รับทำผลงานวิชาการเป็นอาชีพ

researcherthailand

รับทำผลงานวิชาการเป็นอาชีพ
จ้างทำผลงาน

    รายงานชิ้นนี้ ตีพิมพ์ใน  จุดประกาย Life ฉบับวันอังคารที่ 28 เมษายน 2552 ในลักษณะการนำเสนอ "อาชีพต่างๆ" ในสังคม  โดยไม่ตัดสินเรื่องถูกผิด ผู้อ่านควรพิจารณา ประเด็นด้านศีลธรรมด้วยตัวของท่านเอง

 ไม่ใช่ "อาชีพ" ที่ผู้ทำยินดีจะเปิดเผยตัวเองอย่างเต็มภาคภูมิ แต่เป็นอาชีพที่สะท้อนถึงความเป็นจริงอันน่าเศร้าของสังคมไทย
 ที่สำคัญ อาชีพนี้สามารถสร้างเม็ดเงินเป็นค่าตอบแทนได้จำนวนไม่น้อย หากมีความถนัดด้านการทำวิจัยอยู่บ้าง ก็ใช้เวลาไม่นานนัก อีกทั้งตลาดยังเปิดกว้าง มี "ดีมานด์" หรือ "ความต้องการ" เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นเรื่องที่ท้าทายการจัดการแก้ไขขององค์กรที่รับผิดชอบโดยตรง อย่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ) ไม่น้อย


 เนาวรัตน์ (นามแฝง) หนุ่มวุฒิปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยข้อเท็จจริงให้ "จุดประกาย-Life" ว่า หลังรับจ้างทำงานวิทยานิพนธ์ เป็น "ไซด์ไลน์ จ๊อบ" มานานหลายปี และผ่านการเขียนวิทยานิพนธ์มากว่า 50 เล่ม ปัจจุบัน ทิศทางของตลาดว่าจ้างทำงานวิชาการเปลี่ยนไป โดยการว่าจ้างทำวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะของครู กลายเป็นตลาดใหม่ที่กำลังมาแรง
 เนาวรัตน์ อธิบายว่าที่มาที่ไปของ "งานรับจ้าง" แบบนี้ มาจากระบบการประเมินครูเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ โดยใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Index - KPI) เป็นหลักเกณฑ์ ซึ่งส่วนใหญ่ลูกค้าที่ว่าจ้างให้ทำกัน มักเป็นระดับเลื่อนขึ้นเป็น "อ. 3" และ "คศ.3" (หรือระดับซี 7 ขึ้นเป็น ซี 8)
 "ครูทุกคนจะต้องเสนอผลงาน แล้วในผลงานทั้งหลายทั้งปวงที่ทำ ต้องมีส่วนของงานวิชาการที่ประกอบด้วย 5 บท โครงสร้างคล้ายๆ กับวิทยานิพนธ์ (Thesis) นั่นแหละ คือต้องมี บทนำ , เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง, วิธีการดำเนินงาน, ผลการทดลอง, สรุปผลและข้อเสนอแนะ"
 เจ้าตัวเผยให้ฟังว่า เนื่องจากเคยรับจ้างทำวิทยานิพนธ์อยู่ก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อมี "งานเข้า" จึงลองรับมาทำด้วย แต่โดยส่วนตัวถือว่า "ยากกว่า" เพราะยังไม่คุ้นเคยเท่าใดนัก
 แต่ประเด็นที่เจ้าตัวต้องการเล่าให้ฟังคือ วิธีการนี้สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับเรื่องอื่น แทนที่จะเป็นเรื่อง "การทำการสอน" ซึ่งน่าจะเป็น "เรื่องหลัก" หรือ Priority ของครูมากกว่า โดยช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ที่เด็กใกล้สอบ ครูแทนที่จะสอน กลับมาใช้เวลากับเรื่องนี้เป็นหลัก
 "สำหรับครู การเลื่อนตำแหน่งได้ ต้องทำผลงานความเป็นครู คือมีกิจกรรมกับเด็ก และจะต้องทำงานอะไรบ้าง ต้องมีประวัติการทำงาน การเข้าอบรม โดยที่การสอนไม่นับ หากคุณเป็นครูที่ทำการสอนอย่างเดียว ก็จะได้เพียงขั้นปกติ เงื่อนไขแบบนี้เท่ากับเป็นการผลักดันให้ครูออกไปข้างนอกมากขึ้น เช่น ไปรับงานวิจัย ทำกิจกรรมกับหน่วยงานภายนอก แสดงให้เห็นว่า สมัยนี้เราไม่ได้เน้นความเป็นครูว่าจะต้องสอนเด็กอย่างไร แต่จะเน้นไปที่งานเอกสาร ทำชีวิตให้มีเอกสาร แล้วคุณก็พร้อมที่จะเลื่อนขั้น"
 "นอกจากนี้ ใน KPI ยังมีข้อหนึ่งระบุว่า ห้ามสอนให้เด็กสอบตก ถามว่าแล้วในกรณีนี้ คุณจะให้เด็กตกหรือไม่ การให้เกรดมันง่ายนิดเดียว ใช้ปากกาเขียนเกรดลงไปเท่านั้น ดังนั้น หากมีเด็กตก เขาจะตั้งคำถามว่าคุณสอนอย่างไรให้เด็กสอบตก แต่อย่างที่รู้กันสมัยนี้ เราสอนแทบตาย เด็กยังไม่คิดจะรับเลย เขาไม่สนใจหรอกว่าคุณสอนอย่างไร แต่คุณสอนให้ผ่านเป็นใช้ได้"
 เนื่องจากงานวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการขอเลื่อนขั้นวิทยฐานะ แต่เอาเข้าจริงๆ งานส่วนนี้ ครูโดยทั่วไปไม่ถนัด เช่น ถ้าครูจบปริญญาตรี ก็อาจทำวิทยานิพนธ์ไม่เป็น เพราะไม่ผ่านกระบวนการเรียนในหลักสูตร ดังนั้น จึงมีการว่าจ้างให้ทำวิจัยเกิดขึ้น ซึ่งตลาดที่ว่านี้หมายถึงครูทั่วประเทศที่มีปริมาณเป็นหมื่นคน
 "ในกรณีที่คุณมีกิจกรรมเด่น สอนพลศึกษา ทำให้เด็กนักกีฬาตะกร้อติดทีมชาติไปแข่งขันต่างประเทศ งาน 5 บทนี้ อาจจะไม่เน้น ก็จ้างทำเล่มละ 2 พันก็พอ แต่ถ้าไม่มี คุณก็ต้องเข้มข้นงานตรงนี้หน่อย"
 โดยส่วนตัวของเนาวรัตน์ ปีนี้เขารับทำวิจัยให้ครู 7 ราย จากเดิมที่มีการติดต่อเข้ามาเพื่อให้ทำวิทยานิพนธ์ ผลปรากฏว่าตอนนี้มีติดต่อมาเพื่อทำงานนี้มากกว่า
 "ตอนนี้ระดับค่าจ้างของผม สำหรับวิทยานิพนธ์อยู่ในขั้นแพงกว่าคนอื่นๆ คือตกเล่มละ 2 หมื่นอัพ ขณะที่ตลาดรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ มีคนแห่ทำกันมาก และยอมตัดราคาลงไปต่ำกว่านี้ ราคาถูกจนผมทำไม่ไหว เลยหันมารองรับงานวิจัยเลื่อนขั้นครูดูบ้าง แต่เชื่อว่าปัจจุบันมีคนรับจ้างทำเยอะมาก เพราะสังเกตตั้งแต่ปีที่แล้ว จากการปฏิเสธครูไปหลายราย ปรากฏว่าไม่มีใครกลับมาง้อ แปลว่าเขาสามารถหาคนรับจ้างรายใหม่ๆ ได้ไม่ยาก"
 "ราคาค่าจ้างทำวิทยานิพนธ์ เล่มละ 2 - 5 หมื่น แต่ผลงานวิชาการครู เล่มตั้งแต่ 2 พัน ถึง 2 แสนบาท จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก"
 พร้อมอธิบายว่า ระดับราคา 2 พัน หมายถึงเจ้าหน้าที่ธุรการในโรงเรียน พวกลูกจ้างชั่วคราวที่จบปริญญาโท  เมื่อนายสั่งให้ทำก็ต้องทำ แต่ค่าจ้างโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 2 - 5 หมื่นบาท ส่วนผู้มีอำนาจในการให้ผ่าน (กรรมการ) ว่ากันว่า คิดราคาถึง 2 แสนบาทเลยทีเดียว
 "ก่อนที่ สพฐ.จะกำหนดให้ทำนั้น จะมีการอบรมครู มีเอกสารให้ แล้วคนที่ทำหน้าที่อบรม อาจจะพูดนัยว่า ถ้ามีอะไรให้โทร.มานะ" เนาวรัตน์ บอก
 เจ้าตัวกล่าวพร้อมเสริมข้อมูลให้รู้ว่า ความแตกต่างจากการทำวิทยานิพนธ์อยู่ตรงงานวิจัยเพื่อเลื่อนขั้นครู จะเน้นไปที่การประมวลผลทางสถิติ เก็บข้อมูล การออกแบบเครื่องมือ คิดสร้างนวัตกรรม และยังต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูล โดยวิธีการทำงาน จะออกแบบให้ครูนำกลับไปเก็บข้อมูล จากนั้นจะมีการส่งเอกสารไปและมา
 "ขณะที่วิทยานิพนธ์จะเน้นเชิงคุณภาพ รวมไปถึงคุณภาพในการเขียน แต่ในส่วนนี้ เมื่อตรวจออกมา ข้อหนึ่ง-เขาบอกว่าปีของการรีวิวเอกสารเก่าเกินไป ทั้งที่เราไม่เห็นว่า theory บางอย่างมันจะเชย เพราะ theory เป็นเรื่องของ logic" เนาวรัตน์ตั้งข้อสังเกต
 แม้จะมีข้อเสียอยู่บ้าง แต่ข้อดีของการทำวิจัยเลื่อนวิทยฐานะ คือการทำให้ครูต้องปรับปรุงตัวเองให้มีความก้าวหน้า
 "ทำให้ครูไม่ตาย ไม่ใช่ว่าใช้ sheet ชุดเดียวแล้วสอนตลอดชาติ แต่สิ่งที่น่าเสียดาย อยู่ตรงการประเมินวิทยฐานะไม่ได้สนใจผลที่สะท้อนกลับไปยังตัวเด็ก แต่กลับมาเน้นสถิติที่ใช้วัด คุณใช้สถิติได้ดีแค่ไหน เขียนประเมินผลอย่างไร รวมถึงสื่อการสอน มีการคิดสร้างสื่อไปใช้กับเด็ก ห้องนี้เรียน ห้องนี้ไม่เรียน แล้วใช้สถิติทดสอบความแตกต่าง"
 เนาวรัตน์ยอมรับตามความเป็นจริงว่า ลูกค้าที่เป็นครูนั้นมีความน่าเบื่อมากกว่านักศึกษาปริญญาโท เพราะลักษณะของครู มักมีนิสัยเผด็จการ มีความดื้อและพูดคุยไม่รู้เรื่อง ...
"คือถ้านักศึกษามาให้เราทำ เขาจะรู้ตัวเลยว่า เขาไม่รู้เรื่อง ต้องเจียมตัว ปัญหาที่เราเห็นคือไม่รู้ว่าจบปริญญาตรีมาได้อย่างไร และบางทีเราไม่เก่งพอที่จะไปสอนเขาได้ โดยเฉพาะวิชาที่ไม่ใช่เอกของเรา ยกตัวอย่างเช่น เราพูดถึงดีมานด์-ซัพพลาย เขาถึงขนาดไม่รู้ว่า แกนเอ็กซ์ คือ P (price) แกนวายคือ Q (Quantity) ต้องให้เรานั่งสอนขนาดนั้นเลย กว่า thesis จะเสร็จเล่มนึง กลับไปเรียนใหม่ดีกว่ามั้ย ขนาด Over-Supply ยังต้องนั่งอธิบาย"
 แต่เหตุผลที่เขารับจ้างทำงานวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ เพราะเห็นว่าเป็นงานที่สนุกและท้าทาย
 "ผมจะตั้งเป็น template รอไว้เลย สัก 5 เล่ม พอเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ พวกที่ไม่มีปัญญาทำ จะวิ่งมาหาแล้ว เราทำเป็นบล็อกไว้ แล้วค่อยเปลี่ยนเรื่องใบความรู้ หรือเครื่องมือ สื่อการสอน ระยะเวลาทำจริงๆ แค่ 1 เดือน แต่ถ้านับวันที่เรานั่งทำงานบนโต๊ะ ไม่ถึงเดือนหรอก ด้วยความเร็วของผม บท 1-2-3 ผมใช้เวลาจริงๆ แค่ 2 คืน จริงๆ เร็วได้กว่านั้น แต่เราไม่ได้นั่งเทียนในเรื่อง data ไม่งั้น คงเสร็จเร็วกว่านี้"
 ในตอนท้ายของการให้ข้อมูล เจ้าตัวยอมรับว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาระบบการศึกษาที่เลวร้าย แต่ถึงเขาไม่ทำ โดยระบบก็เอื้อให้มีคนรับจ้างทำงานนี้อยู่ดี โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นครูอายุตั้งแต่  40 ขึ้นไป จนถึงเกือบ 60 ปี
 "การจ่ายค่าจ้างถือว่าคุ้มค่า เพราะเมื่อเลื่อนขั้นได้แล้ว ครูจะได้ค่าตอบแทนเพิ่มอีกเดือนละ 7 พันบาท จึงเป็นเป้าหมายของบรรดาครูใกล้เกษียณทั้งหลาย ! "

อาชีพ : รับจ้างทำผลงานวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ
องค์ความรู้ : มีทักษะและความรู้พื้นฐานในการทำวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย : ครูระดับ อ. 2 ที่ต้องการปรับขึ้นเป็น อ.3
ระดับราคา : โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2 หมื่น – 5 หมื่นบาท ต่อเล่ม
สถานที่ติดต่อ : ไม่สามารถเปิดเผยได้

   จากเหตุการณ์ ที่เล่ามาทั้งหมดนี้  จะโทษใคร  วงการศึกษาไทยจึงเป็นแบบนี้  ใครตอบได้  ช่วยตอบครู ท. หน่อยจักเป็นพระคุณอย่างสูงยิ่ง

เขียนใน GotoKnow
โดย ท.ณเมืองกาฬ
ใน วิชาการ

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย