บทวิเคราะห์แนวทางการจัดการฝึกอบรมออนไลน์

บทวิเคราะห์แนวทางการจัดการฝึกอบรมออนไลน์
ผู้จัดทำได้วิเคราะห์แนวทางการจัดการฝึกอบรมออนไลน์จากผลการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “4G กับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ รุ่นที่ ๑” ซึ่งอบรมระหว่างวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ บนระบบฝึกอบรมออนไลน์ (e-Training) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
๑. องค์ประกอบของการฝึกอบรมออนไลน์
การฝึกอบรมออนไลน์ตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “4G กับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์” มีองค์ประกอบ ดังนี้
วัตถุประสงค์การฝึกอบรม คือการกำหนดเป้าหมายของการฝึกอบรมว่าหลังจากรับการฝึกอบรมแล้ว ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจะต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างไร หรือได้รับการพัฒนาในด้านใด เป็นต้น
เนื้อหาการฝึกอบรม
เนื้อหาของการฝึกอบรมควรได้จากการสำรวจความต้องการหลักสูตรฝึกอบรมของกลุ่มเป้าหมาย เช่น อาจารย์ นิสิต บุคลากร หรือบุคคลภายนอก เป็นต้น
แผนและกิจกรรมการฝึกอบรม
แผนการฝึกอบรมเป็นเครื่องมือที่บอกว่าเนื้อหาแต่ละหน่วยประกอบกด้วยกิจกรรมใดบ้าง ใช้ระยะเวลาเท่าไรในการดำเนินกิจกรรม และมีรูปแบบของการได้รับประสบการณ์จากการฝึกอบรมอย่างไร ซึ่งรูปแบบของให้ประสบการณ์ตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “4G กับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์” มี ๓ รูปแบบ ได้แก่ ผู้ดำเนินการฝึกอบรมให้การชี้แนะ (Teacher Directed Learning: TDL) ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self- Directed Learning: SDL) และผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมร่วมทำกิจกรรมหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาชิก (Peer Directed Learning: PDL)
สื่อและแหล่งความรู้
สื่อและแหล่งความรู้สำหรับการจัดการฝึกอบรมออนไลน์ เช่น ระบบหรือเว็บที่มีเครื่องมือสนับสนุน การจัดการฝึกอบรมออนไลน์ วีดิทัศน์ สื่อมัลติมีเดีย ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่ผู้ดำเนินการฝึกอบรมผลิตขึ้นเองและแหล่งความรู้ที่เชื่อมโยงจากภายนอก เป็นต้น โดยสื่อหลักที่ใช้ในการฝึกอบรมตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “4G กับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์” คือ ระบบจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ (Learning Management System: LMS) และวิดีทัศน์
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
การฝึกอบรมออนไลน์จำเป็นจะต้องอาศัยความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเชื่อมต่อของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงสื่อและแหล่งความรู้ เพื่อการฝึกปฏิบัติการและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือข้อมูลต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือบนเว็บ
การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์
ในการฝึบอบรมออนไลน์จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ ซึ่งการฝึกอบรมตามโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “4G กับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์” แบ่งการสื่อสารเป็น ๓ ระยะ ได้แก่
ระยะที่ ๑ ระยะก่อนฝึกอบรม การสื่อสารในระยะนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ผู้สมัครเข้าร่วมการฝึกอบรมได้เตรียมความพร้อมก่อนการฝึกอบรม โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
ระยะที่ ๒ ระยะฝึกอบรม การสื่อสารในระยะนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ดำเนินการฝึกอบรม ผู้ดูแลประจำกลุ่ม และผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม และระหว่างผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมด้วยกัน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ได้แก่
ไลน์แอปพลิเคชัน (Line Application) ใช้ในการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน แจ้งปัญหาและอุปสรรคที่พบระหว่างการฝึกอบรมไปจนถึงการสรุปความรู้ในประเด็นต่าง ๆ ร่วมกัน
โทรศัพท์ ใช้ในการแจ้งข้อมูลข่าวสาร แจ้งปัญหาหรืออุปสรรคที่ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมพบระหว่าง การฝึกอบรม ซึ่งจะมีบุคลากรสนับสนุนให้คำแนะนำหรือแก้ปัญหาในวันและเวลาราชการ
กระดานเสวนา (Webboard) รวบรวมปัญหาและอุปสรรคที่พบระหว่างการฝึกอบรม และใช้ ในการนำเสนอผลงาน และเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้ทั้งแบบประสานเวลา (Synchronous) และไม่ประสานเวลา (Asynchronous)
ระยะที่ ๓ ระยะหลังฝึกอบรม การสื่อสารในระยะนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินและติดตามผล การฝึกอบรม เช่น ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมมีการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานหรือไม่ อย่างไร เป็นต้น โดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail) เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ในการจัดการฝึกอบรมให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีจำเป็นต้องอาศัยบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ดังนี้
๑. ผู้ดำเนินการฝึกอบรม มีบทบาทดังนี้
๑.๑ ผู้ดำเนินการฝึกอบรม ทำหน้าที่กำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาการฝึกอบรม จัดเตรียมสื่อและแหล่งความรู้ รวมถึงกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม
๑.๒ ผู้ดำเนินการฝึกอบรม ทำหน้าที่แจ้งข้อมูลข่าวสาร ข้อปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมได้เตรียมความพร้อมก่อนเข้าร่วมการฝึกอบรม
๑.๓ ผู้ดำเนินการฝึกอบรม ทำหน้าที่ดำเนินการฝึกอบรม ให้คำปรึกษา แก้ปัญหาและอำนวย ความสะดวกระหว่างการฝึกอบรม
๑.๔ ผู้ดำเนินการฝึกอบรม ทำหน้าที่กระตุ้นความสนใจและติดตามความก้าวหน้าของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม
๑.๕ ผู้ดำเนินการฝึกอบรม ทำหน้าที่ตรวจสอบผลงานของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม โดยพิจารณาตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
๒. ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม มีบทบาทดังนี้
๒.๑ ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ศึกษาวิธีการเข้าใช้งานระบบฝึกอบรมออนไลน์ และเตรียมความพร้อมของบัญชีผู้ใช้งานซึ่งประกอบด้วยชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ก่อนเข้าร่วมการฝึกอบรม
๒.๒ ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม รับทราบวัตถุประสงค์และแนวทางในการฝึกอบรม
๒.๓ ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ปฏิบัติภารกิจในแต่ละหน่วยการฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และส่งงานตามที่กำหนด
๓. บุคลากรสนับสนุน มีบทบาทดังนี้
๓.๑ บุคลากรสนับสนุน ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ดำเนินการฝึกอบรม เป็นผู้ดูแลประจำกลุ่ม และอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม
๓.๒ บุคลากรสนับสนุน ทำหน้าที่ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในการตรวจสอบและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับบัญชีผู้ใช้ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครื่องแม่ข่ายระบบฝึกอบรมออนไลน์
๓.๓ บุคลากรสนับสนุน ทำหน้าที่สังเกต ตรวจสอบและประเมินผลงานของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมร่วมกับผู้ดำเนินการฝึกอบรม
การประเมินผล
การประเมินผลเป็นการสะท้อนความสำเร็จของการฝึกอบรม ประกอบด้วย การประเมินความรู้ ทักษะปฏิบัติ และความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม นำผลลัพธ์ที่ได้ไปตรวจสอบและปรับปรุงการฝึกอบรมในทุกขั้นตอน

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย