การเลือกหัวข้อการทำวิจัย

การเลือกหัวข้อการทำวิจัย


หัวข้อการทำวิจัย คือ ปัญหาที่ผู้วิจัยสงสัย สนใจ ใคร่รู้คำตอบ หัวข้อปัญหายังเป็นหัวข้อกว้าง ๆ ที่บอกได้ว่าผู้วิจัยสนใจศึกษาเรื่องใดบ้าง ซึ่งบางทีอาจเรียกกันว่า Problem area ตัวอย่างหัวข้อปัญหาเช่น ภาพพจน์ของสถาบันราชภัฏลำปาง พฤติกรรมทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลสัมฤทธิ์ของการสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขวัญและกำลังใจของครูจากโครงการคุรุทายาท การจำคำ การสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นต้น จะเห็นว่าหัวข้อปัญหายังจะไม่เฉพาะเจาะจงลงไปอย่างชัดเจนว่าเป็นปัญหาอย่างไร และหัวข้อปัญหาก็ยังไม่ใช่ชื่อเรื่องของการวิจัยเพราะชื่อเรื่องของการวิจัยนั้นต้องแสดงออกถึงความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากกว่านี้
การเลือกหัวข้อปัญหาเป็นการตัดสินใจว่าสนใจจะวิจัยหาคำตอบเกี่ยวข้อง กับเรื่องอะไร ตามปกติแล้วคนเรามักมีเรื่องที่สงสัยใคร่หาคำตอบในคราวเดียวกันอยู่หลายเรื่อง แต่การที่จะทำวิจัยเพื่อหาคำตอบในทุกหัวข้อเรื่องที่สงสัยในการวิจัยคราวเดียวกันเป็นเรื่องที่เกินวิสัยจะทำได้ การวิจัยแต่ละครั้งจะตอบปัญหาได้เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ดังนั้นในการวิจัยครั้งหนึ่งๆ นักวิจัยจะต้องตัดสินใจเจาะจงเลือกให้แน่นอนว่าสนใจจะตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องใด การตัดสินใจเลือกหัวข้อปัญหาจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยถ้านักวิจัยตัดสินใจพลาดในขั้นตอนนี้ อาจส่งผลให้การวิจัยในขั้นตอนอื่นๆ ติดขัดหรือมีอุปสรรคไปด้วย และที่หนักที่สุดก็อาจถึงกับทำให้งานวิจัยนั้นต้องล้มเลิกกลางคันเลยก็ได้

การเกิดปัญหาวิจัย
เรื่องที่จะเป็นปัญหาวิจัยนั้นจะแตกต่างจากปัญหาอื่นๆ เนื่องจากการวิจัยเป็นการแสวงหาความรู้หรือคำตอบให้กับปัญหาวิจัย ดังนั้นปัญหาวิจัยก็คือ สิ่งที่นักวิจัยไม่รู้และสนใจใคร่รู้คำตอบ เมื่อวิจัยแล้วจะได้ผลลัพธ์คือคำตอบของปัญหาหรือความรู้ ปัญหาเช่นนักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่ได้ ปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจเรียน ปัญหาครูมีหนี้สินล้นพ้นตัว เช่นนี้ไม่ใช่ปัญหาวิจัยเพราะผลลัพธ์จากการปัญหาเช่นนี้ไม่ใช่ข้อความรู้แต่จะเป็นสภาวะที่หมดปัญหา เช่น นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้ นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น หรือครูปลอดจากหนี้สิน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาการวิจัยได้ กล่าวคือการที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นอาจจำเป็นต้องมีความรู้อะไรบางอย่างที่เรายังไม่รู้ และความรู้นี้จะได้มาก็ต้องทำวิจัย คำตอบหรือข้อความรู้จากการวิจัยจะใช้เป็นสารสนเทศประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหาเหล่านั้น
ปัญหาที่นักวิจัยสนใจใคร่รู้คำตอบอาจจะเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น

  1. เกิดความสงสัยในทฤษฎี ทฤษฎีคือข้อเสนอ (Proposition) ที่เกิดจากการคิดหรือจินตนาการอย่างมีเหตุผลเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ความสงสัยในทฤษฎีอาจเกิดจาก
    ก. ความไม่สอดคล้องภายในทฤษฎี เช่น มีแนวคิด (concept) บางอย่างขัดแย้งกัน ข้อเสนอไม่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน นักวิจัยจึงต้องทำวิจัยเพื่อทำความเข้าใจกับทฤษฎีนั้นให้กระจ่างยิ่งขึ้น
    ข. ความไม่สอดคล้องกันระหว่างทฤษฎี ปรากฏการณ์อย่างเดียวกันอาจมีทฤษฎีหรือคำอธิบายมากกว่า 1 ทฤษฎีแล้วแต่มีผู้เห็นว่าปรากฏการณ์นั้นควรจะมีคำอธิบายที่เหมาะสมเป็นอย่างไร บางครั้งทฤษฎีเหล่านั้นก็ขัดแย้งกันทำนายปรากฏการณ์เรื่องเดียวกันออกมาแตกต่างกัน ในกรณีเช่นคงต้องมีการหาหลักฐานข้อเท็จจริงมาดูกันให้ชัดเจนว่าทฤษฎีใดถูกทฤษฎีใดผิดหรือว่าผิดทั้งหมด การวิจัยเพื่อตอบข้อสงสัยลักษณะนี้เรียกว่า การทดสอบเพื่อชี้ขาดทฤษฎี (Crucial test)
    ค. ความไม่สอดคล้องระหว่างทฤษฎีกับข้อเท็จจริง เกิดจากการใช้ทฤษฎีทำนายปรากฏการณ์แล้วคำนายนั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เหตุการณ์เช่นนี้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้ทราบแน่ว่าทฤษฎีมีความบกพร่องอย่างไร การวิจัยเพื่อหาคำตอบให้กับข้อสงสัยประเภทนี้จะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขทฤษฎีให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
    ง. ความสงสัยว่าทฤษฎีนั้นจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไปได้หรือไม่ ความสงสัยในทฤษฎีแบบนี้มักจะเกิดขึ้นในศาสตร์ทางสังคมศาสตร์ เพราะทฤษฎีทางสังคมศาสตร์มักจะสร้างขึ้นเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมในสังคมใดสังคมหนึ่ง ความสงสัยจึงเกิดขึ้นว่าทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์ในสังคมหนึ่งได้ คือมีหลักฐานข้อเท็จจริงในสังคมนั้นยืนยันทฤษฎีอย่างเพียงพอ ทฤษฎีนั้นจะนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ในสังคมอื่นๆ ได้หรือไม่ จำเป็นต้องหาหลักฐานข้อเท็จจริงจากสังคมอื่นๆ มายืนยัน
  2. เกิดจากความขัดแย้งในข้อค้นพบ ในหัวข้อปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจมีผู้สงสัยในประเด็นต่างๆ ได้หลากหลายและได้มีผู้ทำวิจัยหาคำตอบเอาไว้ แต่แทนที่คำตอบเหล่านั้นจะสอดคล้องสนับสนุนกันกลับข้ดแย้งไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงทำให้เกิดความสงสัยว่าคำตอบที่แน่นอนควรจะเป็นอย่างไร
  3. เกิดจากความขัดแย้งกันในความคิดเห็นหาข้อยุติไม่ได้ ในแวดวงวิชาการหรือสังคมทั่วไปย่อมมีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ความคิดเห็นเหล่านั้นเกิดไม่ลงรอยกันและต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตน แต่ส่วนใหญ่แล้วเหตุผลที่นำมาสนับสนุนก็มักเกิดจากการคิดหรือจินตนาการเอก นักวิจัยอาจจะเกิดความสงสัยว่าความเห็นของฝ่ายใดจะน่าเชื่อถือกว่ากันจำเป็นต้องหาหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์มายืนยันเพื่อที่จะหาข้อยุติ
  4. เกิดจากความขัดข้องในการปฏิบัติงาน เช่น การทำงานมีปัญหาอุปสรรค ทำงานไม่สำเร็จตามเป้าหมาย ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ต้องการจะพัฒนาปรับปรุงการทำงาน การแก้ปัญหาการปฏิบัติงานเหล่านี้จำเป็นต้องมีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ จะต้องค้นหาความรู้ที่จะใช้เป็นข้อสารสนเทศประกอบการตัดสินใจ
  5. เกิดความสงสัยว่าข้อค้นพบที่ผ่านมานั้นยังจะคงจริงเช่นนั้นอีกหรือไม่เมื่อเวลาผ่านไป หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องหาคำตอบให้แน่ชัดด้วยการหาหลักฐานข้อมูลใหม่มาพิจารณาอีกครั้ง
  6. เกิดความสงสัยในวิธีการได้มาซึ่งข้อความจากการวิจัยที่ทำมาแล้ว อาจจะต้องตรวจสอบด้วยวิธีการใหม่ซึ่งได้แก้ไขข้อผิดพลาดของวิธีการเก่าแล้ว หรือมีเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แหล่งที่มาของหัวข้อปัญหา นักวิจัยอาจได้หัวข้อปัญหามาจากแหล่งต่างๆ เช่น
  7. ประสบการณ์ของผู้วิจัย ได้แก่การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องมีปรากฏกาการณ์บางอย่างชวนให้สงสัยต้องการคำตอบที่ชัดเจน หรือจากการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบเกิดปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมาย หรือขาดประสิทธิภาพ หรือต้องการพัฒนางานให้ดีขึ้น ต้องการสารสนเทศบางอย่างที่จะนำมาใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาหรือปรับปรุงงาน จำเป็นต้องค้นหาสารสนเทศเหล่านั้น ก็ทำให้เกิดเป็นปัญหาวิจัยได้
  8. ทฤษฎี จากการศึกษาทฤษฎีต่างๆ อย่างลึกซึ้งผู้วิจัยอาจจะเห็นความไม่สอดคล้องกันภายในทฤษฎี ระหว่างทฤษฎี หรือระหว่างทฤษฎีกับข้อเท็จจริง อยากจะตรวจสอบทฤษฎีนั้นให้ประจักษ์ชัด หรืออาจจะตรวจสอบว่าทฤษฎีนั้น ๆ จะทำนายปรากฏการณ์ได้สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ ฉะนั้นการศึกษาทฤษฎีต่างๆ อย่างพินิจพิเคราะห์ก็อาจทำให้เกิดปัญหาวิจัยได้
  9. ผลงานวิจัยที่ได้มีผู้ทำไว้แล้ว การศึกษาผลงานวิจัยที่คนอื่นทำไว้แล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วน จะช่วยให้ผู้วิจัยได้มองเห็นว่าความรู้ที่เป็นผลการวิจัยเหล่านั้นมีความชัดเจนมากน้อยเพียงใด ยังมีประเด็นใดที่ยังคลุมเครือจะต้องศึกษาเพื่อทำความเข้าใจให้กระจ่าง หรือมีความขัดแย้งกันระหว่างงานวิจัยในเรื่องเดียวกันหรือไม่ การวิจัยที่ผ่านมายังมีจุดอ่อนข้อบกพร่องในเรื่องใดบ้างทำให้เกิดความสงสัยในข้อค้นพบเหล่านั้น หรือมีประเด็นใดบ้างที่ควรจะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่อไปเพื่อให้องค์ความรู้ในเรื่องนั้นมีความสมบูรณ์มากขึ้น ในรายงานการวิจัยเกือบทุกเรื่องผู้วิจัยมักจะมีข้อเสนอแนะไว้ว่าควรจะศึกษาวิจัยในเรื่องต่อไปในประเด็นใด ผู้ที่สนใจจะวิจัยในหัวข้อเรื่องคล้ายคลึงกันอาจจะได้แนวคิดไปกำหนดเป็นหัวข้อปัญหาวิจัยของตนเองได้
  10. ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ปกติผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ มักจะศึกษาติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการในศาสตร์สาขานั้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ผุ้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะมองเห็นภาพองค์ความรู้ของศาสตร์นั้นได้ค่อนข้างจะชัดเจน รู้ว่าจุดใดประเด็นใดที่นักวิชาการในศาสตร์นั้นได้หาความรู้ไว้แล้วอย่างชัดเจน ประเด็นใดที่ยังเป็นปัญหาเป็นช่องโหว่ที่จะต้องแสวงหาความรู้มาเติมให้เต็ม ประเด็นคำถามอย่างไรน่าสนใจมีคุณค่าควรแก่การหาคำตอบในศาสตร์นั้น ผู้มีประสบการณ์เหล่านี้จะให้คำแนะนำได้เป็นอย่างดี
  11. แหล่งทุนวิจัย มักจะมีหน่วยงานบางหน่วยที่ต้องการผลการวิจัยในบางเรื่อง จึงเสนอเงินทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย แหล่งทุนประเภทนี้มักจะกำหนดแนวทาง หรือหัวข้อการวิจัยที่ต้องการ แล้วประกาศให้นักวิจัยที่สนใจที่จะศึกษาวิจัยในหัวข้อนั้นมารับทุนสนับสนุนการวิจัย ฉะนั้นการพิจารณาเลือกหัวข้อจากแหล่งทุนวิจัยประเภทนี้ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่นักวิจัยจะได้หัวข้อวิจัยพร้อมทั้งได้รับเงินสนับสนุนการวิจัยด้วย
  12. หน่วยงานของผู้วิจัย หน่วยงานบางหน่วยงานมีหน้าที่ที่จะต้องทำงานวิจัยมักจะมีแผนงานกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ จะทำวิจัยในหัวข้อใดบ้าง หรือหน่วยงานที่ไม่ได้มีหน้าที่ในการทำวิจัยโดยตรงก็อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิจัยหาความรู้ในบางเรื่อง ผู้ที่ทำงานในหน่วยงานเหล่านี้ อาจได้รับมอบหมายให้ทำการวิจัยในหัวข้อที่ผู้บริหารหน่วยงานเหล่านั้นกำหนดให้ศึกษาก็ได้

เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาในการเลือกหัวข้อปัญหาวิจัย

การเลือกหัวข้อปัญหาวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ผู้วิจัยจะต้องรู้จักเลือกหัวข้อปัญหาที่เหมาะสม หัวข้อปัญหาวิจัยที่ดีควรจะเป็นปัญหาที่

  1. มีความสำคัญ มีคุณค่า หัวข้อปัญหาที่มีความสำคัญหรือมีคุณค่าต้องมีปัญหาที่จะให้ได้คำตอบหรือผลการวิจัยที่มีประโยชน์ทั้งในแง่ของการได้มาซึ่งความรู้ใหม่เป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้กับศาสตร์นั้นๆ ให้สมบูรณ์ขึ้นและในแง่ของการได้มาซึ่งสารสนเทศที่จะใช้ช่วยตัดสินใจในการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ
  2. เป็นปัญหาที่จะค้นหาคำตอบได้ด้วยวิธีการวิจัย คือสามารถจะหาหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์มาอ้างอิงในการตอบปัญหานั้นได้ ไม่ใช่ปัญหาเชิงค่านิยมหรือเชิงจริยธรรมเช่น ควรให้นักศึกษาสวมเครื่องแบบมาเรียนหรือไม่ ปัญหาลักษณะนี้อาจปรับให้เป็นปัญหาวิจัยได้ว่า นักศึกษาที่สวมเครื่องแบบมาเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่ไม่สวมเครื่องแบบมาเรียนหรือไม่
  3. เป็นปัญหาที่น่าสนใจ นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติงานในสาขานั้นๆ มีความสนใจใคร่ทราบคำตอบด้วย หรือเป็นประเด็นที่กำลังถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน หรือ ผู้คนทั่วไปที่ต้องการคำตอบที่แน่ชัดมีหลักฐานมาสนับสนุนของสรุปอย่างชัดเจน
  4. เป็นปัญหาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับปัญหาที่ผู้อื่นได้เคยวิจัยหาคำตอบไว้แล้ว การพิจารณาว่าหัวข้อปัญหาวิจัยซ้ำซ้อนกันหรือไม่มักจะมีประเด็นที่ต้องพิจารณา 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ ก) คำถามวิจัยเป็นคำถามเดียวกันหรือไม่ ข)ประชากรที่ศึกษาเป็นกลุ่มเดียวกันหรือไม่ และ ค) วิธีการในการตอบคำถามใช้วิธีการเดียวกันหรือไม่ ถ้าคำตอบต่อคำถามเป็น “ใช่” ทั้ง 3 ประเด็นก็ถือได้ว่าเป็นการวิจัยซ้ำซ้อนเพราะคำตอบที่ได้จะไม่มีอะไรแตกต่างกัน เนื่องจากการวิจัยเป็นกิจกรรมที่มุ่งแสวงหาความรู้ใหม่ นักวิจัยจึงหลีกเลี่ยงที่จะทำวิจัยในหัวข้อปัญหาที่ได้มีผู้ศึกษาไว้แล้ว
  5. ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือภัยพิบัติต่อผู้วิจัยหรือผู้ให้ข้อมูล
  6. เป็นปัญหาที่สามารถจะดำเนินการวิจัยให้สำเร็จลุล่วงไปได้ คือมีลักษณะดังนี้
    ก. ขอบเขตของปัญหาจะต้องไม่กว้างจนเกินไป ปัญหาที่มีขอบเขตกว้างขวางอาจทำให้ต้องศึกษาตัวแปรหลายตัว ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นจำนวนมา

หัวข้อการทำวิจัย คือ ปัญหาที่ผู้วิจัยสงสัย สนใจ ใคร่รู้คำตอบ หัวข้อปัญหายังเป็นหัวข้อกว้าง ๆ ที่บอกได้ว่าผู้วิจัยสนใจศึกษาเรื่องใดบ้าง ซึ่งบางทีอาจเรียกกันว่า Problem area ตัวอย่างหัวข้อปัญหาเช่น ภาพพจน์ของสถาบันราชภัฏลำปาง พฤติกรรมทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลสัมฤทธิ์ของการสอนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขวัญและกำลังใจของครูจากโครงการคุรุทายาท การจำคำ การสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นต้น จะเห็นว่าหัวข้อปัญหายังจะไม่เฉพาะเจาะจงลงไปอย่างชัดเจนว่าเป็นปัญหาอย่างไร และหัวข้อปัญหาก็ยังไม่ใช่ชื่อเรื่องของการวิจัยเพราะชื่อเรื่องของการวิจัยนั้นต้องแสดงออกถึงความชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากกว่านี้
การเลือกหัวข้อปัญหาเป็นการตัดสินใจว่าสนใจจะวิจัยหาคำตอบเกี่ยวข้อง กับเรื่องอะไร ตามปกติแล้วคนเรามักมีเรื่องที่สงสัยใคร่หาคำตอบในคราวเดียวกันอยู่หลายเรื่อง แต่การที่จะทำวิจัยเพื่อหาคำตอบในทุกหัวข้อเรื่องที่สงสัยในการวิจัยคราวเดียวกันเป็นเรื่องที่เกินวิสัยจะทำได้ การวิจัยแต่ละครั้งจะตอบปัญหาได้เพียงเรื่องเดียวเท่านั้น ดังนั้นในการวิจัยครั้งหนึ่งๆ นักวิจัยจะต้องตัดสินใจเจาะจงเลือกให้แน่นอนว่าสนใจจะตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องใด การตัดสินใจเลือกหัวข้อปัญหาจึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยถ้านักวิจัยตัดสินใจพลาดในขั้นตอนนี้ อาจส่งผลให้การวิจัยในขั้นตอนอื่นๆ ติดขัดหรือมีอุปสรรคไปด้วย และที่หนักที่สุดก็อาจถึงกับทำให้งานวิจัยนั้นต้องล้มเลิกกลางคันเลยก็ได้

การเกิดปัญหาวิจัย
เรื่องที่จะเป็นปัญหาวิจัยนั้นจะแตกต่างจากปัญหาอื่นๆ เนื่องจากการวิจัยเป็นการแสวงหาความรู้หรือคำตอบให้กับปัญหาวิจัย ดังนั้นปัญหาวิจัยก็คือ สิ่งที่นักวิจัยไม่รู้และสนใจใคร่รู้คำตอบ เมื่อวิจัยแล้วจะได้ผลลัพธ์คือคำตอบของปัญหาหรือความรู้ ปัญหาเช่นนักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ไม่ได้ ปัญหานักเรียนไม่ตั้งใจเรียน ปัญหาครูมีหนี้สินล้นพ้นตัว เช่นนี้ไม่ใช่ปัญหาวิจัยเพราะผลลัพธ์จากการปัญหาเช่นนี้ไม่ใช่ข้อความรู้แต่จะเป็นสภาวะที่หมดปัญหา เช่น นักเรียนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้ นักเรียนตั้งใจเรียนมากขึ้น หรือครูปลอดจากหนี้สิน เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาการวิจัยได้ กล่าวคือการที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นอาจจำเป็นต้องมีความรู้อะไรบางอย่างที่เรายังไม่รู้ และความรู้นี้จะได้มาก็ต้องทำวิจัย คำตอบหรือข้อความรู้จากการวิจัยจะใช้เป็นสารสนเทศประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหาเหล่านั้น
ปัญหาที่นักวิจัยสนใจใคร่รู้คำตอบอาจจะเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น

  1. เกิดความสงสัยในทฤษฎี ทฤษฎีคือข้อเสนอ (Proposition) ที่เกิดจากการคิดหรือจินตนาการอย่างมีเหตุผลเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ความสงสัยในทฤษฎีอาจเกิดจาก
    ก. ความไม่สอดคล้องภายในทฤษฎี เช่น มีแนวคิด (concept) บางอย่างขัดแย้งกัน ข้อเสนอไม่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน นักวิจัยจึงต้องทำวิจัยเพื่อทำความเข้าใจกับทฤษฎีนั้นให้กระจ่างยิ่งขึ้น
    ข. ความไม่สอดคล้องกันระหว่างทฤษฎี ปรากฏการณ์อย่างเดียวกันอาจมีทฤษฎีหรือคำอธิบายมากกว่า 1 ทฤษฎีแล้วแต่มีผู้เห็นว่าปรากฏการณ์นั้นควรจะมีคำอธิบายที่เหมาะสมเป็นอย่างไร บางครั้งทฤษฎีเหล่านั้นก็ขัดแย้งกันทำนายปรากฏการณ์เรื่องเดียวกันออกมาแตกต่างกัน ในกรณีเช่นคงต้องมีการหาหลักฐานข้อเท็จจริงมาดูกันให้ชัดเจนว่าทฤษฎีใดถูกทฤษฎีใดผิดหรือว่าผิดทั้งหมด การวิจัยเพื่อตอบข้อสงสัยลักษณะนี้เรียกว่า การทดสอบเพื่อชี้ขาดทฤษฎี (Crucial test)
    ค. ความไม่สอดคล้องระหว่างทฤษฎีกับข้อเท็จจริง เกิดจากการใช้ทฤษฎีทำนายปรากฏการณ์แล้วคำนายนั้นไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เหตุการณ์เช่นนี้จำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้ทราบแน่ว่าทฤษฎีมีความบกพร่องอย่างไร การวิจัยเพื่อหาคำตอบให้กับข้อสงสัยประเภทนี้จะนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขทฤษฎีให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
    ง. ความสงสัยว่าทฤษฎีนั้นจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไปได้หรือไม่ ความสงสัยในทฤษฎีแบบนี้มักจะเกิดขึ้นในศาสตร์ทางสังคมศาสตร์ เพราะทฤษฎีทางสังคมศาสตร์มักจะสร้างขึ้นเพื่อใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมในสังคมใดสังคมหนึ่ง ความสงสัยจึงเกิดขึ้นว่าทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์ในสังคมหนึ่งได้ คือมีหลักฐานข้อเท็จจริงในสังคมนั้นยืนยันทฤษฎีอย่างเพียงพอ ทฤษฎีนั้นจะนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ในสังคมอื่นๆ ได้หรือไม่ จำเป็นต้องหาหลักฐานข้อเท็จจริงจากสังคมอื่นๆ มายืนยัน
  2. เกิดจากความขัดแย้งในข้อค้นพบ ในหัวข้อปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจมีผู้สงสัยในประเด็นต่างๆ ได้หลากหลายและได้มีผู้ทำวิจัยหาคำตอบเอาไว้ แต่แทนที่คำตอบเหล่านั้นจะสอดคล้องสนับสนุนกันกลับข้ดแย้งไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงทำให้เกิดความสงสัยว่าคำตอบที่แน่นอนควรจะเป็นอย่างไร
  3. เกิดจากความขัดแย้งกันในความคิดเห็นหาข้อยุติไม่ได้ ในแวดวงวิชาการหรือสังคมทั่วไปย่อมมีการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ความคิดเห็นเหล่านั้นเกิดไม่ลงรอยกันและต่างฝ่ายต่างก็มีเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตน แต่ส่วนใหญ่แล้วเหตุผลที่นำมาสนับสนุนก็มักเกิดจากการคิดหรือจินตนาการเอก นักวิจัยอาจจะเกิดความสงสัยว่าความเห็นของฝ่ายใดจะน่าเชื่อถือกว่ากันจำเป็นต้องหาหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์มายืนยันเพื่อที่จะหาข้อยุติ
  4. เกิดจากความขัดข้องในการปฏิบัติงาน เช่น การทำงานมีปัญหาอุปสรรค ทำงานไม่สำเร็จตามเป้าหมาย ทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ต้องการจะพัฒนาปรับปรุงการทำงาน การแก้ปัญหาการปฏิบัติงานเหล่านี้จำเป็นต้องมีสารสนเทศมาช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ จะต้องค้นหาความรู้ที่จะใช้เป็นข้อสารสนเทศประกอบการตัดสินใจ
  5. เกิดความสงสัยว่าข้อค้นพบที่ผ่านมานั้นยังจะคงจริงเช่นนั้นอีกหรือไม่เมื่อเวลาผ่านไป หรือสภาพแวดล้อมต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องหาคำตอบให้แน่ชัดด้วยการหาหลักฐานข้อมูลใหม่มาพิจารณาอีกครั้ง
  6. เกิดความสงสัยในวิธีการได้มาซึ่งข้อความจากการวิจัยที่ทำมาแล้ว อาจจะต้องตรวจสอบด้วยวิธีการใหม่ซึ่งได้แก้ไขข้อผิดพลาดของวิธีการเก่าแล้ว หรือมีเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แหล่งที่มาของหัวข้อปัญหา นักวิจัยอาจได้หัวข้อปัญหามาจากแหล่งต่างๆ เช่น
  7. ประสบการณ์ของผู้วิจัย ได้แก่การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องมีปรากฏกาการณ์บางอย่างชวนให้สงสัยต้องการคำตอบที่ชัดเจน หรือจากการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบเกิดปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมาย หรือขาดประสิทธิภาพ หรือต้องการพัฒนางานให้ดีขึ้น ต้องการสารสนเทศบางอย่างที่จะนำมาใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาหรือปรับปรุงงาน จำเป็นต้องค้นหาสารสนเทศเหล่านั้น ก็ทำให้เกิดเป็นปัญหาวิจัยได้
  8. ทฤษฎี จากการศึกษาทฤษฎีต่างๆ อย่างลึกซึ้งผู้วิจัยอาจจะเห็นความไม่สอดคล้องกันภายในทฤษฎี ระหว่างทฤษฎี หรือระหว่างทฤษฎีกับข้อเท็จจริง อยากจะตรวจสอบทฤษฎีนั้นให้ประจักษ์ชัด หรืออาจจะตรวจสอบว่าทฤษฎีนั้น ๆ จะทำนายปรากฏการณ์ได้สอดคล้องกับความเป็นจริงหรือไม่ ฉะนั้นการศึกษาทฤษฎีต่างๆ อย่างพินิจพิเคราะห์ก็อาจทำให้เกิดปัญหาวิจัยได้
  9. ผลงานวิจัยที่ได้มีผู้ทำไว้แล้ว การศึกษาผลงานวิจัยที่คนอื่นทำไว้แล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วน จะช่วยให้ผู้วิจัยได้มองเห็นว่าความรู้ที่เป็นผลการวิจัยเหล่านั้นมีความชัดเจนมากน้อยเพียงใด ยังมีประเด็นใดที่ยังคลุมเครือจะต้องศึกษาเพื่อทำความเข้าใจให้กระจ่าง หรือมีความขัดแย้งกันระหว่างงานวิจัยในเรื่องเดียวกันหรือไม่ การวิจัยที่ผ่านมายังมีจุดอ่อนข้อบกพร่องในเรื่องใดบ้างทำให้เกิดความสงสัยในข้อค้นพบเหล่านั้น หรือมีประเด็นใดบ้างที่ควรจะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่อไปเพื่อให้องค์ความรู้ในเรื่องนั้นมีความสมบูรณ์มากขึ้น ในรายงานการวิจัยเกือบทุกเรื่องผู้วิจัยมักจะมีข้อเสนอแนะไว้ว่าควรจะศึกษาวิจัยในเรื่องต่อไปในประเด็นใด ผู้ที่สนใจจะวิจัยในหัวข้อเรื่องคล้ายคลึงกันอาจจะได้แนวคิดไปกำหนดเป็นหัวข้อปัญหาวิจัยของตนเองได้
  10. ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา ปกติผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ มักจะศึกษาติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการในศาสตร์สาขานั้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ผุ้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะมองเห็นภาพองค์ความรู้ของศาสตร์นั้นได้ค่อนข้างจะชัดเจน รู้ว่าจุดใดประเด็นใดที่นักวิชาการในศาสตร์นั้นได้หาความรู้ไว้แล้วอย่างชัดเจน ประเด็นใดที่ยังเป็นปัญหาเป็นช่องโหว่ที่จะต้องแสวงหาความรู้มาเติมให้เต็ม ประเด็นคำถามอย่างไรน่าสนใจมีคุณค่าควรแก่การหาคำตอบในศาสตร์นั้น ผู้มีประสบการณ์เหล่านี้จะให้คำแนะนำได้เป็นอย่างดี
  11. แหล่งทุนวิจัย มักจะมีหน่วยงานบางหน่วยที่ต้องการผลการวิจัยในบางเรื่อง จึงเสนอเงินทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย แหล่งทุนประเภทนี้มักจะกำหนดแนวทาง หรือหัวข้อการวิจัยที่ต้องการ แล้วประกาศให้นักวิจัยที่สนใจที่จะศึกษาวิจัยในหัวข้อนั้นมารับทุนสนับสนุนการวิจัย ฉะนั้นการพิจารณาเลือกหัวข้อจากแหล่งทุนวิจัยประเภทนี้ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่นักวิจัยจะได้หัวข้อวิจัยพร้อมทั้งได้รับเงินสนับสนุนการวิจัยด้วย
  12. หน่วยงานของผู้วิจัย หน่วยงานบางหน่วยงานมีหน้าที่ที่จะต้องทำงานวิจัยมักจะมีแผนงานกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ จะทำวิจัยในหัวข้อใดบ้าง หรือหน่วยงานที่ไม่ได้มีหน้าที่ในการทำวิจัยโดยตรงก็อาจจะมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิจัยหาความรู้ในบางเรื่อง ผู้ที่ทำงานในหน่วยงานเหล่านี้ อาจได้รับมอบหมายให้ทำการวิจัยในหัวข้อที่ผู้บริหารหน่วยงานเหล่านั้นกำหนดให้ศึกษาก็ได้

เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาในการเลือกหัวข้อปัญหาวิจัย

การเลือกหัวข้อปัญหาวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นของการวิจัยที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ผู้วิจัยจะต้องรู้จักเลือกหัวข้อปัญหาที่เหมาะสม หัวข้อปัญหาวิจัยที่ดีควรจะเป็นปัญหาที่

  1. มีความสำคัญ มีคุณค่า หัวข้อปัญหาที่มีความสำคัญหรือมีคุณค่าต้องมีปัญหาที่จะให้ได้คำตอบหรือผลการวิจัยที่มีประโยชน์ทั้งในแง่ของการได้มาซึ่งความรู้ใหม่เป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้กับศาสตร์นั้นๆ ให้สมบูรณ์ขึ้นและในแง่ของการได้มาซึ่งสารสนเทศที่จะใช้ช่วยตัดสินใจในการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ
  2. เป็นปัญหาที่จะค้นหาคำตอบได้ด้วยวิธีการวิจัย คือสามารถจะหาหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์มาอ้างอิงในการตอบปัญหานั้นได้ ไม่ใช่ปัญหาเชิงค่านิยมหรือเชิงจริยธรรมเช่น ควรให้นักศึกษาสวมเครื่องแบบมาเรียนหรือไม่ ปัญหาลักษณะนี้อาจปรับให้เป็นปัญหาวิจัยได้ว่า นักศึกษาที่สวมเครื่องแบบมาเรียนจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักศึกษาที่ไม่สวมเครื่องแบบมาเรียนหรือไม่
  3. เป็นปัญหาที่น่าสนใจ นักวิชาการหรือผู้ปฏิบัติงานในสาขานั้นๆ มีความสนใจใคร่ทราบคำตอบด้วย หรือเป็นประเด็นที่กำลังถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงาน หรือ ผู้คนทั่วไปที่ต้องการคำตอบที่แน่ชัดมีหลักฐานมาสนับสนุนของสรุปอย่างชัดเจน
  4. เป็นปัญหาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับปัญหาที่ผู้อื่นได้เคยวิจัยหาคำตอบไว้แล้ว การพิจารณาว่าหัวข้อปัญหาวิจัยซ้ำซ้อนกันหรือไม่มักจะมีประเด็นที่ต้องพิจารณา 3 ประเด็นใหญ่ๆ คือ ก) คำถามวิจัยเป็นคำถามเดียวกันหรือไม่ ข)ประชากรที่ศึกษาเป็นกลุ่มเดียวกันหรือไม่ และ ค) วิธีการในการตอบคำถามใช้วิธีการเดียวกันหรือไม่ ถ้าคำตอบต่อคำถามเป็น “ใช่” ทั้ง 3 ประเด็นก็ถือได้ว่าเป็นการวิจัยซ้ำซ้อนเพราะคำตอบที่ได้จะไม่มีอะไรแตกต่างกัน เนื่องจากการวิจัยเป็นกิจกรรมที่มุ่งแสวงหาความรู้ใหม่ นักวิจัยจึงหลีกเลี่ยงที่จะทำวิจัยในหัวข้อปัญหาที่ได้มีผู้ศึกษาไว้แล้ว
  5. ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือภัยพิบัติต่อผู้วิจัยหรือผู้ให้ข้อมูล
  6. เป็นปัญหาที่สามารถจะดำเนินการวิจัยให้สำเร็จลุล่วงไปได้ คือมีลักษณะดังนี้
    ก. ขอบเขตของปัญหาจะต้องไม่กว้างจนเกินไป ปัญหาที่มีขอบเขตกว้างขวางอาจทำให้ต้องศึกษาตัวแปรหลายตัว ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นจำนวนมา

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย