ปัญหาวิจัย (research problem)

Screenshot 2563-04-16 at 11.50.15.png

ปัญหาวิจัย (research problem)  ข้อความ หรือคำถามที่นักวิจัย กำหนดเพื่อศึกษาหาวิธีแก้ไข
คำถามวิจัย (research question) คำ ถามที่นักวิจัยกำหนดขึ้นเพื่อหาคำตอบ ซึ่งจะนำไปสู่วิธีการแก้ไขปัญหาวิจัย นิยมตั้งคำถามวิจัยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมีลักษณะอย่างไร

หลักเกณฑ์ของการกำหนดปัญหาวิจัย

ปัญหาการวิจัยที่ดีควรจะเป็นอย่างไร  แม้ว่าการเขียนปัญหาการวิจัยจะไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวที่แน่นอน แต่การตั้งปัญหาการวิจัยควรมีหลักเกณฑ์ที่นำพิจารณา 3 ประการ คือ

1. ปัญหาควรปรากฏในรูปของ “ความสัมพันธ์” ระหว่างตัวแปรสองตัว หรือเกินกว่าสองตัว เช่น  A เกี่ยวข้องกับ  B ไหม  A และ B  เกี่ยวข้องกับ C อย่างไร A เกี่ยวข้อง  B  โดยมีเงื่อนไข C และ D  หรือไม่

2. ปัญหาต้องกำหนดให้ชัดเจน ไม่กำกวม โดยกำหนดในรูป “คำถาม” การตั้งคำถามมีข้อดีทำให้สามารถสื่อให้เห็นปัญหาได้โดยตรง

3. การกำหนดปัญหาควรเขียนในรูปที่สามารถทดสอบเชิงประจักษ์ หรือ จากสภาพความเป็นจริงได้ ปัญหาการวิจัยนอกจากแสดง “ความสัมพันธ์” แล้ว ตัวแปรที่สัมพันธ์กันต้องสามารถนำไป “วัดได้” (measured)

การกำหนดปัญหาการวิจัยเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะสำหรับนักวิจัยที่เพิ่งเริ่มต้น ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ

  • ปัญหานักวิจัยทำการรวบรวมข้อมูลมาก่อน  แล้วมาตั้งปัญหาภายหลัง ผลคือข้อมูลที่ได้มานั้นไม่ครบถ้วนหรือไม่เพียงพอที่จะตอบปัญหาที่ตั้งไว้ได้ วิธีแก้ก็คือควรกำหนดปัญหา วัตถุประสงค์ของการวิจัยให้แน่นอน เสร็จแล้วจึงลงมือเก็บข้อมูล ควรจำไว้ว่า ปัญหาการวิจัย เป็นตัวชี้แนะในการเก็บข้อมูล ไม่ใช้ข้อมูลเป็นตัวชี้นำการตั้งปัญหา
  • การตั้งปัญหากำกวม  ไม่เอื้ออำนวยให้เก็บข้อมูลได้ ปัญหาที่ดีจะต้องอยู่ในรูปของคำถามซึ่งประกอบไปด้วยตัวแปรอย่างน้อยสองตัว โดยที่ตัวแปรเหล่านั้นแสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วย
  • ปัญหากว้าง  ความยากลำบากอย่างหนึ่งที่นักวิจัยเผชิญคือปัญหามีลักษณะกว้างเกินไป  ถ้าปัญหามีลักษณะกว้างมักจะครุมเครือ ไม่อาจทดสอบได้ จึงไม่มีประโยชน์ถึงแม้จะน่าสนใจก็ตาม ปัญหาที่กว้างและครุมเครือเกินไป จะพบเห็นได้ในสังคมศาสตร์ 
  • ปัญหาที่ไม่ได้มาจากผลการวิจัย การตั้งปัญหาไม่ได้อาศัยพื้นฐานจากผลการวิจัย แบบจำลองและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องแต่ประการใด  วิธีแก้ก็คือ จะต้องสร้างปัญหาโดยอาศัยพื้นฐาน แนวคิดจากผลการวิจัย แบบจำลองและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเสมอ

You might also enjoy

การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา
การพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยเพื่อการศึกษา

การพัฒนากรอบแนวคิด (Conceptual Framework) ในการวิจัยเพื่อการศึกษาเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานของงานวิจัย กรอบแนวคิดเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นภาพรวมของปัญหาที่ต้องการศึกษา และแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ในการศึกษาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ กรอบแนวคิดยังช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนวิธีการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีระบบมากขึ้น

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ?

การทำเล่มวิจัยจบไม่ใช่แค่การผ่านวิชา แต่เป็นการฝึกฝนทักษะที่สำคัญหลายด้านที่ช่วยให้เราเติบโตและพัฒนาไปสู่การเป็นนักคิด นักวิเคราะห์ และผู้เชี่ยวชาญในอนาคต! ✨ 1. ฝึกการคิดเชิงวิพากษ์ 🧠 การวิจัยช่วยฝึกให้เราแยกแยะข้อเท็จจริงจากความคิดเห็น และตั้งคำถามกับสิ่งที่เรารับรู้

ปีใหม่กับฉันคนใหม่ ด้วย 7 แรงบันดาลใจง่าย ๆ
ปีใหม่กับฉันคนใหม่ ด้วย 7 แรงบันดาลใจง่าย ๆ

ปีใหม่เป็นช่วงเวลาที่ดีในการเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ และพัฒนาตัวเอง มาลองทำตามแรงบันดาลใจง่าย ๆ เหล่านี้เพื่อเริ่มปีใหม่นี้ด้วยพลังบวกกันเถอะค่ะ 🎉 ปีนี้พร้อมเริ่มต้นการเป็นตัวเองในเวอร์ชันที่ดียิ่งขึ้นกันแล้วใช่ไหมคะ? 💖 #ปีใหม่2025

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย