การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์

การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์

การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการหลังจากที่นิสิต นักศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูล แปลความ ตีความ เขียนรายงานการวิจัย เสนออาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษา ปรับปรุงแก้ไขตามข้อชี้แนะของอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์จนเป็นที่พอใจจึงดำเนินการขอสอบปากเปล่าต่อไป

    เพื่อให้การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์สัมฤทธิ์ผลอย่างดี ควรทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัยและปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในการสอบปากเปล่าวิมยานิพนธ์ดังนี้

5.1 การทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัย

    ก่อนขึ้นสอบปากเปล่าวิมยานิพนธ์ นิสิต นักศึกษาควรทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัย ลงในแผ่นกระดาษขนาด A4 ไม่เกิน 1 หน้า โดยมีสาระผลการวิจัยทั้งหมด ส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ช่วยให้เข้าใจเรื่องวิจัยอย่างชัดเจน สามารถนำไปดูแล้วอธิบายการวิจัยและสรุปผลการวิจัยได้อย่างกระชับและครบถ้วนโดยไม่ต้องเปิดอ่านในเล่มวิทยานิพนธ์ หลักการในการทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัยมีดังนี้

1.สรุปลงในในแผนกระดาษเพียงแผนเดียวให้คลอบคลุมสาระสำคัญของการวิจัยทั้งหมด

2.อาจใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) หรือผังมโนทัศน์ (Concept Map) ในการสรุปสาระสำคัญของการวิจัย

3.อาจใช้คำย่อ สัญลักษณ์ และตารางช่วยให้สรุปอย่างเป็นระบบตามความจำเป็นได้

5.2ข้อเสนอแนะการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์

    มีข้อเสนอแนะและข้อสังเกตเกี่ยวกับการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ดังนี้

5.2.1 ในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ถ้านิสิต นักศึกษาได้เสนอเค้าโครงที่เหมาะสมละเอียด ชัดเจน รอบคอบ รัดกุมในทุกส่วนแล้วก็จะเป็นประโยนช์มาก เพราะเค้าโครงดังกล่าว เป็นเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตาม ทำให้ผู้วิจัยมีความชัดเจน เป็นการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะตาม ถ้าเค้าโครงไม่ชัดเจนแล้ว เมื่อดำเนินการศึกษาค้นคว้าก็จะพบปัญหายากต่อการตัดสินใจ อาจเกิดข้อขัดแย้ง อาจต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะก่อให้เกิดความยุ่งยากตามมามากมาย ส่งผลให้มีปัญหาในการสอบปากเปล่าด้วย

5.2.2 นิสิต นักศึกษาจะต้องเตรียมความพร้อมในการสอบปากเปล่าอย่างดีเยี่ยม โดยเตรียมการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าให้กระชับ รัดกุม เข้าใจง่าย น่าสนใจ ด้วยความคล่องแคลวถูกต้องแม่นยำ รวมทั้งเตรียมตอบคำถามต่างๆ ที่แสดงถึงการมีความรอบรู้ในเรื่องที่ทำวิทยานิพนธ์ ทั้งนี้ต้องมีตัวรายงานวิทยานิพนธ์ที่มีความสมบูรณ์

    จากประสบการของผู้เขียนที่ผ่านพบว่า นิสิต นักศึกษาเตรียมตัวมายังไม่ดีพอ ตัวรายงานมีความบกพร่องหลายแห่ง การนำเสนอไม่น่าสนใจ บางคนเสนอโดยการอ่านจากเอกสารที่เตรียมมา การตอบคำถามบางครั้งไม่ตรงประเด็นหรือตอบไม่ได้ โดยเฉพาะในคำตอบที่เป็นการประเมินความรู้ ความเข้าใจในวิชาการ หลักการ ทั้งนี้เนื่องจาก ขาดความรอบรู้อย่างแท้จริง เตรียมตัวมาน้อย นิสิต นักศึกษาควรวางแผนและดำเนินการให้สามารถเขียนรายงานให้เสร็จสมบูรณ์โดยที่เหลือเวลาพอควรสำหรับเตรียมตัวสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ เช่นมีเวลาเตรียมตัวก่อบสอบ 10 วัน เป็นต้น และควรซักซ้อมด้วยตัวเองให้แคล่งโดยเฉพาะถ้าได้ซักซ้อมกับอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ส่วนสำคัญจะช่วยได้มาก

5.2.3 ด้านกรรมการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ กรรมการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์โดยทั่วไปประกอบด้วยอาจารย์ผู้ควบคุมหรืออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และกรรมการจากภายนอก กรรมการจากภายนอกมีจำนวนเท่ากันกับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือมากกว่า มหาวิทยาลัยบางแห่งตั้งกรรมการสอบปากเปล่าจากภายนอกทั้งหมด ไม่มีอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษาร่วมเป็นกรรมการสอบ ข้อดีของการแต่งตั้งอาจารย์ภายนอกที่มาจากกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ก็คือ ได้ทราบถึงเงื่อนไข ข้อตกตกลงต่างๆที่ได้พิจารณาเมื่อครั้งสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

5.2.4โดยทั่วไปจะแบ่งการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 จะให้นิสิต นักศึกษารายงานถึงการศึกษาค้นคว้าที่ได้ดำเนินการ อาจให้กล่าวเฉพาะประเด็นที่สำคัญ เช่นเหตุผลที่เลือกค้นคว้าในเรื่องนั้น วิการดำเนินการวิจัยศึกษาค้บคว้า ผลของการศึกษาค้นคว้า การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ในขั้นตอนนี้อาจนำเสนอโดยใช้สื่อต่างๆ เช่น แผ่นใส เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 กรรมการสอบจะถามข้อสงสัย สอบถามเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้ทำวิทยานิพนธ์ แม้กระทั้งทักท้วงโต้แย้งในประเด็นต่างๆ ที่อาจเป็นข้อผิดพลาดของรายงานการวิจัยเพื่อให้มีการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

ขั้นตอนที่ 3 กรรมสอบพิจารณษประเมินผลการสอบปากเปล่า

5.2.5 การพิจารณาคุณภาพของรายงานวิทยานิพนธืพิจารณาในหลายๆประเนดังนี้

– ด้านคัณภาพทั่วไป – ด้านความคงเส้นคงวาในการเขียน -ด้านความสำพันธ์ระหว่างชื่อเรื่อง ความมุ่งหมาย ผลการศึกษา -ด้านการอ้างอิง -ด้านบทคัดย่อ -การอภิปราย – ด้านข้อเสนอแนะ

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย