การจ้างทำผลงานทางวิชาการการรับจ้างทำผลงานทางวิชาการและการคัดลอกผลงานทางวิชาการเป็น

researcherthailand

เรื่อง การจ้างทำผลงานทางวิชาการการรับจ้างทำผลงานทางวิชาการและการคัดลอกผลงานทางวิชาการเป็น ความผิดวินัยร้ายแรง สวัสดีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้สำนักงาน ก.ค.ศ. มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำหรับผู้ที่ประสงค์จะขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ด่วนที่สุด ที่ศธ 0206.4/ว 17 ลงวันที่ 30 กันยายน 2552 (ว 17/2552) โดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว กำหนดให้มีการประเมิน 3 ด้าน คือด้านที่ 1 ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านที่ 2 ด้านความรู้ความสามารถ และด้านที่ 3 ด้านผลการปฏิบัติงาน สำหรับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไป การประเมินด้านที่ 1 และ 2 คณะกรรมการจะประเมิน ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริง ด้านที่ 3 มี 2 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ผลการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียน/ผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา/ผลการพัฒนาคุณภาพในการบริหาร และการจัดการศึกษา/ผลการพัฒนาคุณภาพการนิเทศการศึกษา และส่วนที่ 2 ผลงานทางวิชาการ ก.ค.ศ. กำหนดให้มีการจัดทำผลงานทางวิชาการสำหรับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ จำนวน 1 รายการ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ จำนวน 2 รายการโดยต้องเป็นงานวิจัย อย่างน้อย 1 รายการสำหรับวิทยฐานะ เชี่ยวชาญ และวิจัยและพัฒนา อย่างน้อย 1 รายการสำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ก.ค.ศ. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะ โดยมี เจตนารมณ์ต้องการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้สั่งสมประสบการณ์การปฏิบัติงานในหน้าที่ความรู้รับผิดชอบ จนเกิดความชำนาญ ความเชี่ยวชาญใตำแหน่งนึ่งและมีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่จนเป็นที่ประจักษ์และเกิดประโยชน์กับผู้เรียน ครูสถานศึกษาหรือผู้เกี่ยวข้อง สามารถนำผลงานดังกล่าวไป ขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตามมีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่วนหนึ่งที่เสนอผลงานทางวิชาการที่มีความคล้ายคลึงกัน เช่น ชื่อเรื่อง การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในบทที่ 2 ส่วนใหญ่นำเนื้อหาของนักวิชาการมานำเสนอโดยขาดการอ้างอิง เนื้อหาของผลงานทางวิชาการส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน เป็นต้น ซึ่ง ก.ค.ศ. มีมติให้ส่วนราชการต้นสังกัดตรวจสอบและรายงานให้ก.ค.ศ. ทราบ ในกรณีดังกล่าวกฎหมายได้กำหนดหลักปฏิบัติไว้ใน มาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 บัญญัติไว้ว่า “ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาต้องไม่คัดลอก หรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบุหรี่อนำเอาผลงาน ทางวิชาการของผู้อื่น หรือจ้าง วาน ใชผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุง การกำหนดตำแหน่ง การเลื่อตำแหน่งนึ่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ร่วมดำเนนการคัดลอก หรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่น โดยมิชอบุหรี่อรับจัดทำผลงานทางวิชาการไม่ว่าจะมีค่าตอบแทน หรือไม่ เพื่อให้ผู้อื่นนำผลงานนั้น ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนนการตามวรรคหนึ่ง เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง” ในเรื่องการคัดลอก ลอกเรียนผลงานทางวิชาการนี้ ก.ค.ศ. เคยมีแนววินิจฉัยสรุปได้ว่า การจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ถ้าจะมีการนำผลงานทางวิชาการของผู้อื่นมาอ้างอิงก็ต้อง ระบุไว้ได้ถูกต้องในเชิงอรรถ และบรรณานุกรมว่าได้มาจากแหลงค้นคว้าที่ไหน ใครเป็นผู้แต่งหรือวิจัยซึ่งกระทำได้โดยชอบ แต่พฤติการณ์ที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้คัดลอกผลงานวิจัยของผู้อื่น ประมาณ 80% โดยไม่มีการอ้างอิงไว้โดยชอบตามหลักการวิจัย นั้นเป็นกรณีที่เข้าองค์ประกอบตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 แล้ว ดังนั้น ในกรณีที่ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วปรากฏว่าข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการลอกเลียนผลงานทางวิชาการและเข้าข่ายตามมาตรา 91 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้นั้น นอกจาก ก.ค.ศ. จะไม่อนุมัติให้เลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นแล้ว อาจเข้าข่ายกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วย จึงขอให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้ตระหนี่กและให้ความสำคัญกับการอ้างอิง แหลงที่มาของข้อมูล ให้เป็นไปตามหลักการวิจัยในการจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อเสนอขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะด้วย ดร.อุษณีย์ ธโนศวรรย์ เลขาธิการ ก.ค.ศ.
https://www.kroobannok.com/87212

You might also enjoy

ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?
ทำไมเราถึงต้องทำเล่มวิจัยจบ🤔?

1️⃣ทำให้เกิดความรู้ใหม่ ทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติ 2️⃣ทำให้เข้าใจในปรากฏการณ์และพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 3️⃣ช่วยวางแผนการดำเนินงานและนโยบายได้อย่างเหมาะสม 4️⃣ทำให้ทราบข้อเท็จจริง และนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น 5️⃣ช่วยกระตุ้นการตั้งข้อสังเกต ความมีเหตุผล

โครงร่างวิจัยคืออะไร?
โครงร่างวิจัยคืออะไร ?

โครงร่างวิจัย คือ สิ่งที่ผู้ที่ได้อ่านโครงร่างจะสามารถทราบขั้นตอนและรายละเอียดของเล่มวิจัย รวมถึงใช้โครงร่างวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณาอนุมัติการทำวิจัย โดยจะต้องเป็นสิ่งที่ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่าวิจัยเล่มดังกล่าวเป็นวิจัยที่มีระเบียบวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ เป็นประโยชน์ และสมควรได้รับการอนุมัติ โดยจะประกอบไปด้วย 1.)

วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)✏️

เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อมจากภาพรวมของหลายมิติ ผู้ทำวิจัยต้องลงไปศึกษาและสังเกต กลุ่มหรือบุคคลที่ต้องการศึกษาโดยละเอียดในทุกด้านแบบเจาะลึก ใช้วิธีสังเกตแบบการมีส่วนร่วมและสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเชิงเหตุผลไม่ใช่ทางตัวเลข ———————————— 📖รีเสิร์ซเชอร์ เพื่อนคู่คิดงานวิจัย💡

Tag : การทำ is จ้างทำ is จ้างทำวิจัย จ้างทำวิทยานิพนธ์ จ้างทํางานวิจัย จ้างทําวิจัย ป.ตรี ราคา จ้างทําวิจัยราคา จ้างทําวิจัยราคาประหยัด จ้างทําวิจัย ราคาเท่าไหร่ จ้างทําวิทยานิพนธ์ จ้างทําวิทยานิพนธ์ราคา จ้างวิจัย ทําวิทยานิพนธ์ ทำงานวิจัย ทำงานวิทยานิพนธ์ บริการรับทำวิจัย รับจัดหน้าวิทยานิพนธ์ รับจ้างทำ is รับจ้างทํางานวิจัย ราคาถูก รับจ้างทํารายงาน รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ รับจ้างทําวิทยานิพนธ์ ราคาถูก รับจ้างเขียนรายงาน รับทำ is รับทำ powerpoint รับทำ spss รับทำ thesis รับทำดุษฎีนิพนธ์ รับทำวิจัย รับทำวิจัยราคาถูก รับทำวิทยานิพนธ์ รับทำสารนิพนธ์ รับทำแบบสอบถาม รับทำโปรเจคจบ รับทํา thesis รับทํางานวิจัย รับทําปริญญานิพนธ์ รับทํารายงาน รับทําวิจัย ป.ตรี รับทําวิทยานิพนธ์ รับทําวิทยานิพนธ์ ป.โท รับทําวิทยานิพนธ์ ราคา รับทําวิทยานิพนธ์ราคาเท่าไหร่ รับทํา สารนิพนธ์ รับแปลงานวิจัย ราคารับทำวิทยานิพนธ์ วิจัย