สกัดลอกวิทยานิพนธ์! จุฬาฯขยายเวลาใช้“อักขราวิสุทธิ์(พลัส)”ฟรีอีก 5 ปี

researcherthailand

จุฬาฯขยายเวลาความร่วมมือกับ 87 หน่วยงาน ให้ใช้โปรแกรม “อักขราวิสุทธิ์ (พลัส)”ฟรีอีก 5 ปี สกัดการคัดลอกวิทยานิพนธ์ที่เป็นปัญหาคุกคามอยู่ในแวดวงวิชาการ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จำนวน 87 แห่ง ในการขยายเวลาข้อตกลงความร่วมมือการตรวจสอบการลอกเลียนแบบวรรณกรรม ให้ใช้โปรแกรม “อักขราวิสุทธิ์ (พลัส)” โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ออกไปอีกเป็นเวลา 5 ปี จนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2570

โดย นายวันนี นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายทางวิชาการที่ใช้งานโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ในการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมแล้ว

ยังเป็นการแสดงจุดยืน เจตนารมณ์ และความมุ่งมั่นของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจต่อการแก้ไขปัญหาการลอกเลียนวรรณกรรม ที่กำลังเป็นปัญหาคุกคามอยู่ในแวดวงวิชาการในปัจจุบัน และยังเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการปลูกฝังความซื่อสัตย์ ซึ่งเป็นคุณธรรมสำคัญของนิสิตนักศึกษา นักวิชาการ ทั้งในแวดวงการศึกษาและวงวิชาการต่าง ๆ

รวมถึงการร่วมมือกันส่งเสริมและผลักดันเพื่อสร้างและขยายฐานข้อมูลอ้างอิง เพื่อการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมของประเทศไทยให้มีความแข็งแกร่งและเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากทุกสถาบันการศึกษา และหน่วยงานด้านการศึกษาและวิชาการ

สำหรับ “โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์” เป็นเครื่องมือที่ รศ.ดร.อมร เพชรสม อดีตคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นมา เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมทางวิชาการของบุคคลอื่น ตั้งแต่ปี 2556 และในปี 2557 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ใช้งานโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพียงทำความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวอีกว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาปรับปรุงระบบโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้ต่อยอดไปสู่ความเป็น “อักขราวิสุทธิ์ (พลัส)” โดยขยายฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น ฐานข้อมูลงานวิจัยกับศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre) หรือ TCI รวมไปถึงฐานข้อมูลสำคัญอื่น ๆ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงในการตรวจสอบการลอกเลียนวรรณกรรมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

รศ.ดร.ยุทธนา กล่าวเพิ่มเติมว่า ลงนามความร่วมมือในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงสัญลักษณ์ของการตระหนักรู้ในเรื่องจริยธรรมทางงานวิชาการซึ่งไม่ได้อยู่ในระดับอุดมศึกษาเท่านั้น เนื่องจากยังมีปัญหาทับซ้อนอยู่ในการลอกเลียนงานวรรณกรรมในทุกระดับของการศึกษาและวิชาชีพ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้ขยายระยะเวลาการใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ต่อไปอีก 5 ปีและไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการใช้งาน เพื่อให้เกิดคลังข้อมูลขนาดใหญ่ด้านวิชาการของประเทศไทย

“จุฬาฯ ได้พันธมิตรสำคัญมากมายในการสร้างความร่วมมือใช้โปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ (พลัส) การได้ฐานข้อมูลสำคัญของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index Centre หรือ TCI) จะทำให้เกิดความแม่นยำสูงในการตรวจจับการทำซ้ำ ลอกเลียนวรรณกรรมได้ดียิ่งขึ้น หวังว่าโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ (พลัส) จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการให้บริการกลางในการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลด้านวิชาการะหว่างกระทรวงต่างๆ ให้เกิดเป็น Academic Public Service เพื่อให้บริการทั้งประเทศไทยในอนาคต” รศ.ดร.ยุทธนา
กล่าวทิ้งท้าย

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย