ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม SPSS เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยมีลำดับขั้นตอนการวิเคราะห์ ดังนี้
1. การเตรียมข้อมูล ผู้วิจัยต้องเตรียมเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ (ซึ่งแตกต่างจากการวิเคราะห์ด้วยมือ) โดยในแบบสอบถามนั้นจะต้องกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Name) และค่าของตัวแปร (Value) ให้เป็นตัวเลขเท่านั้น
2. การสร้างแฟ้มข้อมูล ต้องกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Name) ให้สอดล้องกับที่กำหนดไว้ในแบบสอบถาม และสร้างคู่มือลงรหัส (Code book) ที่กำหนดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดชื่อตัวแปร (Variable Name หรือ Name) ตำแหน่งทศนิยมของค่าของตัวแปร (Decimals) คำอธิบายชื่อตัวแปร (Label) ค่าของตัวแปร (Value) ความหมายของค่าของตัวแปร (Value Label) และระดับการวัดข้อมูล (Maesure)
3. การบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่จะบันทึกต้องเป็นตัวเลขเท่านั้น โดยกำหนดค่าของตัวแปรที่เป็นตัวเลือกในแบบสอบถามให้เป็นตัวเลขเสียก่อน
4. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้โดยง่าย ทั้งค่าสถิติพื้นฐานและค่าสถิติสำหรับทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้คำสั่งจาก Menu bar เลือก Analyze แล้วเลือกค่าสถิติที่ต้องการวิเคราะห์จาก Window ที่ปรากฏตามลำดับ ก็จะได้ผลการวิเคราะห์ตามต้องการ
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล