่เหมาะสม หรือหัวข้อคำถาม หรือกรอบแนวคิดที่มากจากงานวิจัยในอดีต
    2.3 การเลือกวิธีการวิจัยอาจจะอ้างอิงจากการศึกษาขั้นต้น
    หากมีโอกาสและเวลาพอ การศึกษาขั้นต้นเช่นกรณีศึกษานำร่อง (Pilot study) อาจจะเป็นตัวกำหนด กรอบแนวคิด หรือ คำถามวิจัย หรือ ตัวแปรที่เหมาะสมก็ได้ หรือหากงานที่ศึกษาใช้แบบสอบถามที่มี Likert Scale การเลือกว่าจะใช้ Likert Scale ที่ 5, 7 หรือ 10 นั้นอาจจะมาจากการทดลองเก็บข้อมูลขั้นต้นก็ได้
    สำหรับ MSc Dissertation ที่มีความยาวไม่เกิน 15,000 คำ บท Methodology ปกติจะมีความยาวประมาณ 2,000-5,000 คำ แล้วแต่ความเหมาะสม
    สำหรับวิทยานิพนธ์ของผมนั้นใช้ Case Study และ Action Research ในการพัฒนาเครื่องมือตรวจสอบสุขภาพด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมบริการ ในขั้นแรกก็ได้อธิบายเหตุผลในการเลือกเครื่องมือวิจัยโดยอ้างอิงจากงานวิจัยด้าน การจัดการการปฏิบัติการ OM โลจิสติกส์ และ โซ่อุปทาน ต่อมาได้อธิบายขั้นตอนการทำวิจัยของวิทยานิพนธ์นี้ นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ในสหราชอาณาจักร จะต้องมีการพูดถึงจริยธรรมของงานวิจัยหรือ Research Ethic ด้วยว่าเราไม่ได้ไปละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ด้วย บางแห่งเช่น Cardiff University วิทยานิพนธ์จะต้องแนบ Research Ethic Form และเอกสารที่เกี่ยวข้องเช่น ใบยินยอมให้ข้อมูลด้านท้ายของวิทยานิพนธ์อีกด้วย
    สรุปแล้ว บทระเบียบวิธีวิจัยนั้น เป็นการอธิบายวิธีการวิจัยที่มาจากลักษณะของคำถามวิจัยและขั้นตอนการทำวิจัยโดยชี้ให้เห็นว่าแต่ละขั้นตอนมีเหตุผลรับรองที่ถูกต้องโดยอ้างอิงจากงานวิจัยที่ผ่านมาหรือการศึกษาขั้นต้น

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย