การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย

การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัย
แนวคิด หลักการหรือทฤษฎี
การกำหนดวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายของการวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการวิจัย ถ้ากำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจนจะทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของปัญหาที่จะศึกษา ในบางครั้งถ้าพิจารณาชื่อเรื่องอย่างเดียวไม่สามารถตอบข้อคำถามได้ครบตามต้องการจึงจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ทำการวิจัยสามารถบอกรายละเอียดได้ว่า จะต้องศึกษา อะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล และการเสนอผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน การกำหนดวัตถุประสงค์ ควรกำหนดเป็นข้อ ๆ เพื่อความสะดวกและมีความชัดเจนในการวิเคราะห์และตอบคำถามของแต่ละข้อ สำหรับการตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยส่วนใหญ่ ควรขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ” และตามด้วยข้อความที่จะแสดงการกระทำในการวิจัย ซึ่งมักจะเป็นคำต่อไปนี้ เช่น ศึกษา สำรวจ เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาผลกระทบ เป็นต้น
การเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย ต้องเป็นสิ่งที่ปฏิบัติจริง วัดได้ประเมินได้ ซึ่งก็คือผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัยนั่นเอง ซึ่งอาจจะเป็นผลที่ เป็น Output (งานวิจัยบางเรื่องก็อาจเป็นผลที่เป็น Process หรือ Outcome ได้ ถ้างานวิจัยเรื่องนั้นต้องการที่จะศึกษา)

          ข้อสำคัญ  วัตถุประสงค์การวิจัย  ไม่ใช่ประโยชน์ของการวิจัย                  
               หลักการเขียนวัตถุประสงค์การวิจัย  มีดังนี้
                     1.  ต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาและชื่อเรื่อง              
                     2.  ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษาและตัวแปร              
                     3.  ต้องระบุสิ่งที่ต้องการศึกษา  ตัวแปร กลุ่มที่ศึกษา (ทำอะไร กับใคร  อย่างไร  )         
  1. สามารถกำหนดรูปแบบการวิจัยได้ ตั้งสมมุติฐานได้
    5. ภาษาที่ใช้กระทัดรัด ชัดเจน นิยมเขียนเป็นข้อๆ (ถ้ามีหลายประเด็น) และใช้คำนามนำหน้า
    ตัวอย่าง
    หัวข้อวิจัย : การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชันประถมศึกษาปีที่ 6
    2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนในการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะ
    3. เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการอ่านภาษาไทยของนักเรียน
    หัวข้อวิจัย : การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนชุดมินิคร์อสกับเรียนโดยการสอนตามคู่มือครูของ สสวท.
    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยการสอนมินิคร์อสกับ การสอนตามคู่มือครูของ สสวท.
    2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
    หัวข้อวิจัย : การแก้ไขพฤติกรรมการมาสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองขุม ด้วยการเสริมแรง
    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อศึกษาสาเหตุของการมาโรงเรียนสาย
    2. เพื่อศึกษาผลการเสริมแรงในพฤติกรรมการมาสาย

หัวข้อวิจัย : การใช้เวลาในการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอองครักษ์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาการใช้เวลาในการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอองครักษ์

  1. เพื่อศึกษาปัญหาในการบริหารของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอองครักษ์
    ( โดยทั่วไป จะเขียน ดังนี้วัตถุการวิจัย ดังเช่น เพื่อศึกษา…………. , เพื่อทดลอง……….., เพื่อสำรวจ……….., เพื่อปรียบเทียบ …………., เพื่อศึกษาความสัมพันธ์รหว่าง………….., เพื่อศึกษาปัญหา……………… ฯลฯ)

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย