จะทำวิจัยหรือจะจ้างทำวิจัย ต้องรู้ ! ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับการวิจัย

ความหมายของการวิจัย

          “วิจัย” ตรงกับความหมายเชิงวิชาการตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน (2542:1072) ให้ความหมายไว้ว่า “การวิจัยเป็นการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชาการ”

ประเภทของงานวิจัย

          การแบ่งประเภทของงานวิจัยสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ดังนี้

               1. แบ่งตามสาขาวิชาหรือเนื้อหาวิชาที่ใช้ศึกษา

                    1.1 วิจัยทางวิทยาศาสตร์

                    1.2 วิจัยทางสังคมศาสตร์ 

               2. แบ่งตามลักษณะของข้อมูล

                    2.1 วิจัยเชิงปริมาณ 

                    2.2 วิจัยเชิงคุณภาพ

               3. แบ่งตามลักษณะการศึกษา

                    3.1 วิจัยเชิงสำรวจ

                    3.2 วิจัยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วศึกษาย้อนหลัง 

                    3.3 วิจัยเชิงทดลอง

ส่วนประกอบของงานวิจัย

          การวิจัยเป็นหนึ่งวิธีการที่ใช้ในการแสวงหาคำตอบของปัญหา เหตุการณ์ หรือปรากฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยต้องอาศัยกระบวนการในการทำวิจัย ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบต่างๆดังนี้

               1. กำหนดปัญหาหรือเรื่องที่ต้องการศึกษา

               2. กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย

               3. ขอบเขตของการศึกษา

               4. ประโยชน์ของงานวิจัย

               5. เอกสารหรือผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

               6. กระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย

                    6.1 การสุ่มตัวอย่าง

                    6.2 การสร้างเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

                    6.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

               7. การวิเคราะห์ข้อมูล มี 2 ลักษณะได้แก่

                    7.1 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าสถิติเบื้องต้น

                    7.2 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน

               8.สรุปผลการวิจัย

               9.ข้อเสนอแนะ

โดยทั่วไปการเขียนรายงานการวิจัยมักจะมี 5 บทด้วยกันได้แก่

               1. บทนำ ประกอบไปด้วย ชื่อเรื่องที่มีปัญหาที่ต้องการศึกษา ความเป็นมาหรือสาเหตุของปัญหาหรือเรื่องที่จะทำ วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย ขอบเขตที่ต้องการศึกษา ประโยชน์ของงานวิจัย

               2. เอกสารหรือผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

               3. กระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูล

               4. การวิเคราะห์ข้อมูล

               5. สรุปผลการวิจัยและข้อเสอนแนะ

ข้อผิดพลาดที่ควรระมัดระวังในการทำวิจัยได้แก่

               1. การสรุปผลมีความแตกต่างจากทฤษฎีหรือสมมติฐานที่ตั้งขึ้น ซึ่งขาดการตรวจสอบทบทวนที่ดีพอ

               2. หลักฐานประกอบที่สนับสนุนและยืนยันผลสรุปไม่เพียงพอ เนื่องจากการค้นหาเอกสารอ้างอิงยังไม่มากพอ

               3. ผลการวิจัยไม่มีความตรง เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้วิจัยไม่ดี ขาดความเที่ยง

               4. ตัวอย่างที่สุ่มมาไม่เป็นตัวแทนของประชากร

               5. เหตุที่ใช้ผิดไปจากความจริง

               6. ตัวเลข ข้อความ หรือสูตร คัดลอกมาผิด

โครงการวิจัยหรือเค้าโครงการวิจัย

       เป็นรายงานที่ใช้สำหรับการตัดสินใจว่าจะมีการทำวิจัยหรือไม่ซึ่งจะมีหัวข้อรายงานต่างจากการทำรายงานวิจัย 5 บท

ประกอบไปด้วย

              1. ชื่อหัวข้อการศึกษา

              2. หลักการและเหตุผล 

              3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

              4. นิยามศัพท์ 

              5. เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

              6. กรอบแนวคิดการวิจัย

              7. วิธีการดำเนินการวิจัย (ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล)

              8. ขอบเขตของการวิจัย 

              9. สถานที่ทำการวิจัย 

            10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

            11. แผนการดำเนินการเกี่ยวกับกิจกรรมและระยะเวลาทำการวิจัย 

            12. งบประมาณ

            13. บรรณานุกรม

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย