การตั้งชื่อหัวข้อศึกษาค้นคว้า

การตั้งชื่อหัวข้อศึกษาค้นคว้า
การคิดหัวข้อ และการกำหนดชื่อเรื่อง
ผู้เขียน: วิจิตร ณัฏฐการณิก ค.บ., ศษ.ม. ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนหอวัง

การคิดหัวข้อ
การคิดหัวข้อ หรือการกำหนด “ชื่อเรื่อง” ของปัญหาที่จะทำการศึกษาค้นคว้าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดของการค้นคว้าอิสระ การคิดหัวข้อ หรือ “ชื่อเรื่อง” มีหลักเกณฑ์ดังนี้

  1. คิดหัวข้อ และเลือก “ชื่อเรื่อง” ด้วยตนเอง
  2. คิดหัวข้อ หรือ “ชื่อเรื่อง” จากประเด็นปัญหา ข้อสงสัย คำถาม หรือเรื่องที่อยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ของตนเอง
  3. คิดหัวข้อ หรือ “ชื่อเรื่อง”ให้มีความเฉพาะเจาะจงและชัดเจน โดยต้องระบุชัดว่าจะค้นคว้าอะไร
  4. หากเป็นเรื่องแปลกใหม่ หรือมีแนวการศึกษาทดลองที่แปลกใหม่ ต้องเป็นสิ่งซึ่งแสดงออกถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย
  5. คำนึงถึงเป็นประโยชน์ของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า และเป็นการเพิ่มคุณค่าของผลงงานการค้นคว้าอิสระมากยิ่งขึ้น

แหล่งที่มาของชื่อเรื่อง
“ชื่อเรื่อง” ในการค้นคว้าอิสระอาจมีที่มาจากแหล่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

  1. จากการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น ตำรา หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสารเผยแพร่ เป็นต้นไม่เฉพาะแต่เรื่องราวทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
  2. จากการไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เช่น วนอุทยาน สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่เพาะเลี้ยงพืชและสัตว์ หน่วยงานวิจัย ห้องปฏิบัติ เป็นต้น
  3. จากการฟังบรรยายทางวิชาการ การฟังและชมรายการวิทยุโทรทัศน์
  4. จากกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียน
  5. จากงานอดิเรกของนักเรียนเอง
  6. จากการเข้าชมนิทรรศการ หรืองานประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  7. จากการศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผู้อื่นทำไว้แล้ว
  8. จากการสนทนากับครู อาจารย์ เพื่อนๆ หรือบุคคลอื่นๆ
  9. จากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัว

องค์ประกอบของชื่อเรื่อง
“ชื่อเรื่อง” ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญครบทั้ง 3 ส่วน คือ วิทยวิธี, เป้าหมาย และตัวแปร/เครื่องมือ

  1. วิทยวิธี หมายถึง วิธีการที่ใช้ดำเนินการในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ ซึ่งต้องเขียนขึ้นต้นชื่อเรื่องเสมอ คำที่แสดงวิทยวิธีมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 6 คำ คือ
    การสำรวจ
    การศึกษา
    การพัฒนา การประเมิน
    การเปรียบเทียบ
    ความสัมพันธ์ระหว่าง
  2. เป้าหมาย หมายถึง จุดประสงค์สุดท้ายอันเป็นปลายทางของการค้นคว้าอิสระเกี่ยวกับประเด็นปัญหาหัวข้อ หรือชื่อเรื่องนั้นๆ
  3. ตัวแปร หรือเครื่องมือ
    3.1 ตัวแปร หมายถึง สิ่งที่มีอิทธิพล ผล หรือสิ่งที่อาจก่อให้เกิการเปลี่ยนแปลงของการทดลอง
    3.2 เครื่องมือ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินการศึกษาค้นคว้า
    ตัวอย่างชื่อเรื่องที่มีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ส่วน เช่น
    “การสำรวจปริมาณแมลงศัตรูพืชในนาข้าวจังหวัดสุพรรณบุรีที่ใช้ยันต์กันเพลี้ย”
    “การศึกษาวิธีการสกัดเย็นน้ำมันมะพร้าว”
    “การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBblog) ด้วย (WordPress) เรื่อง ประเภทของคอมพิวเตอร์”
    “การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการใช้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน”
    “การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการไล่ยุงระหว่างสารสกัดเปลือกส้มกับสารสกัดตะไคร้หอม”
    “ความสัมพันธ์ระหว่างหญ้าแฝกกับการเพิ่มผลผลิตในพื้นที่สูง”

ข้อควรคำนึงในการกำหนดชื่อเรื่อง
ข้อควรคำนึงที่พึงพิจารณาประกอบการคิดหัวข้อ หรือกำหนด “ชื่อเรื่อง” ที่จะศึกษาค้นคว้ามีดังนี้

  1. เป็นเรื่องที่มีความรู้ ทักษะการใช้อุปกรณ์พื้นฐาน และมีทักษะในเทคนิควิธีอย่างเพียงพอ
  2. มีแหล่งความรู้อย่างเพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา
  3. วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นสามารถจัดหา หรือจัดทำขึ้นเองได้
  4. มีระยะเวลาเพียงพอที่จะทำการค้นคว้าในเรื่องนั้นๆ
  5. มีครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิรับเป็นที่ปรึกษา
  6. มีความปลอดภัย
  7. มีงบประมาณเพียงพอ

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย