จะเริ่มคิดหัวข้อการวิจัย (แล้วนะ)

จะเริ่มคิดหัวข้อการวิจัย (แล้วนะ)
PUBLISHED ON พฤษภาคม 29, 2011
ปัญหาใหญ่คือ จะเริ่มยังไง .. จะออกแบบการวิจัย (Research Design) อย่างไร จึงจะได้เป็น Ph.D. Candidate (กับเขาสักที)

คิดคร่าวๆก่อนว่าจะทำวิจัยเรื่องอะไรดี
เรื่องที่จะทำ สำคัญอย่างไร ทำไมต้องทำ ทำแล้วคนจะสนใจมั๊ย ?
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทบทวนวรรณกรรม (review literature) เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม ให้ครอบคลุมเรื่องที่จะทำ อ่านเยอะๆ อ่านแล้วต้องสังเคราะห์งานวิจัยให้เป็น
หาให้เจอว่า อะไรคือ โจทย์วิจัย (ปัญหาวิจัย / คำถามวิจัย)
กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย (กำหนดโดยเอาคำถามวิจัยเป็นตัวตั้ง เพื่อบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยครั้งนี้ ว่าทำไปเพื่ออะไร ..เช่น เพื่อสำรวจ เพื่อเปรียบเทียบ เพื่ออธิบาย เพื่อประเมิน เพื่อพัฒนา ฯลฯ)
เรามีปรัชญาและกระบวนทัศน์ (paradigm) ของการวิจัยเป็นอย่างไร (ภววิทยา Ontology / ญาณวิทยา Epistemology / วิธีวิทยา Methodology) และจะเลือกใช้ทฤษฎีหลักอะไรเป็นเครื่องชี้นำ เพื่อสร้างกรอบแนวคิดหรือโมเดลการวิจัย (research framework / model)
กรอบความคิดในการวิจัย ไม่ใช่กรอบความคิดเชิงทฤษฎี (theoritical framework) เพราะมันจะแคบกว่า เนื่องจากเราจำกัดขอบเขตของการวิจัยลงมา แต่ต้องอธิบายได้ว่า แม้จะแคบกว่าที่ควรจะเป็น แต่ก็ไม่ทำให้เกิดผลเสียต่อการวิจัย
กำหนดวิธีการวิจัย จะเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัย (research methodologies) หรือแนวทางการวิจัย (research approaches) แบบใด ทำไมถึงเลือกวิธีนี้ และจะใช้วิธีวิจัย (research methods) อะไรบ้าง จะสุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลจากใครที่ไหน จะใช้วิธีอะไรในการจัดการข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบงานวิจัยถึงจะน่าเชื่อถือ และมีความรอบคอบ
จะเอางบประมาณที่ไหนมาทำวิจัย จะมั่นใจได้อย่างไรว่างานวิจัยนี้จะสำเร็จ จะเสร็จเมื่อไหร่ ทำแผนปฏิบัติการแบบ Action Plan มาด้วย
ที่ขาดไม่ได้ สมัยนี้ คือระบุจริยธรรมหรือจรรยาบรรณ (ethics) ที่ใช้ในการวิจัย
คาดว่าเราจะค้นพบอะไรจากการวิจัยครั้งนี้ ?
สุดท้าย น่าจะได้ข้อเสนอโครงการวิจัย (research proposal) หรือข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก (Candidacy) ขึ้นมาสักฉบับ
การเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกทางสังคมศาสตร์ มีผู้รู้บอกว่า เราควรเลือกทำเรื่องที่เราถนัด มีประสบการณ์มาบ้างแล้ว เป็นเรื่องที่เราให้ความสนใจ หรือเป็นปัญหาที่เราอยากหาคำตอบ เพราะจะทำให้เรามีแรงจูงใจและมีความพยายามที่จะทำวิจัย จะให้ดีควรเกี่ยวข้องกับงานประจำของเรา หน่วยงานต้นสังกัดให้การสนับสนุน (อยากได้ผลการวิจัยของเราไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนา แก้ปัญหา หรือป้องกันปัญหาในอนาคตขององค์กร) แต่เนื่องจากตอนนี้เรายังมีความรู้ไม่มากพอ ดังนั้น ต้องอ่าน paper ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ การ review literature มากๆ ในที่สุดจะทำให้เกิด idea ในการคิดโจทย์วิจัย

งานวิจัยระดับปริญญาเอกนั้น ทำแล้วต้องมีผลกระทบในทางปฏิบัติต่อสังคมหรือชุมชนในวงกว้าง เช่น มีส่วนสำคัญที่จะนำไปแก้ปัญหาประเทศได้ หรือมีผลกระทบต่อวิชาการ เช่นสร้างแนวคิดทฤษฎีหรือองค์ความรู้ใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใครคิดมาก่อน .. ฟังแล้วจะเรียนจบมั๊ยนะ ??

บรรณานุกรม
นงลักษณ์ วิรัชชัย. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methods). เอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องวิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา, 2545.
จำเนียร จวงตระกูล. การวิจัยเชิงคุณภาพ: เครื่องมือสร้างองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพ : บริษัทศูนย์กฎหมายธุรกิจอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด, 2554.
Creswell, John. W. Research Design: Qualitative, Quantitative and Mixed Methods Approaches, 3rd ed, Thousand Oaks, Calif. : Sage, c2009.

แบ่งปันสิ่งนี้:

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย