เทคนิคการเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์

researcherthailand

เทคนิคการเขียนบทความวิจัยให้ได้รับการตีพิมพ์

แนวทางและขั้นตอนที่สำคัญในการเขียนบทความวิจัยเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 หลังจากที่ได้ทำงานวิจัยและได้ผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถเริ่มต้นเขียนบทความวิจัยได้ ซึ่งในการเขียนบทความที่ดี มีสิ่งที่ควรคำนึงถึงดังนี้
• เป็นผลที่ได้มาจากงานวิจัยที่มีคุณภาพ มีความคิดริเริ่ม (originality) และมีความใหม่ (novelty)
• ส่งบทความวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ สกอ รับรอง และถ้าเป็น วารสารนานาชาติก็ควรพิจารณาถึงค่า Impact factor ด้วย2
• เลือกวารสารที่จะส่งตีพิมพ์ให้สอดคล้องกับเนื้อหาของบทความวิจัย
• ภาษาที่ใช้ในการเขียนควรเป็นภาษาทางการ
o ไม่ควรใช้ภาษาพูดและคำสรรพนาม
o ถ้าตีพิมพ์ลงในวารสารภาษาไทย ถ้าใช้คำทับศัพท์ก็จะต้องสอดคล้องกับศัพท์ราชบัณฑิต
• ศึกษารูปแบบการเขียนบทความจากวารสารที่ต้องการจะส่งไปตีพิมพ์ให้เข้าใจและชัดเจน เพราะวารสารต่างๆ จะมีข้อกำหนดและรูปแบบในการตีพิมพ์แตกต่างกัน เช่น รูปแบบ (format) ฟอนต์ การอ้างอิง และอื่นๆ
o เตรียมต้นฉบับให้ตรงตามข้อกำหนดของวารสาร
o เขียนเนื้อหาแต่ละส่วนให้ชัดเจน กระชับ หนักแน่น เข้มข้น และเรียงลำดับข้อมูลอย่างถูกต้องและสมเหตุผล
o เนื้อหาสัมพันธ์และไปในแนวทางเดียวกัน (consistent) และอ่านเข้าใจง่าย
o อ่านแล้วได้ความรู้ใหม่ ทฤษฎีใหม่ หรือความคิดใหม่
ขั้นตอนที่ 2 เขียนบทความวิจัยในแต่ละส่วน โดยเริ่มจากหัวข้อที่สามารถเขียนได้ง่ายก่อน (ตามความถนัดของผู้เขียน) โดยข้าพเจ้าจะเขียนรายละเอียดในหัวข้อต่างๆ เรียงตามลำดับดังนี้
1) ชื่อเรื่อง (title), ผู้เขียน (author) และหน่วยงานต้นสังกัด (affiliation)
o ตั้งชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับงานวิจัย และดึงดูดใจบรรณาธิการ (editor) และผู้อ่านพิจารณา (reviewer)
o หลีกเลี่ยงการตั้งชื่อเรื่องที่กำกวมและไม่น่าสนใจ (ชื่อเรื่องที่ดีควรบ่งบอกถึงประเด็นสำคัญของงานวิจัย)
2) บทนำ (introduction) ความเป็นมา วัตถุประสงค์ ขอบเขต บทความและทฤษฎีที่สัมพันธ์
o ทบทวนวรรณกรรมที่ได้มีการนำเสนอก่อนหน้านี้ให้ครบถ้วน (literature review) โดยพยายามอ้างถึงงานวิจัยใหม่ๆ ที่ตีพิมพ์ก่อนนี้ไม่นานที่คล้ายกับงานวิจัยของเรา
o เน้นอธิบายว่างานวิจัยของเราแก้ปัญหางานวิจัยเดิมอย่างไร แตกต่างหรือโดดเด่นจากงานวิจัยที่ทำมาก่อนหน้านี้อย่างไร
o เน้นให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากงานวิจัยของเรา
3) วัสดุอุปกรณ์ และวิธีดำเนินการ (methodologies)
o อธิบายขั้นตอนการดำเนินการให้ชัดเจนและกระชับ เพื่อให้ผู้อ่านที่เป็นผู้ชำนาญเช่นเดียวกับเรา สามารถทำการทดลองซ้ำแล้วได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับงานวิจัยของเรา
4) ผลและการวิเคราะห์ผล (results and analysis) ในรูปข้อความ ตาราง กราฟ หรือรูปภาพ
o เป็นหัวใจหลักของบทความที่เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าทำวิจัย/ศึกษาแล้วได้อะไร ค้นพบอะไร
o พยายามแสดงผลโดยใช้รูปไดอะแกรม ตาราง กราฟ หรืออื่นๆ ให้ชัดเจน สวยงามถูกต้อง และน่าเชื่อถือเพราะเป็นส่วนที่สาคัญที่ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจผลลัพธ์ได้ง่าย
o ควรจัดเรียงเนื้อหาให้เหมาะสม เรียงตามลำดับความสำคัญก่อนหลัง
5) การวิจารณ์ผล (discussion)
o อธิบายผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองให้ชัดเจน (ถ้าได้ผลลัพธ์ที่แปลกๆ ก็ต้องพยายามหาเหตุผลมาอธิบายให้ได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งคำถามของผู้อ่าน)
o ในวารสารบางฉบับ ส่วนผลและการวิเคราะห์ผลกับส่วนวิจารณ์ผลอาจรวมอยู่ในส่วนเดียวกัน (บางฉบับอาจแยกกัน)
 ผลและการวิเคราะห์ผล เป็นการนำเสนอข้อค้นพบ หรือผลการศึกษา หรือแปลผลการทดลอง/ศึกษาออกมาให้ผู้อ่านเข้าใจ
 การวิจารณ์ผล อาจทำโดยการเปรียบเทียบผลที่เราค้นพบกับการศึกษาก่อนหน้านี้ (ซึ่งต้องอาศัยการทบทวนวรรณกรรมจำนวนมากมาก่อน) วิจารณ์ประเด็นที่เราเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยกับนักวิจัยอื่นแล้วนำเสนอ/แนะนำข้อค้นพบและประโยชน์จากงานวิจัยของเรา
6) สรุป (conclusion) และข้อเสนอแนะ
o เริ่มต้นควรกล่าวถึงสาเหตุของการทำงานวิจัยนี้ว่าทำขึ้นเพื่อศึกษาหรือแก้ปัญหาอะไร จากนั้นก็อธิบายผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลอง แล้วก็ปิดท้ายด้วยการให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้
7) คำขอบคุณ (acknowledgement) (ถ้ามี)
o เขียนคำขอบคุณให้กับบุคคลต่างๆ ที่ช่วยให้คำปรึกษาหรือเครื่องมือ รวมทั้งขอบคุณแหล่งทุนที่สนับสนุนการทำวิจัยของเรา
8) เอกสารอ้างอิง (references)
o ควรเคร่งครัดกับรูปแบบของการเขียนเอกสารอ้างอิงของวารสารแต่ละฉบับ
o พยายามใช้เอกสารอ้างอิงที่ใหม่ๆ เพื่อแสดงให้ผู้อ่านพิจารณา (reviewer) เห็นว่างานวิจัยของเราไม่ล้าสมัย
9) บทคัดย่อ (abstract) หรือสาระสังเขป (summary)
o เป็นส่วนที่สำคัญและเขียนยากที่สุด จึงควรเขียนเป็นลำดับสุดท้าย
o บทคัดย่อที่ดีจะต้องกระชับ เข้าใจง่าย และสื่อถึงประโยชน์ของงานวิจัยนี้
o วารสารส่วนใหญ่จะจำกัดจำนวนคำในบทคัดย่อ เช่น ไม่เกิน 300 คำ ดังนั้นจะต้องเขียนไม่เกินที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
o สาระสำคัญในบทคัดย่อ ควรประกอบด้วย ปัญหาหรือวัตถุประสงค์ของการทำวิจัย ทฤษฎีหรือวิธีการทดลอง/ศึกษาที่ใช้ในการศึกษา สรุปผลการทดลอง และข้อสรุปที่สำคัญ

ข้อสังเกตในการตีพิมพ์เผยแพร่
การตีพิมพ์เผยแพร่มี 2 รูปแบบ ซึ่งมีจุดประสงค์และระดับความยากและง่ายแตกต่างกัน ดังนี้
1) การเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ (conference) จะเป็นการนำผลงานวิจัยที่เพิ่งทำเสร็จมาเขียนเป็นบทความแล้วส่งให้ที่ประชุมวิชาการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (reviewer) เพื่อประเมินคุณค่าและความถูกต้อง เมื่ออนุมัติผ่าน บทความก็จะได้รับการตีพิมพ์รวมเล่มในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (proceedings) โดยในการประชุมผู้วิจัยจะต้องมานำเสนอบทความของตนเอง โดยการนำเสนออาจจะอยู่ในรูปโปสเตอร์ (poster) หรือแบบปากเปล่า (oral)
o ข้อดีคือผลงานวิจัยจะได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีเวทีลักษณะนี้จำนวนมาก โอกาสในการนำเสนอจึงมีมาก นอกจากนี้ที่ประชุมวิชาการยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบรรดานักวิจัยท่านอื่นจึงมีประโยชน์มากสำหรับการส่งบทความที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ออกไปทดสอบ เพื่อนำผลตอบรับกลับมาปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการตีพิมพ์ลงในวารสารต่อไป นอกจากนี้ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือ การสร้าง
ชื่อเสียงให้นักวิจัยอื่นรู้จักและสร้างเครือข่ายกับนักวิจัยในสาขาเดียวกัน
o ข้อควรระวัง เนื่องจากการจัดประชุมวิชาการในปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงส่งผลให้คุณภาพในภาพรวมลดลง นอกจากนี้งานประชุมวิชาการบางแห่งจัดขึ้นเพื่อหวังเพียงผลกำไรหรือเพื่อให้บรรดาผู้จัดงานและครอบครัวได้ไปเที่ยวฟรี รวมทั้งหลายมหาวิทยาลัยเริ่มมีการจัดประชุมวิชาการเป็นของตนเองจึงอาจทำให้ขาดคุณภาพและขาดความเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้อย่างจริงจัง ดังนั้นผู้เขียนบทความวิจัยจึงควรเลือกที่ประชุมวิชาการที่มีความเกี่ยวข้องหรือความเชี่ยวชาญตรงกับงานของนักวิจัยให้มากที่สุด
2) การเผยแพร่งานวารสารวิชาการ3 (journal) ถือเป็นทางการและได้รับการยอมรับมากที่สุดในวงการวิชาการโดยขั้นตอนการส่งผลงานตีพิมพ์จะเริ่มจากการส่งต้นฉบับของบทความพร้อมทั้งจดหมายนำ (cover letter) ถึงบรรณาธิการ เพื่อเกริ่นนำการค้นพบหรือความสำคัญของงาน ปัจจุบันวารสารหลายฉบับมีเว็บไซต์เป็นของตนเอง โดยผู้เขียนสามารถลงทะเบียนเข้าเป็นผู้ใช้งานและทำการส่งเอกสารต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์และติดตามผลทางออนไลน์ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องส่งทางไปรษณีย์เหมือนในอดีต สำหรับผลของการพิจารณาจะเป็นไปได้ 3 กรณี ดังนี้
2.1) การปฏิเสธ (reject) นักวิจัยอาจนำข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้ทรงคุณวุฒิมาใช้ปรับปรุงบทความวิจัยของเรา เพื่อให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ก่อนส่งไปตีพิมพ์ที่วารสารอื่น
2.2) การส่งกลับมาแก้ไข (revise)  จะมีการกำหนดระยะเวลาให้ส่งกลับคืนด้วย โดยอาจแนะนำให้ทำการทดลองเพิ่ม ให้แก้ไขต้นฉบับและ/หรือให้ตอบคำถามต่างๆ (การแก้ไขอาจต้องทำ 2 – 3 รอบ ซึ่งเมื่อแก้ไขแล้ว ก็มีโอกาสที่จะได้รับการตีพิมพ์สูง)
2.3) การตอบรับให้ตีพิมพ์ (accept)  ทางวารสารจะจัดทำต้นฉบับที่เหมือนจริงในวารสารส่งให้นักวิจัยตรวจทานอีกครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาด นักวิจัยต้องรีบดำเนินการตรวจแก้ไขและส่งกลับคืนตามระยะเวลาที่กำหนด

1 บทความวิจัย (research article) เป็นบทความเสนอผลงานวิจัยหรือผลงานที่ได้จากการศึกษาวิจัยในด้านทฤษฎีหรือจากการ
ทดลอง และเป็นข้อมูลที่ผู้อ่านที่มีความชำนาญด้านเดียวกับผู้เขียนสามารถศึกษาและทำการทดลอง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เดียวกัน
(ไพโรจน์ ตีรณธนากุล, 2545: 142)
2 ฐานข้อมูลวารสารวิจัยที่นิยมเช่น ดัชนีอ้างอิง Thailand Citation Index (TCI), ดัชนีอ้างอิง SCImago ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล Scopus
ของบริษัท Elsevier, และดัชนีอ้างอิง ISI ซึ่งเป็นของบริษัท Thomson Reuters
3 ในปัจจุบันวารสารวิชาการมีจำนวนมากซึ่งมีคุณภาพและมาตรฐานแตกต่างกันไป (มีตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงยากมาก และใช้เวลาใน
การพิจารณาหลายเดือนถึงเป็นปี)__

You might also enjoy

การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา
การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา

การพัฒนากรอบแนวคิด (Conceptual Framework) ในการวิจัยเพื่อการศึกษาเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานของงานวิจัย กรอบแนวคิดเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นภาพรวมของปัญหาที่ต้องการศึกษา และแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในการศึกษาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ กรอบแนวคิดยังช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีระบบมากขึ้น

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ?

การทำเล่มวิจัยจบไม่ใช่แค่การผ่านวิชา แต่เป็นการฝึกฝนทักษะที่สำคัญหลายด้านที่ช่วยให้เราเติบโตและพัฒนาไปสู่การเป็นนักคิด นักวิเคราะห์ และผู้เชี่ยวชาญในอนาคต! ✨ 1. ฝึกการคิดเชิงวิพากษ์ 🧠 การวิจัยช่วยฝึกให้เราแยกแยะข้อเท็จจริงจากความคิดเห็น และตั้งคำถามกับสิ่งที่เรารับรู้

ปีใหม่กับฉันคนใหม่ ด้วย 7 แรงบันดาลใจง่าย ๆ
ปีใหม่กับฉันคนใหม่ ด้วย 7 แรงบันดาลใจง่าย ๆ

ปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่ดีในการเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาตัวเอง มาลองทำตามแรงบันดาลใจง่าย ๆ เหล่านี้เพื่อเริ่มปีใหม่นี้ด้วยพลังบวกกันเถอะค่ะ 🎉 ปีนี้พร้อมเริ่มต้นการเป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดียิ่งขึ้นกันแล้วใช่ไหมคะ? 💖 #ปีใหม่2025

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย